วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

มูลนิธิ LPN ร่วมกับซีพีเอฟ ปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้แรงงานเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

 

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network : มูลนิธิ LPN) ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับการอบรมสู่รูปแบบออนไลน์ รับวิถีใหม่ (new normal)   


นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิ LPN กล่าวว่า ปีนี้ นับเป็นปีที่ 3 ที่มูลนิธิฯ ร่วมมือกับ ซีพีเอฟ ดำเนินการศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” ซึ่งเป็นช่องทางรับฟังเสียงพนักงานโดยองค์กรอิสระ ควบคู่กับการจัดอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่คนงานทั้งไทยและต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายแรงงาน ความปลอดภัยและชีวอนามัยในการทำงาน และแนวทางการปฏิบัติที่ดีของบริษัทฯ  และเพื่อตอบรับมาตรการความปลอดภัยและการป้องกันโรคระบาดในกระบวนการผลิตอาหารที่เคร่งครัด มูลนิธิฯ จึงปรับรูปแบบการจัดอบรมคนงานตามสถานประกอบการต่างๆ สู่การอบรบรมออนไลน์ ควบคู่กับการเยี่ยมแรงงานต่างชาติถึงหอพักเพื่อพบปะพูดคุยแบบ Focus Group ซึ่งเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อยนอกสถานประกอบการและนอกเวลาทำงาน เพื่อให้แรงงานรู้สึกผ่อนคลายที่จะพูดแสดงความเห็น สอบถามข้อสงสัยในการปรับตัวในการดำเนินชีวิต รวมถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม


นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้เพิ่มการจัดอบรมแรงงานต่างชาติก่อนเดินทางมาทำงานในประเทศไทยถึงที่ประเทศต้นทาง ได้แก่ กัมพูชา และเมียนมา ประเทศละ 1 ครั้ง


“การจัดอบรมแรงงานก่อนเดินทางมาทำงานกับซีพีเอฟ จะช่วยให้แรงงานข้ามชาติทุกคนได้รับทราบถึงข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ทั้งเรื่องการทำงาน ลักษณะความเป็นอยู่ในประเทศไทย สิทธิ สวัสดิการต่างๆ รวมทั้ง แนะนำให้แรงงานข้ามชาติทุกคนได้รู้จักและสามารถเข้าถึงช่องทางรับฟังเสียงพนักงาน Labour Voice by LPN” นายสมพงค์กล่าว


ช่องทางรับฟังเสียงพนักงาน Labour Voices Hotline by LPN และ การอบรมให้ความรู้สิทธิมนุยชน เป็นการสร้างต้นแบบความร่วมมือภาคเอกชน-ภาคประชาสังคม ช่วยดูแลบุคลากรในองค์กรเหมือนคนในครอบครัว และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ และความทุ่มเทในการทำงาน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกมั่นใจที่ได้บริโภคสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่มีการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานตลอดห่วงโซ่ตามมาตรฐานสากล 


ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การจัดอบรมโดยมูลนิธิฯ ให้กับแรงงาน มีส่วนช่วยให้แรงงานข้ามชาติของซีพีเอฟทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยด้วยความมั่นใจ และเมื่อติดปัญหาอะไร แรงงานสะดวกใจที่จะโทรศัพท์มาขอคำปรึกษาผ่าน ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN ซึ่งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ที่เป็นคนไทย เมียนมา และกัมพูชา คอยให้คำแนะนำได้ตลอดเวลา 


นายสมพงค์ยังกล่าวอีกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มูลนิธิฯ เห็นความตั้งใจของซีพีเอฟในการดูแลและปกป้องสุขภาพของพนักงานทุกคนอย่างจริงจัง ส่งผลให้ไม่พบการรายงานการติดเชื้อโควิดในพนักงานของซีพีเอฟ นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไข่ไก่สด น้ำดื่ม เพื่อนำไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องแรงงานต่างชาติในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง หรือไม่ได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...