วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สรุปภาวะสินค้าเกษตร ประจำสัปดาห์ วันที่ 25-29 พฤษภาคม 2563


ข้าวโพด : ราคาเพิ่มขึ้น
        สัปดาห์นี้ ราคาซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้นจากหาบละ 531 บาท เป็นหาบละ 534 บาท เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เข้าสู่ตลาดลดลง
        ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 320.50 เซนต์/บุชเชล สัปดาห์ที่ผ่านมาอุณหภูมิที่สูงขึ้นบริเวณพื้นที่เพาะปลูก เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำฝนลดลงในสัปดาห์หน้า กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานความคืบหน้าการเพาะปลูกข้าวโพดในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ 88% สูงกว่าค่าเฉลี่ยห้าปีที่ 82% และรายงานการประเมินคุณภาพผลผลิตข้าวโพดอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก (Good to Excellent) ที่ 80% แนวโน้มราคาน่าจะทรงตัว
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว

ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว
        กากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 13.95 บาท ถึงแม้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศฝั่งอเมริกาใต้ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการซื้อผลผลิตในตลาดโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่ดีขึ้น ทำให้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในตลาดมากนัก
        ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เมล็ดถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 848.50 เซนต์/
บุชเชล และ กากถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 282.0 เหรียญสหรัฐฯ/
ช็อตตัน ด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานยอดการส่งออกถั่วเหลืองไปยังประเทศจีน ของกลุ่มผู้ส่งออกภาคเอกชน จำนวน 258,000 ตัน ทั้งนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิท-19 ในบราซิลที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีรายงานผู้ติดเชื้อหนึ่งรายที่ท่าเรือ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องการส่งออกล่าช้า แนวโน้มราคาน่าจะทรงตัว
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาถั่วเหลืองนำเข้าน่าจะทรงตัว

ปลาป่น : ราคาทรงตัว
        ภาวะผู้ผลิตอย่างประเทศเปรู การจับปลามีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากหลายๆ บริษัทเริ่มปรับตัวกับกฏระเบียบป้องกันเชื้อโควิท-19 ได้ดี ทำให้การจับปลามีปริมาณสูงมากเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิท-19 ยังมีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปลาป่นในสัปดาห์นี้ ทรงตัวทุกเบอร์
        โดยปลาป่นเกรดกุ้ง ราคากิโลกรัมละ 42.00 บาท ปลาป่นเบอร์ 1 เกรดที่สูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 38.20 บาท และปลาป่นเกรดที่ต่ำกว่า 60 โปรตีน ราคากิโลกรัมละ 35.70 บาท
        ด้านปลาป่นคุณภาพรองลงมา ปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 35.20 บาท ส่วนปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 56 แต่ไม่เกิน 60 ราคากิโลกรัมละ 32.70 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาปลาป่นน่าจะทรงตัว

ข้าว : ราคาทรงตัว
        ตลาดซื้อขายข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ส่งออกท่าเรือกรุงเทพฯ เอฟ.โอ.บี. ราคาตันละ 517 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ส่งออก เอฟ.โอ.บี. ราคาตันละ 437 เหรียญสหรัฐฯ
        ด้านตลาดซื้อขายข้าวในประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ราคากระสอบละ 1,500 บาท ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ณ โรงงานอาหารสัตว์ ราคากระสอบละ 1,250 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวน่าจะทรงตัว

สุกร : ราคาทรงตัว
        การบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้นทุกพื้นที่จากมาตรการปลดล๊อกดาวน์เฟส 3 โดยราคาประกาศสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม จากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในสัปดาห์นี้ ทรงตัวที่กิโลกรัมละ 68-74 บาท ทั้งนี้ น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า
แอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ส่งผล
กระทบกับอุตสาหกรรมสุกรในเอเชีย ทำให้หลายประเทศขาดแคลนอย่างหนัก อาทิ เวียดนามที่ต้องนำเข้าสุกรเพิ่ม 300% ราคาหน้าฟาร์มสูง 115-120 บาทต่อกิโลกรัม สูงสุดในรอบ 20 ปี ด้านจีนมีการนำเข้าในเดือนเมษายนเพิ่มกว่า 170% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มสูงขึ้นอยู่ที่ 120-136 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ประเทศไทยคงสถานะปลอดโรค และมีราคาต่ำสุดในภูมิภาค
        ด้านลูกสุกรน้ำหนัก 16 กิโลกรัมต่อตัว ราคาอยู่ที่ 2,100 บาท (บวก/ลบ 66)
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาสุกรทิศทางน่าจะเพิ่มขึ้น

ไก่เนื้อ : ราคาเพิ่มขึ้น
        การบริโภคเนื้อไก่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านปริมาณสต๊อกผลผลิตไก่ลดลง ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม ตามประกาศสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ปรับขึ้นจากกิโลกรัมละ 32 บาท เป็นกิโลกรัมละ 34 บาท
        ด้านลูกไก่เนื้อราคาตัวละ 10.50 บาท และลูกไก่ไข่ราคาตัวละ 26.00 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาไก่เนื้อน่าจะเพิ่มขึ้น

ไข่ไก่ : ราคาทรงตัว
        ราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ยืนราคาที่ฟองละ 2.40 บาท ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่อยู่ที่ฟองละ 2.69 บาท โดยขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้เร่งแก้ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด ด้วย 4 แนวทางปฏิบัติ ได้แก่
1.ผลักดันการส่งออก
2.ปลดไก่ไข่ยืนกรง
3.จำหน่ายไข่ไก่ผ่านร้านธงฟ้า
และ 4.งดการนำไข่เชื้อพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) เข้าฟัก รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ด้วย       
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาไข่ไก่น่าจะทรงตัว

CEO ซีพีเอฟ ลงพื้นที่บางพลัด นำ CPF Food Truck เสิร์ฟอาหารอุ่นร้อนพร้อมทาน ครั้งที่ 11 พร้อมย้ำ! การ์ดอย่าตก ต้องช่วยกันดูแลตนเอง สู้ภัยโควิด-19


          นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พร้อมด้วย ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน และพนักงาน CPF จิตอาสา ร่วมส่งมอบอาหารอุ่นร้อนพร้อมทาน จาก CPF Food Truck ให้แก่ ชาวชุมชนเขตบางพลัด ครั้งที่ 11 ในโครงการ "อาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน” เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารหลังได้ผลกระทบจากโควิด-19 โดยมี นางสาวปัญชพัฒน์ หลักดี ผู้อำนวยการเขตบางพลัด ร่วมด้วย  ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด กรุงเทพฯ


          "โครงการ อาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน” ที่ชาวซีพีเอฟจิตอาสานำรถ CPF Food Truck เคลื่อนที่ไปมอบความสุข ในทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ ในเขตบางกอกน้อย บางพลัด  ห้วยขวาง  บางขุนเทียน บางบอน และหนองแขม รวม 6 เขต นอกจากโครงการในกรุงเทพแล้ว ในอนาคตมีแผนขยายไปต่างจังหวัดเพิ่มเติม ส่วนในวันที่ 8 มิถุนายนนี้ บริษัทจะร่วมกับสมาคมตำรวจ และสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ มอบอาหารให้พี่น้องแท็กซี่ เพื่อช่วยเหลือสังคมต่อไป

       
          สำหรับอาหารกล่องพร้อมทาน มีให้เลือก 6 เมนู ได้แก่ ข้าวอกไก่ซอสจิ้มแจ่ว, ข้าวผัดไก่ย่างซอสเกาหลี, ข้าวไก่สไปซี่, ข้าวอกไก่ย่างซอสเกาหลี, ข้าวตับกระเทียม และข้าวไข่เจียว พร้อมทั้งไข่ต้มและน้ำดื่ม CP นอกจภากนี้ ยังร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ โอสถสภา นำเครื่องดื่ม และ Mc ยีนส์ นำหน้ากากผ้า มาร่วมมอบด้วย


          นอกจากนี้ ยังชื่นชมคนไทยที่ร่วมกันปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐบาลป้องกันตนเอง สวมใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์  พร้อมขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยดูแลเรื่องโควิดเป็นอย่างดี จึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันดูแลตนเอง การ์ดอย่าตก รักษามาตรฐานนี้ไว้เพื่อก้าวผ่านวิกฤตโควิดไปด้วยกัน

ซีพีเอฟ สนับสนุนครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย ช่วยคนไทยสู้ภัยโควิด-19



          ซีพีเอฟ สนับสนุนอาหารแก่ครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย เพื่อให้สภากาชาดไทยนำไปประกอบอาหารปรุงสุกใหม่แจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2563


          นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย รับมอบผลิตภัณฑ์อาหารซีพี ได้แก่ ไข่ไก่ 10,000 ฟอง และเนื้อไก่สด 500 กิโลกรัม จากนางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19" เพื่อสนับสนุนครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย นำใช้ปรุงอาหารพร้อมทานแจกจ่ายให้แก่ผู้เดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19 ณ ตึกอำนวยนรธรรม สภากาชาดไทย เพื่อแสดงถึงความห่วงใยและยืนหยัดเคียงข้างคนไทยก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน


          สำหรับครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย ดำเนินการมอบอาหารปรุงสุกแจกให้ผู้ที่เดือดร้อน ผ่านเหล่ากาชาดจังหวัดทั่วประเทศไปใน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร เชียงใหม่ ตาก อุบลราชธานี นครราชสีมา สมุทรปราการ สระแก้ว นนทบุรี และวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ




วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กยท. พร้อมเปิดตลาดกลางยางฯ จ.ระยอง ศูนย์กลางซื้อ - ขายภาคตะวันออก ย้ำ ระบบตลาดมีมาตรฐาน ยางคุณภาพดี ราคาเป็นธรรม


          กยท. เดินหน้าเปิด “ตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง” เป็นศูนย์กลางซื้อ – ขายยางภาคตะวันออก วางฐานรองรับการพัฒนายางภาคตะวันออกและขยายตัว EEC ย้ำระบบตลาดมีการกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คัดคุณภาพยางก่อนส่งมอบ มั่นใจราคายางเป็นธรรม


            นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เปิดเผยว่า กยท. ได้ดำเนินการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยองขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายยางพาราในภาคตะวันออก โดยเมื่อวันที่ 27 พ.ค. ได้จัดการประชุมเสวนาผู้ซื้อ – ผู้ขาย เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และระเบียบการซื้อขาย ของตลาดกลางแห่งนี้ ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง โดยมีนายปิยะ ปิตุเดชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นผู้ส่งมอบตลาดยางแห่งนี้ให้ กยท. เข้ามาดูแลดำเนินงานรับผิดชอบในรูปแบบตลาดกลางยางพาราต่อไป


            นายณกรณ์ กล่าวว่า ภาคตะวันออกมีพื้นที่ปลูกเป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีการปลูกยางพารากระจายอยู่แทบทุกจังหวัด ประกอบด้วย ระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี และฉะเชิงเทรา  มีพื้นที่สวนยางที่กรีดได้ประมาณ 2.5 ล้านไร่  ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6.5 แสนตันต่อปี จังหวัดระยองถือเป็นจุดภูมิศาสตร์ที่มีความเข้มแข็ง เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงยางไปยังผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งมีอยู่มากในบริเวณปริมณฑลและภาคตะวันออก ซึ่งมีเขตนิคมอุตสาหกรรม สามารถช่วยพัฒนาด้านการตลาดยางพารารองรับการขยายตัวตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล ดังนั้น การจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญเพื่อเป็นศูนย์กลางซื้อขายยางพาราภาคตะวันออก สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ยางพาราชาติ ยกระดับราคายางให้มีเสถียรภาพ


            ตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยองเปิดให้บริการทุกวันทำการ มีการให้บริการ 2 รูปแบบ คือ ให้บริการ ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง อ.วังจันทร์ แต่เกษตรกรที่อยู่ไกลจากตลาด สามารถสมัครเป็นตลาดเครือข่ายตลาดกลางได้ ในปี 2563 ยางที่ซื้อขายผ่านตลาดกลางฯ ได้แก่ ยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน ส่วนปี 2564 จะเริ่มเปิดให้บริการตลาดกลางน้ำยางสดและยางก้อนถ้วย เพื่อให้ครอบคลุมผลผลิตของเกษตรกร และสอดคล้องกับความต้องการตลาด คาดว่าจะมีปริมาณยางผ่านตลาดแห่งนี้ประมาณ 12,000 ตันต่อปี


“จุดเด่นของตลาดกลางฯ คือสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย น้ำหนักยางที่เที่ยงตรง มีการกำหนดมาตรฐานยางที่ชัดเจน มีการคัดคุณภาพยางก่อนส่งมอบ  เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และให้ซื้อขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม”


CPF Food Truck มอบอาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน


          วิกฤตโควิด19 ทำให้ได้เห็นถึงน้ำใจมากมายจากหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือนร้อน ล่าสุดกับโครงการ “อาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน” เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ นำรถ Food Truck แจกอาหาร ให้ชาวชุมชนต่างๆ ใน 6 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตบางกอกน้อย บางพลัด บางขุนเทียน บางบอน ห้วยขวาง และหนองแขม

          รถ CPF Food Truck คันนี้ เดิมทีได้นำไปออกบูธโชว์สินค้าตามงานต่างๆ แต่หลังเกิดวิกฤตโควิด19 ซีพีเอฟนำรถคันดังกล่าวมาดัดแปลงใช้ประโยชน์  เพื่อมาอำนวยความสะดวกในการอุ่นอาหารร้อนๆ สำหรับแจกให้กับประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่มารับอาหาร ให้สามารถนำไปรับประทานได้ทันที จากการให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารปลอดภัย และอยากให้ทุกคนได้รับอาหารที่ดี มีประโยชน์ และถูกสุขอนามัย

          ภายใน CPF Food Truck ประกอบด้วย ตู้อุ่นร้อนขนาดใหญ่ที่สามารถอุ่นอาหารได้ครั้งละประมาณ  80-100 แพ็ค จุดเด่นที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่าง คือ ความกะทัดรัดของรถคันนี้ทำให้เข้าถึงชุมชนได้ง่าย และสีแดงที่โดดเด่นสะดุดตา กลายเป็นสัญลักษณ์ของรถคันนี้

          ด้านความสะอาด พนักงานอุ่นอาหารจะต้องสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือ เพื่อให้ผู้ที่มารับอาหารมั่นใจได้ว่าอาหารทุกกล่องสะอาดปลอดภัย ในขณะที่พนักงานจิตอาสาจะต้องสวมหน้ากากอนามัย Face Shild และถุงมือทุกคน นอกจากนี้ ยังมีเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ด้วย

          การมอบอาหารปลอดภัย โดย CPF Food Truck แก่ทุกชุมชนที่ผ่านมา ได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั่วไปตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ สำหรับการมอบอาหารจัดขึ้นทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ โดยจะสัญจรไปตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Hylife บริษัทร่วมทุนโดย CPF ขยายธุรกิจสุกรในทวีปอเมริกาเหนือ


          Hylife จัดตั้งอยู่ที่ประเทศแคนาดา เป็นบริษัทร่วมทุนของซีพีเอฟ และ ITOCHU Corporation ประกาศการลงทุนธุรกิจสุกร เสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจสุกรในอเมริกาเหนือ โดยได้เข้าซื้อทรัพย์สินของกลุ่มบริษัท ProVista “ProVista” ในประเทศแคนาดาและเข้าลงทุน 75% ในหุ้นของ Prime Pork, LLC “Prime Pork” ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ProVista เป็นหนึ่งในผู้ดำเนินกิจการฟาร์มสุกรแบบอิสระรายใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในเมืองเมนิโทบา การลงทุนครั้งนี้จะได้มาซึ่งแม่พันธุ์สุกร 37,000 ตัว โดย ProVista มีกำลังการผลิตสุกรประมาณ 1 ล้านตัวต่อปี

Prime Pork เป็นผู้ผลิต แปรรูปสุกร และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสุกรในรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตในการแปรรูปสุกรประมาณ 1.2 ล้านตัวต่อปี ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตในการแปรรูปสุกรให้แก่ HyLife เป็นประมาณ 3.2 ล้านตัวต่อปี

นาย Grant Lazaruk ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HyLife กล่าวว่า HyLife มีความยินดีที่จะได้ร่วมงานกับ ProVista และ Prime Pork การซื้อ ProVista จะช่วยให้ HyLife มีความมั่นคงในการจัดหาสุกรภายใต้โครงสร้างปัจจุบัน และ การซื้อ Prime Pork จะขยายฐานการผลิตของ HyLife ไปยังสหรัฐอเมริกา โรงงานทั้งในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานของ HyLife และความหลากหลายในการดำเนินงานเพื่อให้บริการลูกค้าทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เนื่องจากที่ตั้งของฟาร์ม ProVista ตั้งอยู่ใกล้กับฟาร์มของ HyLife ซึ่งความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์นั้นทำให้ทั้ง 2 บริษัทมีค่านิยมในการทำงานที่คล้ายคลึงกันซึ่งจะทำให้การทำงานของทั้งสองบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ในเรื่องของพนักงาน HyLife ยินดีที่จะได้ร่วมงานกับพนักงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสุกรจากทั้ง 2 บริษัท โดย HyLife ให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานและชุมชนเป็นอย่างมากและมีความตั้งใจที่จะคงทำกิจกรรมที่ Prime Pork และ ProVista ทำให้กับชุมชนและพื้นที่โดยรอบต่อไป

