วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรไก่ไข่ ยันไข่เพียงพอกับการบริโภค ชี้ร้อนแล้งกระทบผลผลิต เกษตรกรมีต้นทุนค่าน้ำ-ไฟร่วม 10 สตางค์ต่อฟอง



          นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เปิดเผยถึงสถานการณ์ไก่ไข่ในขณะนี้ว่า ปัญหาไข่ไก่ขาดแคลนก่อนหน้านี้ริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์เร่งตรวจสอบจับกุมและดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายไข่ไก่ทั่วประเทศ ที่ไม่ปิดป้ายแสดงราคา ขายไข่ไก่ในราคาแพง และมีพฤติกรรมกักตุนสินค้า ทำให้ผู้ค้าไม่กล้าฉกฉวยโอกาสและผู้บริโภคมีความเข้าใจในสถานการณ์และเริ่มซื้อไข่ไก่ในปริมาณที่เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้สมาคมฯและเกษตรกรผู้เลี้ยงทุกคนยังคงร่วมมือกันบริหารจัดการการเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอกับการบริโภคของคนไทยและยืนยันว่าไข่ไก่จะไม่ขาดแคลน ตลอดจนกำชับให้สมาชิกสมาคมฯดูแลราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มให้เป็นไปตามที่ตกลงกับกระทรวงพาณิชย์คือไม่ให้เกิน 3 บาทต่อฟอง และเกษตรกรได้ยืดอายุแม่ไก่ไข่ยืนกรงออกไปตามที่แต่ละฟาร์มเห็นว่าเหมาะสม จากเดิมที่กำหนดให้ปลดแม่ไก่ยืกรงที่อายุ 80 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มปริมาณไข่ไก่เข้าสู่ลาดตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการ

          “ปัจจุบันทุกภาคทั่วประเทศนอกจากจะเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้แม่ไก่ให้ไข่ลดลงประมาณ 10-15% และอากาศเช่นนี้ส่วนใหญ่ไข่จะมีแต่ขนาดกลางถึงเล็กประมาณเบอร์ 3-4-5 เท่านั้น จากปกติมีไข่ไก่  6 ขนาด คือเบอร์ 0 ใหญ่สุด - เบอร์ 5 เล็กสุด ส่งผลให้เกษตรกรขายไข่ได้ราคาลดลงตามไปด้วย เมื่อผนวกกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าน้ำที่ต้องซื้อ ซึ่งน้ำมีหลายราคาตามคุณภาพของน้ำ และยังมีค่าไฟที่เพิ่มขึ้นจากการต้องเปิดระบบน้ำพ่นฝอยเพื่อลดความร้อนภายในโรงเรือน รวมถึงระบบน้ำและพัดลดระบายอากาศของโรงเรือนอีแวป ช่วงนี้เกษตรกรทุกคนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จากค่าน้ำค่าไฟที่เพิ่มขึ้นประมาณ 5-10 สตางค์ต่อฟอง จึงขอให้ผู้บริโภคเข้าใจเกษตรกรด้วย” นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง กล่าว


          ทั้งนี้อากาศร้อนจัดโดยเฉพาะในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้แม่ไก่ไข่มีความเครียด กินอาหารได้น้อย และให้ผลผลิตไข่น้อยลงจากปกติ ที่สำคัญภาวะแล้งทำให้เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องซื้อน้ำมาใช้ในฟาร์ม ทั้งเพื่อให้แม่ไก่กิน รวมถึงน้ำที่ใช้สำหรับฉีดพ่นละอองฝอยตามโรงเรือนเลี้ยงไก่และบนหลังคาโรงเรือน เพื่อลดความร้อนให้ไก่ไข่ได้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนใหญ่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด จึงจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ในการปรับสภาพอากาศในการเลี้ยงไม่ให้ร้อนจัดจนส่งผลกระทบกับตัวสัตว์ ขณะที่การเลี้ยงในโรงเรือนปิดแบบอีแวปก็ต้องเปิดระบบทำความเย็นที่ต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ใกล้ไกล...ก็ไปถึง CPF ส่งอาหารปลอดภัย ให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ใน รพ.รัฐ กว่า 70 แห่งทั่วไทย



บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศไทย เดินหน้าส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยให้โรงพยาบาลของรัฐที่มีผู้ป่วยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ตามโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัย COVID-19" โดยส่งมอบแล้วกว่า 70 แห่งทั่วทุกภาคของไทย อาทิ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ภูเก็ต นครราชสีมา ขอนแก่น นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ เป็นต้น เพื่อร่วมสนับสนุนให้แพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในต่างจังหวัด ได้มีกำลังกายและกำลังใจในการดูแลผู้ป่วยและสามารถเอาชนะไวรัสร้ายนี้ได้ เพื่อขอบคุณความทุ่มเท-เสียสละ แบ่งเบาภาระในการจัดเตรียมอาหารของทุกคน

จากสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายจนพบผู้ป่วยเกือบทั่วประเทศนั้น แสดงให้เห็นความเหนื่อยยากของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมแพทย์ที่เป็นทัพหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วย    ซีพีเอฟ จึงได้ริเริ่มจัดโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัย COVID-19" ส่งมอบอาหารเพื่อบุคลากรทางการแพทย์มาระยะหนึ่ง และได้ขยายผลส่งมอบอาหารปลอดภัยไปยังโรงพยาบาลรัฐในต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยให้ซีพี เฟรชมาร์ท ซึ่งมีสาขากระจายในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภาคของไทยและเครือข่าย จัดส่งผลิตภัณฑ์อาหารให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละจังหวัดเป็นประจำทุกวัน ตลอด 1 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลต่างๆ ให้สามารถใช้เวลาทุ่มเทดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรคได้มากขึ้น

นอกเหนือไปจากการสนับสนุนด้านอาหาร บริษัทฯ ยังลดภาระแพทย์-พยาบาล ด้วยการสนับสนุนให้คนไทยกักตัวหลังกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงไปแล้วกว่า 1 หมื่นคน เป็นการช่วยลดโอกาสแพร่เชื้อ เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป ช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์ได้อีกทางหนึ่ง 

การที่ภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชนมากมาย หลั่งไหลให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานอย่างเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เป็นการสะท้อนถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ซึ่งซีพีเอฟขอยืนยันว่าจะจับมือเดินเคียงข้างกับคนไทยทุกคนเพื่อก้าวฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

สหกรณ์สบปราบหนุนปลูกผักปลอดสาร เสริมรายได้เกษตรกรหลังฤดูทำนา



          สมาชิกสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด “ปลื้ม” ที่ทางสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด สนับสนุนการปลูกผักปลอดสาร เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมหลังจากฤดูทำนา ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และเสริมความมั่นใจให้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารด้วยการเปิดเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก พร้อมให้ราคาที่เป็นธรรม เป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงแก่ธุรกิจในชุมชน
นอกเหนือจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นผลผลิตหลัก ที่สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด จังหวัดลำปาง รับซื้อจากเกษตรกรสมาชิกเพื่อนำมาจำหน่าย  สหกรณ์ยังสนับสนุน ส่งเสริมอาชีพ และขยายช่องทางการตลาดสำหรับพืชผักปลอดสารที่เกษตรกรปลูกหลังฤดูทำนาเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยรับซื้อจากเกษตรกรแล้วนำมาขายที่สหกรณ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้สมาชิก 