สทน. แนะประยุกต์ใช้หลักป้องกันอันตรายจากรังสีป้องกันโควิด-19


          รศ. ดร. ธวัชชัย  อ่อนจันทร์  ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  หรือ สทน. เปิดเผยว่า แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ประกาศผ่อนคลายให้กิจการบางประเภทเปิดดำเนินการได้ในระยะที่ 2 ไปเรียบร้อยแล้ว  แต่สำหรับมาตรการป้องกันโควิด-19 ก็คงจะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป  เราจะต้องไม่ประมาท และการ์ดอย่าตก  สทน. จึงอยากชักชวนให้ประชาชนนำหลักในการป้องกันอันตรายจากรังสีมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันโควิด - 19  เพราะเป็นหลักการที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้  รังสีที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดรังสี เราไม่สามารถมองเห็นรูปลักษณ์ของมันได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจวัดได้จากเครื่องวัดรังสี เช่นเดียวกับโคโรน่าไวรัสที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ เราไม่สามารถเห็นมันได้  ซ้ำร้ายกว่านั้นเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าจุดไหนบ้างที่ไวรัสแพร่กระจายอยู่ จะว่าไปตอนนี้ไวรัสโคโรน่าซึ่งเป็นต้นตอของโควิด-19 น่าจะอันตรายกว่ารังสีแล้ว สำหรับมาตรการในการป้องกันอันตรายจากรังสีจะใช้หลักสามประการที่เรียกกันว่า ALARA (ตามหลักของ ALARA : As Low As Reasonably Achievable ) ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสียึดถือปฏิบัติเพื่อป้องกันรังสี หรือลดปริมาณการได้รับรังสีจากภายนอกให้เหลือน้อยที่สุด


          สำหรับหลัก 3 ประการนั้น ได้แก่

          1) เวลา (Time) การปฏิบัติงานทางด้านรังสีต้องใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายได้รับรังสีเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับบุคคล   เช่นเดียวกัน เพื่อให้โอกาสได้รับเชื้อไวรัสลที่สุดหรือไม่ได้รับเลย ในกรณีที่ต้องไปอยู่ในที่ชุมชน ควรรีบปฏิบัติภารกิจอย่างรวดเร็ว ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป


           2) ระยะทาง (Distance) ความเข้มของรังสีจะเปลี่ยนแปลงลดลงไปตามระยะทางจากสารต้นกำเนิดรังสี  เช่นเดียวกัน เพื่อให้โอกาสรับเชื้อไวรัสลดลง เราต้องยึดหลัก Social Distancing ในพื้นที่สาธารณะควรอยู่ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อได้ 


          3) เครื่องกำบัง (Shield) ความเข้มของรังสีเมื่อผ่านเครื่องกำบังจะลดลง แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังงานของรังสี คุณสมบัติ ความหนาแน่น และความหนาของวัตถุที่ใช้  เช่นเดียวกัน การใส่หน้ากากอนามัย และ Face Shield ทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้านหรือไปปฏิบัติภารกิจในที่สาธารณะ เครื่องกำบังเหล่านี้ก็สามารถป้องกันการรับเชื้อไวรัสได้เช่นกัน


          รศ. ดร. ธวัชชัย กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากรังสี จึงเป็นแนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน  ดังนั้น หลักสามประการของ ALARA  จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหลักในการป้องกันการรับเชื้อโคโรน่าไวรัสได้เช่นเดียวกัน ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด มีสุขภาพแข็งแรงกันทุกคน แล้วเราจะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ซีพีเอฟ และกระทรวงเกษตรฯ ส่ง Food Truck มอบอาหารปลอดภัย สู่ชุมชนเขตบางกอกน้อย ร่วมสู้ภัยโควิด-19


            บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดกิจกรรม Food Truck โครงการ “อาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน” ครั้งที่ 5 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมี พรรณินี นันทพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ เป็นตัวแทนบริษัทฯ ร่วมกับ ชนินทร์ รุ่งแสง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพนักงานจิตอาสาซีพีเอฟ ช่วยกันส่งมอบอาหารอุ่นร้อนพร้อมทาน จากรถ Food Truck ของ CP Freshmart ให้แก่ชาวชุมชนรอบวัดรวกสุทธาราม ตลาดนครหลวง และวัดบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย


          สำหรับอาหารกล่องพร้อมทาน คุณภาพปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งตรงจากโรงงานผลิตตามมาตรฐานส่งออก มีให้เลือก 6 เมนู ได้แก่ ข้าวอกไก่ซอสจิ้มแจ่ว ข้าวผัดไก่ย่างซอสเกาหลี ข้าวไก่สไปซี่ ข้าวอกไก่ย่างซอสเกาหลี ข้าวตับกระเทียม และข้าวไข่เจียว พร้อมทั้งไข่ต้มและน้ำดื่ม CP พร้อมทั้งข้าวเหนียวไก่ทอด นอกจากนี้ยังร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ โอสถสภา นำเครื่องดื่ม และ Mc ยีนส์ นำหน้ากากผ้า มาร่วมมอบด้วย


           โครงการดังกล่าว เริ่มมอบอาหารที่ชุมชนในเขตบางกอกน้อยเป็นที่แรก และจะขยายความช่วยเหลือไปยังเขตบางพลัด บางขุนเทียน บางบอน และหนองแขม ต่อไปอย่างต่อเนื่อง


วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กยท. ปล่อยสินเชื่อปลอดดอก หนุนกลุ่มหมอนยางสู้ COVID-19


          การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ปล่อยสินเชื่อปลอดดอกฝากหมอนยางพารา ช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วิสาหกิจชุมชนที่ผลิตหมอนยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19


           นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019  (COVID-19) ส่งผลให้ภาคการผลิต การตลาด และการส่งออกหยุดชะงักไป รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตหมอนยางพารา ซึ่งได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นลูกค้ารายสำคัญชะลอการท่องเที่ยวในประเทศไทยและการสั่งซื้อหมอนยางพารา จึงจัดทำโครงการพัฒนาความร่วมมือการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมยางพารา (สินเชื่อฝากหมอนยางพารา) ให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตหมอนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ขยายกำลังการผลิต และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้ยางภายในประเทศ โดยการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายยางให้มากขึ้น ซึ่ง กยท. จะปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย ให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหรือวิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับการอนุมัติวงเงินตามปริมาณสต๊อกหมอนยางที่มี โดยใช้เกณฑ์คุณภาพหมอนยางพารามาทำการประเมินราคากำหนดวงเงินสินเชื่อแบ่งเป็นเกรด A วงเงินสูงสุด 80% เกรด B วงเงินสูงสุด 70% และ เกรด C วงเงินสูงสุด 50% ของมูลค่าหมอนยางตามที่ กยท.กำหนด ซึ่งจะมีคณะกรรมการเข้าตรวจสอบสินค้าตามเกณฑ์การประเมินของโครงการ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีสต๊อกหมอนยางพาราเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการประเมินสินเชื่อ และค้ำประกัน อีกทั้งต้องมีสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ และเมื่อผู้เข้าร่วมโครงการจำหน่ายหมอนยางพาราได้ หรือมีความพร้อมในการคืนเงิน สามารถชำระเงินคืนให้กับ กยท. ได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2563 ภายใต้งบประมาณตลอดโครงการ 11,312,000 บาท


          สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหรือวิสาหกิจชุมชนใดที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ณ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยสาขาใกล้บ้านท่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-433-2222 ต่อ 206,245

สรุปภาวะสินค้าเกษตร ประจำสัปดาห์ วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2563


ข้าวโพด : ราคาทรงตัว
        ราคาซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ในสัปดาห์นี้ ทรงตัวที่หาบละ 531 บาท เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เข้าสู่ตลาดมีเพียงพอกับการใช้
        ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 319.50 เซนต์/บุชเชล คาดการณ์สภาพอากาศสัปดาห์นี้ มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมากในพื้นที่ทางตอนกลางของเขตมิดเวสต์สหรัฐฯ ด้านสำนักสถิติการเกษตรของสหรัฐฯ (NASS) รายงานการเพาะปลูกข้าวโพดที่ดำเนินการไปแล้ว 80% มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ 44% และค่าเฉลี่ยห้าปีที่ 71% ในส่วนของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) รายงานตัวเลขการผลิตเอทานอล เพิ่มขึ้นจาก 617 บาร์เรล/วัน เป็น 663 บาร์เรล/วัน รวมทั้งคาดการณ์อุปสงค์เพิ่มขึ้นจากการคลี่คลายมาตรการล็อกดาวน์ แนวโน้มราคาน่าจะทรงตัว
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว

ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว
        กากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 13.95 บาท โดยขณะนี้ปริมาณผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบราซิลมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อผลผลิต (Supply) ที่จะส่งมาจากทางอเมริกาใต้ ทำให้มีปัญหาล่าช้า แต่ความต้องการซื้อในตลาดโลกยังทรงตัว
        ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เมล็ดถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 846.50 เซนต์/
บุชเชล และ กากถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 285.50 เหรียญสหรัฐฯ/ช็อตตัน รายงานการเพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐฯ โดยสำนักสถิติการเกษตร (NASS) อยู่ที่ 53% มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ 44% และค่าเฉลี่ยห้าปีที่ 71% ส่วนยอดส่งออกถั่วเหลืองจากประเทศบราซิลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบราซิลเรียลต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD:BRL) ขณะนี้ตลาดจับตามองยอดการสั่งซื้อถั่วเหลืองจากประเทศจีน และการเจรจาระหว่างตัวแทนสองประเทศ ราคามีแนวโน้มแข็งตัวขึ้น
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาถั่วเหลืองนำเข้าน่าจะทรงตัว

ปลาป่น : ราคาทรงตัว
        จากการที่เปรูมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อส่งผลให้การจับปลาจริงที่เกิดขึ้นหลังจากประกาศโควต้าต่ำกว่าที่คาดการณ์ค่อนข้างมาก จึงต้องติดตามว่าการจับปลาจริงที่เกิดขึ้นจะทำได้มากน้อยเพียงใดโดยราคาปลาป่นในสัปดาห์นี้ยืนราคาทุกเบอร์ ปลาป่นเกรดกุ้ง ราคากิโลกรัมละ 42.00 บาท ปลาป่นเบอร์ 1 เกรดที่สูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 38.20 บาท และปลาป่นเกรดที่ต่ำกว่า 60 โปรตีน ราคากิโลกรัมละ 35.70 บาท ด้านปลาป่นคุณภาพรองลงมา ปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 35.20 บาท ส่วนปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 56 แต่ไม่เกิน 60 ราคากิโลกรัมละ 32.70 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาปลาป่นน่าจะทรงตัว

ข้าว : ราคาทรงตัว
        ตลาดซื้อขายข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศทรงตัว โดย ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ส่งออกท่าเรือกรุงเทพฯ เอฟ.โอ.บี. ราคาตันละ 517 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ส่งออก เอฟ.โอ.บี. ราคาตันละ 437 เหรียญสหรัฐฯ
        ด้านตลาดซื้อขายข้าวในประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ราคากระสอบละ 1,500 บาท ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ณ โรงงานอาหารสัตว์ ราคากระสอบละ 1,250 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวน่าจะทรงตัว

สุกร : ราคาทรงตัว
        ราคาประกาศสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม จากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในสัปดาห์นี้ ทรงตัวที่กิโลกรัมละ 66-74 บาท ปัจจัยบวกมาจากการประกาศมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 2 ทั่วประเทศ ทำให้การบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้นทุกพื้นที่
        ส่วนลูกสุกรน้ำหนัก 16 กิโลกรัมต่อตัว ราคาอยู่ที่ 2,100 บาท (บวก/ลบ 66)
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาสุกรทิศทางน่าจะเพิ่มขึ้น

ไก่เนื้อ : ราคาเพิ่มขึ้น
        ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม ตามประกาศสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ปรับขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 31 บาท เป็นกิโลกรัมละ 32 บาท เนื่องจากการบริโภคเนื้อไก่ปรับตัวดีขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรการของรัฐบาล
        ด้านลูกไก่เนื้อราคาตัวละ 8.50 บาท และลูกไก่ไข่ราคาตัวละ 26.00 บาท
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาไก่เนื้อน่าจะทรงตัว

ไข่ไก่ : ราคาทรงตัว
        ราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ราคาทรงตัวที่ฟองละ 2.40 บาท โดยขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ มีต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น เนื่องมาจากภาวะแล้ง และสภาพอากาศร้อน ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและบางพื้นที่เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำเพื่อใช้ภายในฟาร์ม
        แนวโน้ม : คาดว่าราคาไข่ไก่น่าจะทรงตัว

CPF Food Truck มอบอาหารปลอดภัยจากใจ สู่ชุมชน


          ช่วงโควิด-19 เราได้เห็นถึงน้ำใจมากมายจากหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือนร้อน ทั้งมอบอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล และอาหาร การมอบอาหารมีให้เห็นหลายรูปแบบทั้งเดินแจกตามบ้าน ตั้งเป็นเต๊นท์ตามชุมชน รวมถึงแพ็คใส่กล่อง


          ล่าสุดกับโครงการ “อาหารปลอดภัย จากใจ...สู่ชุมชน” เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ นำรถ Food Truck ซีพี เฟรชมาร์ท แจกอาหารให้ชาวชุมชนต่างๆ ใน 6 เขตของกรุงเทพฯ ได้แก่ เขตบางกอกน้อย บางพลัด บางขุนเทียน บางบอน ห้วยขวาง และหนองแขม

          รถ CPF Food Truck คันนี้ เดิมทีได้นำไปออกบูธโชว์สินค้าตามงานต่างๆ แต่หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ซีพีเอฟนำรถคันดังกล่าวมาดัดแปลงใช้ประโยชน์อีกครั้ง โดยนำมาทาสี ตกแต่งให้เข้ากับการใช้งานใหม่ เพื่อนำมาอำนวยความสะดวกในการอุ่นอาหาร สำหรับแจกให้กับประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่มารับอาหารสามารถนำไปรับประทานได้ทันที ทั้งนี้ซีพีเอฟยังให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารปลอดภัย อยากให้ทุกคนได้รับอาหารที่ดี มีประโยชน์ และถูกสุขอนามัย



          ภายใน CPF Food Truck ประกอบด้วย ตู้อุ่นร้อนขนาดใหญ่ที่สามารถอุ่นอาหารได้ครั้งละประมาณ 80-100 แพ็ค จุดเด่นที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่าง คือ ความกะทัดรัดของรถคันนี้ทำให้เข้าถึงชุมชนได้ง่าย และสีแดงที่โดดเด่นสะดุดตา กลายเป็นสัญลักษณ์ของรถคันนี้

          ด้านความสะอาด พนักงานอุ่นอาหารจะต้องสวมหน้ากากอนามัย และถุงมือ เพื่อให้ผู้ที่มารับอาหารมั่นใจได้ว่าอาหารทุกกล่องสะอาดปลอดภัย ในขณะที่พนักงานจิตอาสาจะต้องสวมหน้ากากอนามัย Face Shild และถุงมือทุกคน นอกจากนี้ยังมีเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ด้วย

           การมอบอาหารปลอดภัย โดย CPF Food Truck ให้กับชุมชนครั้งนี้ ได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั่วไปตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ บรรยากาศคึกคักมีประชาชนทยอยมาต่อแถวเพื่อรับอาหารอย่างต่อเนื่อง แม้อากาศจะร้อนเพียงใด แต่ทุกคนยังมีรอยยิ้มให้แก่กัน สำหรับการมอบอาหารจัดขึ้นทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ โดยจะสัญจรไปตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม(สัปดาห์ที่ 21/63) วันพระที่ 21 พฤษภาคม 2563


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินต้นทุนการผลิตสุกร ไตรมาส 4 ปี 2562

- กรณีซื้อลูกสุกรเข้าขุน เฉลี่ยที่ 66.53 บาทต่อกิโลกรัม (ไตรมาส 3/2562 เฉลี่ยที่ 68.55 บาทต่อกิโลกรัม)
- กรณีผลิตลูกสุกรเอง เฉลี่ยที่ 64.32 บาทต่อกิโลกรัม (ไตรมาส 3/2562 64.47บาทต่อกิโลกรัม

การผ่อนคลายการล็อคดาวน์การป้องกัน COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในเฟสต่อมาของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อเนื่อง

ราคาสุกรขุนที่สูงในเวียดนามและกัมพูชา ส่งผลให้ราคาส่งออกสุกรขุนมีชีวิต และราคาสุกรขุนในประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าต้นทุนต่อ ในระดับที่มีการดูแลเพื่อไม่ให้กระทบค่าครองชีพผู้บริโภคภายในประเทศ

ภาคตะวันตก 66-67
ภาคตะวันออก 73
ภาคอีสาน 74
ภาคเหนือ 73
ภาคใต้ 74

ลูกสุกรขุนน้ำหนัก 16 กิโลกรัมวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563: 2,100 บวก/ลบ 66

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กรมประมง...เปิดศูนย์รับอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด19 527 อำเภอ / 77 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ – 5 มิถุนายน 2563


          ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา (COVID19) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายเป็นเกษตรกรไม่เกิน 10 ล้านราย ครอบคลุมทั้งภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง โดยจ่ายเงินช่วยเหลือ รายละ 5,000 บาท/เดือน รวมระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 วงเงินไม่เกิน 15,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายกลุ่มแรก คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้วกับกรมส่งเสริมการเกษตร  กรมปศุสัตว์ และกรมประมง จำนวน 8.43 ล้านราย และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มของเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียน 1.57 ล้านราย นั้น
          นายมีศักดิ์  ภักดีคง  อธิบดีกรมประมง  เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลภาคการเกษตร จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่
1. สำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัด  2.สำนักงานประมงอำเภอและจังหวัด    3.สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัด  4.สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน
5.เขตบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย 1-8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 – 4   
6.สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
7.การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดหรือสาขาใกล้บ้าน และ
8. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด บูรณาการร่วมกันเปิดให้บริการรับ “อุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร” ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด19 ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้วแต่ยังประสบปัญหาไม่ได้รับเงินเยียวยาจากสาเหตุต่างๆ