          นางสาวสมคิด  อุ่นแก้ว ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โดยส่วนใหญ่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์มีอาชีพหลักคือการทำนา  แต่หลังจากฤดูทำนาเกษตรกรจะปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยนำผลผลิตไปขายที่ตลาด หรือมีคนมารับซื้อ  แต่ช่วงใดที่ผลผลิตออกมามากจะส่งผลให้พืชผักราคาตกต่ำ  ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร  จนเมื่อประมาณ 4-5 ปี ที่ผ่านมา  สหกรณ์จึงได้เริ่มนำพืชผักบางส่วนของสมาชิกมาจำหน่าย เพื่อเป็นตลาดทางเลือกและเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร ระยะแรกมีผู้ร่วมโครงการ 5-6 ราย  ต่อมามีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมมากขึ้น จึงขยายเป็นกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านสบปราบ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 33 ราย พืชผักสวนครัวที่สมาชิกปลูก ได้แก่ กะเพรา โหระพา  กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี ฟักทอง บวบ มะเขือเทศ ผักสลัด กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะละกอ มะนาว ฯลฯ โดยสหกรณ์จะเวียนไปรับผลผลิตจากสมาชิกสลับกันไป เฉลี่ยแล้วประมาณ 3-5 วัน จึงเวียนกลับมารับผลผลิตใหม่  แต่ละครั้งเกษตรกรก็จะมีรายได้จากการขายให้สหกรณ์ประมาณ 200 -1,000 บาท/วัน แตกต่างกันไปตามราคาของผลผลิตแต่ละชนิด ดังนั้น ในช่วง 3 เดือน ที่เกษตรกรปลูกผักเสริมรายได้  สหกรณ์ก็จะเป็นตลาดทางเลือกอีกแห่งหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันพืชผักที่เกษตรกรปลูกได้ใบรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร ในอนาคตมีโครงการที่จะนำเมล็ดพันธุ์พืชผักที่เกษตรกรปลูกมาเพาะเพื่อจำหน่าย และหากเป็นไปได้จะขยายการผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารไปสู่ระดับจังหวัด

          ปัจจุบัน พืชผักปลอดสารที่รับจากเกษตรกรนอกจากการจำหน่ายที่ Farmer Market ของสหกรณ์ และนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหารของสหกรณ์แล้ว  ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด อาหารแปรรูป สินค้าจากเครือข่ายสหกรณ์  และผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของสมาชิก ส่วนข้าวซึ่งเป็นผลผลิตหลักของสมาชิกได้ขยายช่องทางการตลาดโดยจำหน่ายผ่านร้านค้าออนไลน์คือ “ลาซาด้า” ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “หอมนวล” และเพื่อกระจายสินค้าของสหกรณ์ให้ออกไปในวงกว้างยิ่งขึ้น  สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บริษัท นิ่มเอ็กซ์เพรส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับส่งสินค้าและพัสดุ ให้มาตั้งสำนักงานที่สหกรณ์  เพื่อช่วยกระจายสินค้าของสหกรณ์ และช่วยบริการให้แก่สมาชิก

          ทางด้านนายทองเทียร พุฒิคำ ประธานกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านสบปราบเหนือ สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด กล่าวถึงโครงการนี้ว่า เป็นเรื่องดีที่สหกรณ์เข้ามารับซื้อพืชผักส่วนหนึ่งจากสมาชิก เพราะเป็นช่องทางหนึ่งในการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรหลังฤดูทำนา ซึ่งเป็นรายได้รายปี แต่การปลูกพืชผักสวนครัว จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายเป็นรายวัน รายสัปดาห์ได้ ผลผลิตส่วนหนึ่งนำไปขายที่ตลาด อีกส่วนหนึ่งสหกรณ์มารับซื้อโดยหมุนเวียนสลับไปตามสมาชิกในกลุ่ม การรับซื้อแต่ละครั้งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่ำ 200 – 300 บาท แต่บางรายก็ได้มากกว่านั้น ดังนั้นในช่วง 3 เดือน หลังฤดูทำนา เกษตรจึงมีรายได้เสริมจากการขายให้สหกรณ์มากพอสมควร  ทางด้านนาย สิงห์ทอง  แก้วปัน สมาชิกกลุ่ม ฯ กล่าวว่า ตนมีเนื้อที่ปลูกพืชผักประมาณ 2 ไร่ และทำมานานแล้ว  แต่เข้าร่วมกลุ่มปลูกผักกับสหกรณ์มาประมาณ 5 – 6 ปี ผลผลิตที่ปลูก ได้แก่ กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก คะน้า กะเพรา โหระพา ฟักทอง บร็อคโครี มะนาว  สหกรณ์จะเข้ามารับซื้อในราคาตลาด  แต่ละวันก็จะมีรายได้ประมาณ 300 – 400 บาท   แต่บางครั้งก็จะได้ 1,000 – 1,500 บาท ขึ้นอยู่กับว่าสหกรณ์จะมารับซื้อพืชผักชนิดใด ในช่วง 3 เดือน ของการปลูกพืชผักหลังฤดูทำนาสหกรณ์จะเข้ามารับซื้อตลอด ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากพอสมควร 

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

CPF บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน เปิดสถานีไข่สด ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค



          นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และนำไปสู่ความต้องการซื้อไข่เป็นจำนวนมากกว่าช่วงเวลาปกตินั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้จัดเตรียม ร้านซีพี เฟรชมาร์ท ให้เป็น "สถานีไข่สด" จัดจำหน่ายไข่ไก่ แบบแผง 30 ฟอง เบอร์ 3 ในราคาเพียง 98.- บาท เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของการบริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทุกท่านสามารถหาซื้อได้ที่ร้านซีพี เฟรชมาร์ท ทุกสาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังส่งเพิ่มไปยังเซเว่น อีเลฟเว่น และแม็คโครด้วย

          ทั้งนี้ ไข่ไก่แผง 30 ฟองยังมีขนาดอื่นๆให้เลือกอีก ดังนี้ ขนาดเล็กเบอร์ 4 แผงละ 95.- บาท และขนาดใหญ่เบอร์ 1 แผงละ 111.- บาท รวมทั้ง ยังมีไข่กล่องที่บรรจุในแพ็คแบรนด์ CP ที่สวยงาม ขนาด 4 ฟอง และ 10 ฟอง ซึ่งจัดเป็นไข่ในบรรจุภัณฑ์พิเศษที่จะอำนวยความสะดวกตามความต้องการของผู้บริโภคในครอบครัวขนาดเล็ก รวมถึง ไข่โอเมก้า และ ไข่เคจฟรี ที่เป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ราคาไข่ไก่ เป็นราคาที่สมาคมผู้ผลิตไข่มีการกำหนดร่วมกันในแต่ละสัปดาห์ตามความเป็นจริง ขณะเดียวกัน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือให้ยืนราคาไข่คละหน้าฟาร์มที่ 2.80 บาท ซึ่งบริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือ

          ร้านซีพี เฟรชมาร์ท ยังมีอาหารคุณภาพหลากหลายชนิดให้เลือกสรร อาทิ อาหารสด อาหารพร้อมปรุง อาหารพร้อมทาน และเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อที่ร้าน พร้อมบริการสั่งสินค้าออนไลน์และจัดส่งตรงถึงบ้านฟรีไม่มีขั้นต่ำ ช่วยลดความกังวลลูกค้าในการออกมาซื้อสินค้านอกบ้านอีกด้วย

กรมประมงแจงข่าวลือ “ตลาดกุ้งมหาชัยปิด” เตือนเกษตรกรเช็คข่าวให้ชัวร์หวั่นเป็นข่าวลวง สร้างความเสียหายให้วงการอุตสาหกรรมกุ้ง



          จากกรณีที่มีข่าวลือปรากฎในสื่อโซเชียลมีเดียประเด็น “ตลาดกุ้งมหาชัย” จะปิดตลาดตามประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและเคอร์ฟิว ซึ่งข่าวลือดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนรัฐบาลจะประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในวันที่ 26 มี.ค.63 ส่งผลให้ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตขึ้นจำหน่ายซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหากุ้งราคาตกเนื่องจากผลผลิตล้นตลาด กรมประมงตรวจสอบข้อเท็จจริงกับตลาดกุ้งมหาชัย พบว่าข่าวดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลือตลาดยังเปิดจำหน่ายกุ้งปกติแต่มีการปรับเวลาเปิด - ปิดตลาด

          นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในฐานะโฆษกกรมประมงว่า ข่าวลือดังกล่าวได้สร้างความกังวลและตื่นตระหนกให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรบางรายเกรงว่าผลผลิตจะไม่มีตลาดรองรับจึงเร่งจับกุ้งขึ้นมาจำหน่ายก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ปัญหาดังกล่าวนี้หากปล่อยไว้จะส่งผลให้เกิดสภาวะกุ้งราคาตกเนื่องจากผลผลิตล้นตลาดรวมไปถึงปัญหาการแปรรูปไม่ทัน อันจะสร้างความเสียหายกับภาคอุตสาหกรรมกุ้ง กรมประมงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวทราบว่าข่าวดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลือที่มีการแชร์มาในช่องทางต่างๆ ว่ารัฐบาลจะมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินและประกาศเคอร์ฟิวที่อาจมีข้อกำหนดห้ามออกจากเคหะสถาน ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวจะส่งผลต่อระยะเวลาในการขนส่งกุ้งมาขายในตลาด เนื่องจากตลาดขายกุ้งจะเริ่มเปิดขายในช่วงเวลา 23.00 น. – ช่วงเช้าจนกว่าสินค้าจะหมด จึงเป็นต้นเหตุให้เกิดข่าวลือว่าตลาดกุ้งมหาชัยจะปิดตลาดตามประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งความจริง "พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน" ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ล่าสุดในวันที่ 26 มีนาคม 2563 เบื้องต้นเป็นการขอความร่วมมือประชาชน ยังไม่ประกาศเคอร์ฟิวหรือสั่งห้ามประชาชนออกจากเคหะสถาน

          นายสิทธวีร์ ปัทมนิธิวรกิตต์ ผู้จัดการชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดกุ้งมหาชัยเป็นตลาดที่ขายกุ้งขาวแวนนาไมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันทางตลาดยังเปิดให้บริการเป็นปกติ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยจึงส่งผลให้ผู้ค้าบางร้านไม่มาจำหน่ายสินค้า  ในส่วนของมาตราการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว ทางตลาดได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว อาทิ การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในบริเวณตลาด การกำหนดให้ผู้ขายและพนักงานในตลาดต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย การตั้งจุดล้างมือและเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ และล่าสุดทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครได้ออกประกาศกำหนดเวลาเปิด-ปิดตลาด โดยกำหนดให้แพกุ้งเปิดทำการตั้งแต่เวลา 23.00 น. – 05.00 น. และแพปลาเปิดทำการตั้งแต่เวลา 04.00 น – 10.00 น. สำหรับผู้ที่ต้องการติดตามข่าวสารสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook : ชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร

           โฆษกกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า ในช่วงสถานการณ์ที่การสื่อสารเปราะบางเช่นนี้ ขอความร่วมมือทุกฝ่ายงดสื่อสารประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับข่าวลือที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงแน่ชัด เพราะอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด อันจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับภาคอุตสาหกรรมกุ้งตลอดสายการผลิตและส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เลวร้ายลงกว่าเดิม

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563



          นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ ได้รับแจ้งจากผู้เลี้ยงม้าที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อช่วงเย็นวันที่ 25 มีนาคม 2563 จึงได้ส่งชุดปฏิบัติการสอบสวนและควบคุมโรค ลงพื้นที่ตรวจสอบโดยเร่งด่วน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 พร้อมทั้งสั่งการด่วน ให้เฝ้าระวังโรคในม้าทั่วประเทศ

          จากการลงพื้นที่สอบสวนโรค พบว่า มีม้าป่วยจำนวน 11 คอก โดยม้าป่วยแสดงอาการมีไข้สูงมากกว่า 39 °C  ซึม ไม่กินอาหาร มีน้ำมูก น้ำตาไหล หายใจลำบากหอบถี่ มีจุดเลือดออกบริเวณเยื่อบุตา เหงือกซีดและเหลือง ร่างกายอ่อนแรง    หน้าบวม ตายเฉียบพลัน และได้เก็บตัวอย่างสัตว์ป่วยส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ว่าเป็นโรคกาฬโรคในม้า (African Horse Sickness)

          กรมปศุสัตว์ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการบันทึกสั่งกักสัตว์ป่วยทุกคอกพร้อมทั้งแยกม้าที่ป่วยจากม้าร่วมฝูง และสั่งตั้งด่านควบคุมการเคลื่อนย้าย โดยระงับการเคลื่อนย้ายม้าเข้าและออกพื้นที่โดยเด็ดขาดในรัศมี 150 กิโลเมตร รวมทั้งให้คำแนะนำการป้องกันโรค ได้แก่ ป้องกันแมลงพาหะดูดเลือดโดยติดตั้งมุ้ง และทำลายมูลม้า แหล่งเพาะพันธุ์แมลง กำจัดแมลงดูดเลือด ทำลายเชื้อโรคยานพาหนะที่เข้าและออกฟาร์ม หลีกเลี่ยงการนำม้าไปอาบน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะมาเลี้ยงม้า ไม่นำม้าจากที่อื่นเข้ามาเลี้ยงใหม่ในฟาร์ม แยกคนเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ ระหว่างม้าป่วยและม้าร่วมฝูง และทำลายเชื้อโรค นอกจากนี้

ได้มีการประสานสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่ประเทศไทย สมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่ง และเครือข่ายผู้เลี้ยงม้าทั่วประเทศ ช่วยประชาสัมพันธ์ เตือนภัย การรับแจ้งโรค รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคในฟาร์ม เน้นย้ำให้เจ้าของ หมั่นสังเกตอาการม้าที่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด หากพบม้าแสดงอาการผิดปกติให้รีบแจ้งสัตวแพทย์ที่ปรึกษาฟาร์ม และ แจ้งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-2256888 และแอปพลิเคชัน DLD4.0 เพื่อดำเนินการตรวจสอบและควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน

          อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยันว่า สถานการณ์การระบาดของโรคในม้าที่เกิดขึ้น ไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และไม่ใช่โรคติดเชื้อไวรัสโควิด

แถลงการณ์ฝ่ายการตลาดเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย


แถลงการณ์ฝ่ายการตลาดเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย
สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของอุตสาหกรรมกุ้งไทย 
และแนวทางเร่งด่วนที่ใคร่ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
1. ปัญหาและสาเหตุ
1.1 เกิดภาวะตื่นตระหนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่อการระบาดของโรค ไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยที่มีการ
ขยายวงกว้างอย่างมาก เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีผลกระทบต่อการจับ การขนส่ง และการจ าหน่ายหรือไม่
อย่างไร
1.2 มีผลให้เกิดการจับกุ้งปริมาณมากออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ
1.3 เป็นผลต่อเนื่องให้มีวัตถุดิบเกินก าลังการผลิตและก าลังซื้อของผู้แปรรูปและผู้บริโภค
1.4 ร่วมกับปริมาณการส่งออกกุ้งเป็นไปยังประเทศคู่ค้าหลักลดลงในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลัก
ประสบปัญหาการระบาดของ ไวรัส โควิด 19
1.5 และช่องทางการจ าหน่ายผ่านพรมแดนไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ปิดลงเนื่องจากการปิดประเทศสกัดกั้น
การระบาดของไวรัส โควิด 19
1.6 เป็นผลให้เกิดสภาวะราคากุ้งตกต่ าอย่างรวดเร็ว จากวันที่ 18 มีนาคม กุ้งไซส์ 100 ต่อกิโลกรัม ราคา 115 
บาท และ ไซส์ 60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 150 บาท มาเป็น วันที่ 25 มีนาคม กุ้งไซส์ 100 ตัว ต่อกิโลกรัม 
ราคาเหลือ 95 บาท (-20บาท) และไซส์60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเหลือ 125 บาท (-25บาท)
1.7 ราคากุ้งในช่วงปัจจุบัน(วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นมา) เป็นราคาจ าหน่ายที่ต่ ากว่าต้นทุนการผลิตขอเกษตรกร
ผู้เลี้ยงกุ้งไทย หากราคานี้ทรงนิ่งต่อไปโดยไม่ขยับขึ้น จะมีผลทางจิตวิทยาให้เกษตรกรส่วนใหญ่ของ
ประเทศเลือกที่จะพักการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากไม่คุ้มทุน และไม่มั่นใจต่อทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมกุ้ง
ไทย
1.8 ในขณะที่ประเทศจีนก าลังฟื้นตัวจากการระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 มีแนวโน้มว่าจะมีความต้องการ
บริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
1.9 และจีนมีความต้องการกุ้งจากไทยเป็นล าดับแรกเนื่องจากสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ ฯลฯ แต่หากไทยไม่
มีกุ้งส่งให้ในวันที่จีนต้องการ ตลาดจีนก็จะเป็นโอกาสของประเทศผู้ผลิตกุ้งรายอื่นนอกเหนือจากไทย
2. แนวทางแก้ปัญหาราคาตกต่่า
2.1 แนวทางขอความร่วมมือจากภาครัฐ
2.1.1 ภาครัฐควรมีวิธีปฏิบัติเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการส่งออกกุ้งไปยังประเทศคู่ค้า ทุกขั้นตอน
อย่างรวจเร็ว และเพิ่มช่องทางเร่งด่วนในการระบายสินค้า แบบรัฐต่อรัฐ เช่นหาเที่ยวบินส่งสินค้าแบบเช่าเหมา
ล าส่งออกตรงไปยังประเทศคู่ค้าที่มีความต้องการการบริโภคสูง
2.1.2 ให้ภาครัฐหาช่องทางการส่งออกและระบายสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา 
เพื่อให้เกิดช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในตลาดโลกว่าประเทศไทยเป็นครัว
ของโลก มีสินค้า วัตถุดิบ พร้อมรองรับความต้องการทั้งในสถานการณ์ปกติและไม่ปกติ
2.1.3 ควรให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ตามที่ภาครัฐได้ด าเนินการประสบความส าเร็จมาแล้ว
2.1.4 ขอความร่วมมือหน่วยงานบริการของกรมประมง เปิดช่องทางการให้บริการต่างๆ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
จ าเป็นต้องใช้ไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น ตรวจสุขภาพกุ้ง คุณภาพน้ า และออกใบรับรองต่างๆ 
2.1.5 ภาครัฐควรให้การสนับสนุนเรื่องแรงงานในการแปรของผู้ประกอบการห้องเย็น ให้สามารถเพิ่มก าลัง
การผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ และสินค้าที่เข้าสู่ตลาดไม่ให้มีผลผลิตล้นก าลังการ
ผลิต
2.1.6 เปิดช่องทางสายด่วนส าหรับให้ค าแนะน าแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่มีข้อสงสัย
2.2 แนวทางขอความร่วมมือจากผู้แปรรูป
2.2.1 ให้ข้อมูลข่าวสารที่กระจ่างชัดแก่แพและผู้เลี้ยงกุ้ง
2.2.2 รักษาระดับราคากุ้งไว้ให้อยู่คงที่ในระดับจุดคุ้มทุน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ลงกุ้ง
ต่อเนื่อง และป้องกันปัญหาการขาดแคลนกุ้งในช่วง 2-4 เดือนข้างหน้า
2.3 แนวทางขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงกุ้ง
2.3.1 ขอให้ผู้เลี้ยงกุ้งทุกท่านมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข้อมูลข่าวสาร หากมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจ
ประการใด ให้ปรึกษาคณะกรรมการ กลุ่ม สมาคม ชมรม สหกรณ์ ที่ท่านสังกัดอยู่ และสามารถสอบถามไปยัง
ภาครัฐโดยตรงเพื่อความกระจ่างก่อนตัดสินใจ
2.3.2 ขอให้ชะลอการจับกุ้งไว้ก่อน ทิศทางอนาคตนั้นกุ้งน่าจะมีราคาที่ดี นอกจากนี้การแห่จับกุ้งกันเป็น
จ านวนมาก จะมีผลให้ราคากุ้งตกต่ าลง และไม่มีกุ้งไว้จ าหน่ายในอนาคตเมื่อราคาสูงขึ้น


 2.3.3 ผู้เลี้ยง หรือแพ ที่ไม่มีคิวลงห้องเย็นขอความกรุณาให้ความร่วมมือหยุดการจับกุ้งก่อน เพื่อให้เวลาผู้
แปรรูปและห้องเย็นได้เคลียร์สินค้าคงคลังออกไปก่อน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอความร่วมมือจากทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
 ด้วยความเคารพอย่างสูง 
 (นายโกศล หนูกลิ่น) 
รองประธานและฝ่ายการตลาดเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย
 27 มีนาคม 2563