         กรมประมง จึงได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์รับอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด19 ในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมประมง ประกอบด้วย สำนักงานประมงอำเภอ 527 แห่ง และสำนักงานประมงจังหวัด 77 จังหวัด เปิดศูนย์ฯ เพื่อรับเรื่องอุทธรณ์เงินเยียวยาฯ  ให้กับเกษตรกรทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ที่มีปัญหาดังกล่าวข้างต้นตามนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ โดยเกษตรกรสามารถเดินทางไปเขียนคำร้องได้ด้วยตนเองที่หน่วยงานทั้ง 8 หน่วยงาน ตั้งแต่บัดนี้ ไปจนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ในเวลาราชการ ไม่เว้นวันหยุดราชการ
         อย่างไรก็ตาม ก่อนเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ขอให้เกษตรกรทุกท่านเข้าไปตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาฯ ที่เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.moac.go.th/ เพื่อจะได้ทราบว่าสิทธิ์การเยียวยาของตนเองอยู่ในขั้นตอนใด หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานประมงอำเภอ หรือ โทร. 0 2104 9444 (40 คู่สาย) อธิบดีกรมประมง กล่าว

ก้าวสู่ความหวังอีกขั้น วช.เตรียมทดลองวัคซีน โควิด-19 ในลิง หากสำเร็จนำทดลองต่อในคน


          หลังจากประเทศไทยได้ทดลองวัคซีน โควิด-19 ในหนูได้ผล วช.เตรียมทดลองต่อในลิง หากสำเร็จก็จะทดลองต่อกับคนต่อไป

          ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เผยว่า เนื่องจากวัคซีนเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19เป็นเชื้อใหม่ที่คนทั่วโลกยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันไม่ให้การติดเชื้อ มีอยู่วิธีเดียวคือต้องมีวัคซีนขึ้นมา ดังนั้นทั่วโลกจึงต้องเร่งพัฒนาให้ได้วัคซีน ปกติถ้ามีโรคใหม่เข้ามาจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี จึงจะมีวัคซีนได้ แต่ในกรณีของโควิด-19 เราไม่สามารถรอถึง 10 ปีได้ เราจำเป็นต้องเร่งกระบวนการทั้งหมดเข้ามา ดังนั้น การมีส่วนร่วมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพื่อที่จะทำให้มีวัคซีนขึ้นได้ ซึ่งเป้าหมายหลักของประเทศตามนโยบายที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายไว้ว่าประเทศไทยต้องมีวัคซีนอย่างรวดเร็ว และให้ประชากรของไทยได้รับวัคซีนระดับต้นๆของโลก เราจึงวาง 3 แนวทางที่จะทำงานควบคู่กันไป 1.สนับสนุนวัคซีนในประเทศให้พัฒนาขึ้น 2.ร่วมมือกับนานาประเทศในการวิจัย 3.เตรียมพร้อมรับในกรณีที่ประเทศอื่นๆมีวัคซีนที่ดี เราก็ต้องสามารถนำมาใช้ได้ ดังนั้นวช.ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรม ด้านการแพทย์ การวิจัย และพัฒนา ของประเทศ เราทำหน้าที่ในการเจรจาความร่วมมือและต่อยอด ร่วมทำวิจัยกับประเทศต่างๆซึ่งตอนนี้ก็ทำกับสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน พร้อมทั้งพัฒนาวัคซีนในประเทศไปด้วย ทั้ง 3 แนวทางหากแนวทางใดแนวทางหนึ่งประสบความสำเร็จก่อน เราก็จะไปใช้แนวทางนั้น โดยเน้นวัตถุประสงค์หลักคือให้ประชาชนคนไทยมีวัคซีนใช้โดยเร็ว
          สำหรับประเทศไทย วช.ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ร่วมกันสนับสนุนวัคซีน 5 ชนิด ซึ่งวัคซีนในโลกนี้มีประมาฯ 150-200 แบบ วัคซีนแต่ละชนิดใช้รูปแบบและวิธีการแตกต่างกัน สำหรับ 5 วิธีที่ไทยใช้อยู่มีตั้งแต่การใช้เชื้อตัวตาย การใช้บางส่วน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เลย เช่น DNAวัคซีน และ mRNAวัคซีน ขณะนี้มีความก้าวหน้าที่ทำได้รวดเร็ว 2 เทคโนโลยี คือ1. DNAวัคซีน มีการประเมินเบื้องต้นในหนู ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ 2. mRNAวัคซีน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากๆ ข้อดีคือสามารถใช้ได้ในคนจำนวนมากๆ และใช้ปริมาณไม่มาก ขณะนี้ผลของ mRNAวัคซีน ที่ดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลเบื้องต้นสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูได้ โดยการเจาะเลือดไปทดลองว่าสามารถยับยั้งเชื้อได้ โดยมีปริมาณสารยับยั้ง 1 ต่อ 3,000 แปลว่า เมื่อเจือจางไปแล้ว 3,000 เท่า ก็ยังสามารถมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อได้ ผลเป็นที่น่าพอใจ ขั้นต่อไปจะนำไปทดลอบในสัตว์ใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ คือลิง โดยฉีด mRNAวัคซีนเข้าไปในลิง ดูว่าลิงจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้และทดสอบว่าหากลิงติดเชื้อจะสามารถป้องกันเชื้อได้หรือไม่ โดยการทดสอบในลิงจะใช้งบประมาณวงเงิน 60 ล้านบาท ใช้เวลาในการทดลอง 3-6 เดือน ถ้าการทดสอบในลิงสำเร็จขั้นต่อไปก็จะทดสอบในคน ซึ่งการทดสอบในคนจะแบ่งเป็น3 ระยะ ระยะที่1.ระยะฉีดในจำนวนคนที่ไม่มากแล้วดูว่าฉีดเข้าไปแล้วปลอดภัยหรือเปล่า ระยะที่2. คือสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และหากผลออกมาดีก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3.คือการประเมินผล  และในวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2563 นี้ วช.ร่วมกับเครือข่ายจะดำเนินการเอาวัคซีน mRNAไปทดสอบในลิงที่เราเตรียมพร้อมทดสอบในศูนย์วิจัยไพเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี  ซึ่งการดำเนินงานต่างๆเหล่านี้ด้วยความสำคัญเร่งด่วนของโควิด-19 ทำให้เราสามารถทดสอบวัคซีน ในหลายๆรูปแบบไปพร้อมๆกันหากผลทดสอบออกมาดีเราได้เจรจาบริษัทผลิตวัคซีนต้นแบบซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยไว้เรียบร้อยแล้ว บริษัทและหน่วยงานผลิตวัคซีนของไทยก็จะสามารถผลิตวัคซีนได้ทันที หากสามารถผลิตวัคซีนของเราได้ก็จะถือว่าเป็นความมั่นคงด้านสุขภาพ ด้านสาธารณะสุขของประเทศ ผอ.วช.กล่าว