ซีพี เฟรชมาร์ท' Big Cleaning Day ทุกสาขาทั่วไทย เพิ่มความมั่นใจลูกค้า สะอาด ปลอดภัย รวมใจต้านวิกฤตโควิด-19


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัยของลูกค้า ซีพี เฟรชมาร์ท ผนึกพลังทำความสะอาดครั้งใหญ่ Big Cleaning Day ร้านซีพี เฟรชมาร์ทพร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมยกระดับ 9 มาตรการความปลอดภัยเข้มข้น เพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค

นายสุจริต มัยลาภ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจการค้าในประเทศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้า ซีพี เฟรชมาร์ท กล่าวว่า ซีพี เฟรชมาร์ท ใส่ใจในความปลอดภัยให้ผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง และยกระดับความเข้มข้นขึ้น ด้วย 9 มาตรการ “สะอาด ปลอดภัย รวมใจต้านวิกฤตโควิด-19” พร้อมกับ จัดกิจกรรม Big Cleaning Day พร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศ ทำความสะอาดร้านครั้งใหญ่ เพื่อเป็นส่วนหนี่งในการช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในสินค้าและบริการที่สะอาด ปลอดภัย ให้กับลูกค้าทุกท่าน  

“ซีพี เฟรชมาร์ท ได้กำหนด 9 มาตรการในการดูแลความสะอาด รวมทั้งสุขภาพของพนักงานที่ปฏิบัติงานในร้านทุกคน เพื่อส่งมอบสินค้าและการบริการที่ได้มาตรฐานความสะอาดและปลอดภัยให้แก่ลูกค้าทุกคน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน” นายสุจริต กล่าว

ในช่วงที่สถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 ร้าน CP Freshmart ทุกสาขาทั่วประเทศ ยังเปิดให้บริการลูกค้าทุกวันตามปกติ พร้อมยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่เข้มข้นยิ่งขึ้นเพื่อดูแลความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานและลูกค้า 9 มาตรการคุมเข้มโควิด-19 ประกอบด้วย 1.ใช้น้ำยาทำความสะอาดร้านและจุดสัมผัส เช่นประตู ตู้แช่สินค้า ตะกร้า เป็นประจำทุก 2 ชั่วโมง 2.พนักงานในร้านต้องล้างมืออย่างสม่ำเสมอ 3.พนักงานใส่หน้ากากอนามัยเวลาปฏิบัติงานในร้าน 4.พนักงานสวมถุงมือระหว่างปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการสัมผัสกับสินค้า 5.ทุกสาขาจัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลให้ลูกค้าล้างมือก่อนเข้าร้าน 6.ร้านเตรียมถาดใส่เงิน และทำความสะอาดเหรียญและธนบัตรก่อนเก็บ 7.รณรงค์เรื่อง Social Distancing ให้ลูกค้ารักษาระยะห่าง ในการเข้าแถวชำระสินค้า 8.ส่งเสริมการจ่ายเงินผ่านระบบด้วย True Money Wallet และ 9.ซีพี เฟรชมาร์ท มีการบริการสั่งสินค้าออนไลน์และจัดส่งตรงถึงบ้านฟรีไม่มีขั้นต่ำ เพื่อลดความกังวลลูกค้าในการออกมาซื้อสินค้านอกบ้านอีกด้วย 

ซีพี เฟรชมาร์ท ติดตามสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าอย่างเต็มที่ พร้อมทั้ง ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่กรุณาให้ความเชื่อมั่น ซีพี เฟรชมาร์ท ได้ทำหน้าที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/cpfreshmart.page/ หรือ  https://www.cpfreshmartshop.com/ หรือสายด่วนฮอตไลน์ CP Freshmart โทร 1788./

ด้วยความขอบพระคุณ
พรรณินี นทพานิช
สื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ CPF

อธิบดีกรมปศุสัตว์ระดมสัตวแพทย์เข้าควบคุมโรคระบาดที่ทำให้มีม้าในจังหวัดนครราชสีมาป่วยตายเฉียบ



อธิบดีกรมปศุสัตว์ระดมสัตวแพทย์เข้าควบคุมโรคระบาดที่ทำให้มีม้าในจังหวัดนครราชสีมาป่วยตายเฉียบพลันรวม 42 ตัว สั่งปศุสัตว์จังหวัดคุมเข้ม ห้ามฟาร์มในพื้นที่ระบาดเคลื่อนย้ายม้า เร่งเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ ยืนยัน ไม่ใช่เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า สั่งการด่วนที่สุดให้ปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังโรคในม้าตามคอกหรือฟาร์มในพื้นที่เนื่องจากพบม้าในฟาร์มเลี้ยงม้าแข่งอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาป่วยตายเฉียบพลัน โดยฟาร์มแรกมีม้าตายตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม จากนั้นฟาร์มอื่นๆ ได้ตายลงรวม 42 ตัว จากจำนวนทั้งสิ้น 341 ตัว คิดเป็นร้อยละ 12.32 ของม้าที่เลี้ยงในพื้นที่

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวต่อว่า ทันที่ได้รับแจ้ง สั่งการให้นายสัตวแพทย์จากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ปศุสัตว์เขต/จังหวัด ด่านกักกันสัตว์ในพื้นที่เข้าสอบสวนโรค เบื้องต้นได้รับรายงานว่า ในช่วงวันที่ 19-22 มีนาคมเกิดพายุฤดูร้อนและฝนตกหนัก หลังจากนั้นแมลงหลายชนิดซึ่งเป็นพาหะโรคสัตว์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง ต่อมาม้าแสดงอาการป่วยแบบเดียวกันและตายอย่างเฉียบพลันรวม 11 ฟาร์ม


ขณะนี้สั่งให้พื้นที่อำเภอปากช่องเป็นพื้นที่กักโรค ห้ามเคลื่อนย้ายม้า ให้ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอแนะนำฟาร์มทำระบบป้องกันโรคทางชีวภาพอย่างเคร่งครัด พ่นยาฆ่าเชื้อ ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ส่วนเจ้าของและผู้เลี้ยง หากจะเข้า-ออกฟาร์มต้องล้างทำความสะอาดยานพาหนะและแช่รองเท้าในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ให้ป้องกันแมลงดูดเลือดในสัตว์โดยการกางมุ้งให้ม้า แยกม้าป่วย รวมถึงแยกคนเลี้ยงม้าป่วยกับม้าปกติ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เป็นคนละชุด คนเลี้ยงม้าต้องสวมถุงมือ ล้างมือหลังสัมผัสม้า หลีกเลี่ยงนำม้าไปอาบน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ ล่าสุดยังมีมีม้าป่วย 18 ตัว อาการไข้สูง เหงือกซีด น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร และหายใจหอบถี่ ซึ่งเมื่อแสดงอาการแล้วจะตายใน 24-48 ชั่วโมง ให้กำจัดซากโดยการฝังกลบ

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า สัตวแพทย์ได้เก็บตัวอย่างเลือดจากม้าส่งตรวจสอบโรคในห้องปฏิบัติการด่วนที่สุด ขณะนี้กำลังรอผลที่ชัดเจน แต่เบื้องต้นยืนยันว่า เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในม้าและไม่ใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ย้ำให้ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอเฝ้าระวังทั่วประเทศขอความร่วมมือเจ้าของฟาร์ม หากมีม้าป่วยตายให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีหรือผ่านแอพพลิเคชัน DLD 4.0 ตลอดจนให้ทางปศุสัตว์จังหวัดรายงานมายังสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้งหรือพบการระบาด ตลอดจนสรุปการสอบสวนโรคถึงกรมภายใน 72 ชั่วโมง

“ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกเพราะไม่ใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนแน่นอน อีกทั้งการรู้โรคเร็ว เข้าควบคุมโรคเร็ว จัดทำระบบป้องกันอย่างเข้มงวด ตลอดจนตรวจหาสาเหตุของโรคโดยด่วนจะทำให้สามารถป้องกันการแพร่ระบาดอย่างได้ผลดีที่สุด” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

สหกรณ์ ฯ แม่สะเรียง ใช้หลัก “ซื้อนำตลาด” ดีดราคารับซื้อกระเทียมสด 12 บาท/กก.


          จากปัญหาราคากระเทียมตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเกษตรกรถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกกระเทียมจนประสบผลสำเร็จ เกษตรกรสามารถขายกระเทียมได้ในราคาที่พอใจ  ด้วยแนวทางพื้นฐานของระบบสหกรณ์ ที่จะสร้างความมั่นคงให้กับสหกรณ์และเกษตรกรสมาชิกในระยะยาว คือ หลักของการ “รวมซื้อ รวมขาย”  ที่สร้างความเข้มแข็งและสร้างอำนาจการต่อรองให้เกษตรกร

          นายพีรกร  พวงบุตร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่าถึงแนวทางของสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด ที่รวบรวมผลผลิตกระเทียมของสมาชิก โดยใช้วิธีการซื้อนำตลาด  ซึ่งได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2562  ในหลักการสหกรณ์จะรับซื้อกระเทียมสดจากเกษตรกรสมาชิกในราคาที่สูงกว่าพ่อค้าคนกลางรับซื้อกิโลกรัมละ 1 บาท แต่ทั้งนี้ ราคาจะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนของเกษตรกร คือ 8 – 8.50 บาท/กิโลกรัม  ในปี 2562  พ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อกระเทียมเท่ากับราคาต้นทุนของเกษตรกร  สหกรณ์ ฯ แม่สะเรียงจึงเข้าไปซื้อนำตลาดโดยให้ราคา 10 บาท/กิโลกรัม จนสามารถดึงราคารับซื้อของพ่อค้าขึ้นมาอยู่ที่ 10 บาท  ซึ่งส่งผลให้ในปี 2563 กลุ่มพ่อค้ายังไม่กล้าตั้งราคารับซื้อจากเกษตรกร  แต่รอดูราคาจากสหกรณ์ ฯ  ปีนี้สหกรณ์ ฯ รับซื้อกระเทียมจากเกษตรกรสมาชิกราคากิโลกรัมละ 12 บาท  กลุ่มพ่อค้าจึงประกาศรับซื้อกระเทียมเท่ากับราคาของสหกรณ์ ซึ่งในราคารับซื้อนี้เกษตรกรจะได้กำไรจากส่วนต่าง 3-3.50 บาทต่อ/กิโลกรัม  หรือประมาณ 15,000 – 17,500 บาทต่อไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อไร่)  ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรอยู่ได้ ในปีนี้มีสหกรณ์มีเป้าหมายรับซื้อกระเทียมจากเกษตรกรสมาชิกจำนวน 160 ตัน  สำหรับกระเทียมที่รวบรวมไว้สหกรณ์จะมัดจุกตากไว้เพื่อจำหน่ายเป็นกระเทียมแห้งในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยมีการเจรจาซื้อขายล่วงหน้ากับพ่อค้าในจังหวัดลำพูนไว้แล้ว


              นอกจากนี้สหกรณ์ยังมีการนำกระเทียมแห้งมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยนำไปทำเป็นกระเทียมผง  เพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเทียมแคปซูล  ขณะนี้ได้ติดต่อกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (เชียงใหม่) เพื่อขอความร่วมมือทดสอบในการผลิตกระเทียมผง  จากนั้นจะส่งกระเทียมที่ได้ไปให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน เพื่อวิเคราะห์สารสำคัญและสรรพคุณของกระเทียมผง  และจะผลิตเป็นสินค้าแบรนด์ของสหกรณ์ ฯ แม่สะเรียงโดยใช้ชื่อว่า “ใจกระเทียม”  ในขั้นต้นจะผลิตกระเทียมผงจำนวน 100 กิโลกรัม  คาดว่าภายในปี 2563 สินค้าจะเริ่มออกสู่ตลาด  จากความสำเร็จในการใช้กลไกของสหกรณ์ในการสร้างอำนาจการต่อรอง ด้วยวิธีการ “ซื้อนำตลาด” จึงได้นำการขยายแนวคิดดังกล่าวไปดำเนินการที่สหกรณ์การเกษตรสบเมย และประสบผลสำเร็จ  จึงได้วางเป้าหมายในอนาคต จะทำให้พื้นที่แม่สะเรียงเป็นศูนย์กลางการรับซื้อขายกระเทียม  โดยให้สหกรณ์แต่ละแห่งเป็นผู้รับซื้อและมาส่งให้สหกรณ์ ฯ แม่สะเรียง  เพื่อนำวัตถุดิบไปป้อนให้กับโครงการแปรรูปกระเทียมผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


     ทางด้านสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด โดยนางไขศรี ฟองแก้ว ผู้จัดการสหกรณ์ฯ ให้ความเห็นว่า โครงการนี้สหกรณ์ ฯ แม่สะเรียงร่วมมือกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร  เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรถูกพ่อค้าคนกลางรวมหัวกันกดราคารับซื้อหัวกระเทียมสด บางครั้งให้ราคาต่ำมาก คือ 7 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอยู่ที่ 8-9 บาท/กิโลกรัม  ในปี 2562 สหกรณ์ไปขอกู้เงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อซื้อกระเทียมจากเกษตรกรสมาชิก ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ปี 2563 สหกรณ์จึงขอกู้อีก 1.4 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายซื้อกระเทียมจากเกษตรกรสมาชิก 160 ตัน ในส่วนของเกษตรกรเองก็ดีใจที่สหกรณ์มาช่วยรับซื้อ ไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา  และมีรายได้เพิ่ม สำหรับโครงการแปรรูปกระเทียม ในปี 2563  สหกรณ์ตั้งเป้านำกระเทียมแห้ง 1 ตัน มาแปรรูปจะได้กระเทียมผง 100 กิโลกรัม  เพื่อนำไปผลิตจำหน่ายในรูปของกระเทียมแคปซูล  และกระเทียมอัดเม็ด  ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ใจกระเทียม” (Heart Garlic)  สำหรับช่องทางในการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งสหกรณ์จะเป็นผู้จำหน่ายเอง และผ่านเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัด  หลังจากนั้นจะขยายออกไปในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป   สำหรับผลิตภัณฑ์อีกส่วนหนึ่งจะผลิตให้ภาคเอกชนเพื่อนำไปจัดจำหน่าย ขณะนี้ได้เจรจากันในเบื้องต้นแล้ว ในการนี้ สหกรณ์ได้ขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรแปรรูปกระเทียมผงจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ในวงเงินประมาณ 1 ล้านบาท หากโครงการแปรรูปเป็นไปตามเป้าหมาย เชื่อว่าจะทำให้สหกรณ์สามารถรับซื้อกระเทียมจากเกษตรกรได้ไม่ต่ำว่ากิโลกรัมละ 12 บาท  ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้  และความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรสมาชิกให้ดีขึ้นได้

ส่วนนางอภิรดี  เมืองชัย สมาชิกสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด กล่าวว่า ก่อนที่สหกรณ์จะเขามารับซื้อพ่อค้ากดราคามาก ถึงแม้ขายราคาขาดทุนก็จำเป็นต้องขาย เพราะมีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง เช่น ค่าจ้างคนงาน จะเก็บกระเทียมไว้ขายตอนตอนที่ราคาสูงก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีโรงเก็บและไม่มีทุนเพียงพอ  แต่เมื่อสหกรณ์เข้ามาช่วยรับซื้อทำให้ราคากระเทียมดีขึ้นมาก  เกษตรกรไม่ขาดทุน  และพอมีเงินเหลือใช้

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผอ.สถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน"เห็นต่าง" ประชาชนแห่กลับถิ่นในต่างจังหวัดยิ่งควบคุมโควิด-19 ง่าย เชื่อมือ!!.อสม.และระบบสาธารณสุขของไทย"เอาอยู่แน่"

ผอ.สถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน"เห็นต่าง" ประชาชนแห่กลับถิ่นในต่างจังหวัดยิ่งควบคุมโควิด-19 ง่าย เชื่อมือ!!.อสม.และระบบสาธารณสุขของไทย"เอาอยู่แน่"


           จากกรณีที่กทม. ประกาศปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิก 19 โดยเริ่มให้หยุดงานตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคมถึงวันที่ 12 เมษายน 2563 นี้ รวมทั้งขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้พนักงานทำงานที่บ้าน ส่วนภาครัฐให้ใช้เวลาการเหลื่อมเวลา หรือสลับวันทำงานเพื่อความเหมาะสมซึ่งส่งผลให้มีการหยุดงานยาวนานถึง 22 วันนั้น ล่าสุด ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน เปิดเผยว่า การหยุดงานยาว 22 วัน ส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และด้านสุขภาพจากเดิมทีต้องการไม่ให้คนได้ติดต่อกัน ให้คนอยู่บ้าน ไม่ต้องไปทำงาน แต่หลังจากประกาศให้ปิดสถานที่ต่างๆ คนจำนวนหนึ่งกลับบ้านต่างจังหวัดเพราะไม่มีรายได้ แต่มีรายจ่าย และวิตกกังวลว่าจะอยู่รอดได้อย่างไร และยิ่งเห็นจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มวันนี้ 188 ราย ก็ยิ่งเพิ่มความตกใจว่า กทม.อาจจะกลายเป็นแหล่งโรค จึงคิดว่ากลับบ้านดีกว่า ปลอดภัยดีกว่า แต่การกลับบ้านอาจจะกลายเป็นตัวนำโรคกลับบ้านด้วยหรือไม่ จะทำให้การแพร่กระจายโรคเพิ่มไปอย่างรวดเร็วจนยากที่จะแก้ไขหรือไม่ ขณะที่ครอบครัวก็อาจจะเกรงกลัวโรคด้วย

ดร.เมธี กล่าวอีกว่า คนจากกทม.กลับบ้านได้เพราะในแต่ละหมู่บ้านมีอสม. มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอยตรวจสอบอยู่แล้วโดยให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องตรวจสอบทุกคนที่กลับบ้านแล้วรายงานความเจ็บป่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยเร็วที่สุด และถ้าทำได้จริงๆ โรคภัยก็จะไม่ระบาด กลับเป็นการควบคุมโรคที่ดี แต่ในทางกลับกันถ้าไม่ทำก็จะระบาดใหญ่

ส่วนในกทม.ทุกคนอยู่บ้านตรวจสอบคนในบ้าน ใครเจ็บป่วยไปหาเจ้าหน้าที่ทันที และใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยงให้รีบไปหาหมอตรวจ ทุกคนต้องรับผิดชอบ

ด้วนหน่วยงานสื่อสารของรัฐต้องทำหน้าที่อธิบายให้ประชาชนฟังตลอดเวลาเพื่อประชาชนจะต้องไม่ตื่นตระหนก เข้าใจและปฏิบัติตาม

ผู้อำนวยการสถาบันประชาชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐานยังกล่าวถึงการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นสูง 188 ราย ว่า ไม่ต้องตกใจ ประเทศไทยเรามีระบบสาธารณสุขที่ดีและเชื่อว่าจะควบคุมสถานการณ์อยู่ได้

เกษตรกรวอนเข้าใจราคาไข่เป็นไปตามกลไกตลาด ผู้บริโภคมั่นใจได้ไข่ไม่ขาดแคลน ย้ำส่งออกขาดทุนไม่มีใครอยากทำ


เกษตรกรวอนเข้าใจราคาไข่เป็นไปตามกลไกตลาด
ผู้บริโภคมั่นใจได้ไข่ไม่ขาดแคลน ย้ำส่งออกขาดทุนไม่มีใครอยากทำ

          นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ระดับราคาไข่ไก่จะเป็นไปตามกลไกตลาดเสมอ โดยการผลิตไข่ไก่ของไทยนั้น เป็นการรองรับการบริโภคในประเทศ มีผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย หรือรวมตัวกันในรูปแบบชมรมและสหกรณ์ ส่วนการส่งออกไข่ไก่นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องระบายผลผลิตส่วนเกินให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพราคาไข่ภายในประเทศ โดยผู้ส่งออกไข่ไก่ของไทยต้องยอมส่งไข่ในราคาขาดทุน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับจีนและสหรัฐฯ จึงไม่มีใครอยากทำการส่งออกไข่ เพราะมันไม่ใช่การสร้างกำไร แต่เป็นการเสียสละเพื่อเกษตรกรและคนในอุตสาหกรรมเดียวกัน

   "ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกรในปัจจุบันอยู่ที่ฟองละ 2.60 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยพุ่งไปถึง 2.69 บาทต่อฟอง เกษตรกรทั่วประเทศต่างพยายามแก้ปัญหาร่วมกันด้วยการวางแผนการผลิตอย่างรอบคอบ เช่น การปลดแม่ไก่ยืนกรง และปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน การให้ผลผลิตของแม่ไก่จึงลดลง สวนทางกับการบริโภคที่มากขึ้นในช่วงที่หลายคนกักตัวอยู่บ้าน อาจทำให้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นเล็กน้อยตามกลไกตลาด  อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าปริมาณไข่ไก่ในประเทศไม่มีทางขาดแคลน” นายสุเทพกล่าว

          เมื่อพิจารณาจากวัฏจักรไข่ไก่ที่ราคามีขึ้นมีลงตลอดทั้งปี ในแต่ละปีจะมีช่วงที่ราคาไข่ไก่สูงเพียง 4-5 เดือน ขณะที่ช่วงที่ราคาตกต่ำมีมากถึง 7-8 เดือน ยังมีปัจจัยด้านต้นทุนการผลิต ภาวะโรค ปริมาณการเลี้ยงแม่พันธุ์ไก่ไข่ ฯลฯ เป็นตัวกำหนดราคาในแต่ละช่วง โดยเฉพาะเดือนมีนาคมนี้เป็นช่วงปิดภาคเรียนที่การบริโภคของนักเรียนจะต่ำลง เมื่อผนวกกับเหตุการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 เข้ามาทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวหายไป คนกินไข่หายไปจำนวนมาก ทำให้ปริมาณไข่เหลือล้นตลาด ราคาตกต่ำลงอีก เกษตรกรจึงวางแผนการผลิตด้วยการเข้าเลี้ยงแม่ไก่น้อยลง ทำให้ปริมาณไข่ไก่สมดุลขึ้น จึงเพิ่งเริ่มเห็นการขยับราคาขึ้นบ้าง ขอผู้บริโภคเข้าใจสถานการณ์ 


          ทั้งนี้ จากสถิติราคาไข่ไก่ปี 2557-2562 ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ยต่ำกว่าต้นทุนมาโดยตลอด พบว่า ปี 2557 ขาดทุน 0.12 บาทต่อฟอง ปี 2558 ขาดทุน 0.14 บาทต่อฟอง ปี 2559 เป็นปีเดียวที่มีกำไรอยู่ที่ 0.06 บาทต่อฟอง ปี 2560 ขาดทุน 0.21 บาทต่อฟอง ปี 2561 ขาดทุน 0.30 บาทต่อฟอง เป็นที่มาของการร่วมกันสร้างเสถียรภาพราคาไข่ไก่ โดยมีคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด (Egg Board) เป็นผู้ผลักดันการเดินหน้ามาตรการต่างๆ โดยขอความร่วมมือภาคเอกชนและเกษตรกรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ช่วยกันปรับสมดุลปริมาณไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐ

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563

สทน. ชู ฉายรังสีช่วยให้อาหารปลอดเชื้อ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค


สทน. ชู ฉายรังสีช่วยให้อาหารปลอดเชื้อ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค


          รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า “จากปัญหาโควิท-19 ที่ระบาดไปทั่วโลกที่เกิดขึ้นเพราะการรับประทานที่ไม่ปลอดภัยของมนุษย์เรา  ในสถานการณ์ที่กำลังเกิดโรคระบาดไปทั่วโลก การรับประทานอาหารที่ปลอดเชื้อ หรือให้มันปลอดภัยมาก ๆ เป็นเรื่องที่จำเป็น ไม่เช่นนั้นเราก็จะเจอกับโรคอุบัติใหม่แบบไม่มีที่สิ้นสุด อาหารฉายรังสีจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในการบริโภค ในขณะเดียวกับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารก็ควรจะคำนึงถึงสุขภาพพลานามัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญด้วย สทน.  จึงอยากให้มีการจำหน่ายอาหารฉายรังสีให้มันหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนชาวไทย



แม้เทคโนโลยีการฉายรังสีในประเทศไทยจะเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506  จนกระทั่ง รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในการรับความช่วยเหลือจากประเทศแคนนาดา จึงดำเนินการสร้างโรงงานฉายรังสีแบบเอนกประสงค์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอาหารฉายรังสีในประเทศไทย  แต่ข้อมูลการฉายรังสียังถูกรับรู้ในวงแคบ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงข้อมูลอาหารฉายรังสี  หรือรับรู้แบบผิด ๆ ว่าอาหารฉายรังสี คือ อาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ในส่วนของผู้ประกอบการที่มาใช้บริการฉายรังสีเอง ก็ไม่อยากบอกผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของตนผ่านการฉายรังสี เพราะกังวลว่าผู้บริโภคจะเข้าใจผิด และอาจจะส่งผลกระทบกับต่อยอดขายสินค้า ทำให้อาหารฉายรังสีไม่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเท่าที่ควร อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการอาหารอีกจำนวนมาก ยังไม่เข้าใจว่า กระบวนการฉายรังสีอาหารสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อได้  ดังนั้น การฉายรังสีอาหารในผลิตภัณฑ์ที่คนไทยบริโภค จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร
“ สทน. มีเป้าหมายชัดเจนในการมุ่งสร้างความปลอดภัยให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหาร และสร้างความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับทางวิทยาศาสตร์ โดยมีภารกิจสำคัญด้านอาหารปลอดภัยที่ดำเนินการอยู่ คือ การให้บริการฉายรังสีเพื่อทำลายเชื้อโรคและยืดอายุผลิตภัณฑ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกประเภทรังสีที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้กับอาหาร และการพัฒนาบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา



          สทน. จึงจัดงานมหกรรมอาหารปลอดภัย ภายใต้ชื่องาน “ Safe Food Good Life อาหารปลอดภัย ฉายรังสีปลอดโรค ” ในวันที่ 21 – 22 มีนาคม 2563 ณ ห้างสรรพสินค้า สามย่านมิตรทาวน์ ชั้น G เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี ว่าเป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง โดยนำอาหารไปรับรังสีจากต้นกำเนิดรังสี เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ยืดอายุการเก็บรักษา ชะลอการสุก ยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา ทำลายและยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลง ฯ กล่าวโดยสรุปคือ ช่วยในการถนอมอาหาร  และทำให้อาหารปลอดภัยจากเชื้อโรค ดังนั้น
ในทางกฎหมายจึงมีข้อกำหนดถึงปริมาณรังสีต่ำสุดที่อยู่ในระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังคงคุณค่าทางโภชนาการ มีรสชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดว่า “อาหารใด ๆ ก็ตาม ที่ผ่านการฉายรังสีในปริมาณเฉลี่ยไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ ไม่ก่อให้เกิดโทษอันตราย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาพิเศษทางโภชนาการและจุลชีววิทยา และไม่จำเป็นต้องทดสอบความปลอดภัยอีกต่อไป”



          รศ.ดร.ธวัชชัย กล่าวสรุปว่า ปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการของไทยหลายรายที่เห็นความสำคัญนำอาหารมาฉายรังสี เช่น กลุ่มอาหารแปรรูป  อาหารแช่แข็ง  ผลไม้ สมุนไพร เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อาหารสุนัข สำหรับประโยชน์ที่ได้รับ นอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในตัวสินค้าแล้ว  ยังช่วยส่งเสริมในเรื่องการส่งออกอีกด้วย  เพราะหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกต่างก็ให้การยอมรับว่าอาหารฉายรังสีมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค





รักปลาคาร์พ ห้ามพลาด! ไทยเจ้าภาพงานใหญ่สุดในเอเชีย คาดตลาดปลากลับมาคึกคักพร้อมเงินสะพัด

   กรมประมง รวมพลังสมาคมผู้เลี้ยงปลาคาร์พทีเคเคจี จัดงานเอเชีย คัพ โค่ย โชว์ ครั้งที่ 14 (14th Asia Cup Koi Show) งานประกวดปลาคาร์พระดับเอเช...