ชาวสวนยางมั่นใจ ตรวจสอบสิทธิ์ผ่าน รับเงินเยียวยาฯ "ชัวร์"


          นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เผยรอบการจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า การจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยาง จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 

กลุ่มแรก ซึ่งขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และมีชื่อในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63)  โดย ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินแล้วตั้งแต่วันที่ 15, 18 – 20 พ.ค. 63 ชาวสวนยาง

กลุ่มที่ 2 เฉพาะกลุ่มที่มีชื่อขึ้นทะเบียนกับ กยท. (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63) จะจ่ายเงินในวันที่ 22-25 พ.ค.63 และชาวสวนยาง

กลุ่มที่ 3 ซึ่งแจ้งปรับปรุงข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับ กยท. ระหว่าง 1-15 พ.ค.ที่ผ่านมา จะจ่ายเงินในช่วงวันที่ 30 - 31 พ.ค. 63  แต่จากนั้นหากยังไม่ได้รับสิทธิ์ฯ สามารถแจ้งขออุทธรณ์การเยียวยาได้


          “เกษตรกรชาวสวนยางตรวจสอบสิทธิ์การเยียวยาฯ ครบจบในเว็บเดียว ได้ทางเว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.moac.go.th/ หรือเช็คตรง ที่ http://savefarmer.oae.go.th โดยเมื่อตรวจสอบสถานะแล้วได้รับสิทธิ์ สามารถตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีได้จากเว็บไซต์ของ ธ.ก.ส. www.เยีhttp://xn-12ca3d6baib0au2g8g.com/ กรณีไม่มีบัญชีของ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารอื่นเพื่อรับเงินโอน ในเว็บไซต์ของ ธ.ก.ส .นี้เช่นกัน”

          นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยา สามารถแจ้งขออุทธรณ์การเยียวยาได้ภายในวันที่ 5 มิ.ย.63 กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนในส่วนกลางหรือภูมิภาคใกล้บ้าน ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กยท. จังหวัด/สาขา เกษตรจังหวัด/อำเภอ ประมงจังหวัด/อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอ ศูนย์หม่อนไหมภูมิภาค และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ในเวลาราชการ 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ  ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสารมารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ให้คำปรึกษาและตอบข้อซักถาม Call Center 1170

ซันสวีท สร้างพลังใจให้ชุมชน เติมข้าวโพดหวาน KC ใส่ตู้



          นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม โดยปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ต้องเผชิญกับความยากลำบากจำนวนมาก จึงร่วมกับหน่วยงานและองค์กรพันธมิตรต่าง ๆ ส่งมอบอาหารปลอดภัย ยังชุมชนรอบบริษัทฯ และสังคมโดยรวม เพื่อร่วมแบ่งปันบรรเทาความเดือดร้อนผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19


          อีกทั้งทางบริษัทได้รับ ความร่วมมือจาก เพื่อนพนักงาน และ ครอบครัวอาจาร์ยโสภณ มงคลวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อม ของบริษัทฯ มีจิตอาสาประสงค์ร่วมบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค (ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ตรา KC)จำนวน 250 กระป๋อง ส่งมอบ ให้กับ นายแพทย์วัฒนา นาวาเจริญ ในโครงการ “เชียงใหม่ไม่ทิ้งกัน” เพื่อแจกอาหารยังชีพให้ผู้ที่ประสบความเดือดร้อน คนตกงาน ขาดรายได้ ณ โรงแรมแอ่วนิมมาน ซอย 17 จ.เชียงใหม่


          บริษัทฯ ได้เดินหน้าตามนโยบายเพื่อสังคม (CSR) ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกันและกัน โดยส่งมอบข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ตรา KC  กับโครงการ “ตู้เติมสุข” ซึ่งมีหน่วยงานและผู้ใจบุญหลายแห่งร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อเชื่อมโยงความสุขและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในยามลำบาก แบ่งปันให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน ได้รับผลกระทบจาก
COVID-19  จำนวน 5 จุด ได้แก่


จุดที่ 1 “ตู้เติมใจให้กัน” สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (สนภ.3 นทพ) ในพื้นที่อำเภอดอยหล่อ

จุดที่ 2 “ตู้เติมสุข” สำนักงานทนายความตรงข้ามโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่

จุดที่ 3 “ตู้เติมสุข” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหนองผึ้ง อำเภอเมืองเชียงใหม่

จุดที่ 4 “ตู้เติมสุข” สวนสาธารณะสมโภช 700 ปี อำเภอเมืองเชียงใหม่

จุดที่ 5 “ตู้หยิบสุข” หอพัก 40 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่


          ซันสวีท ขอเป็นกำลังใจให้ทุกส่วนงานที่ทุ่มเทกำลังความสามารถ และเสียสละในการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยหวังว่าการส่งมอบอาหารปลอดภัยในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างกำลังกาย กำลังใจ ให้ทุกภาคส่วนสามารถก้าวผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปด้วยกัน



CPF มอบไข่ไก่ ศอ.บต.3 จังหวัดชายแดนใต้ สู้ภัยโควิด

     
          นายสุรพล ประมงค์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และ นายจรัส อัศวชาญชัยสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกันมอบไข่ไก่ 4,000 ฟอง ให้แก่  ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ณ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา



รักปลาคาร์พ ห้ามพลาด! ไทยเจ้าภาพงานใหญ่สุดในเอเชีย คาดตลาดปลากลับมาคึกคักพร้อมเงินสะพัด

   กรมประมง รวมพลังสมาคมผู้เลี้ยงปลาคาร์พทีเคเคจี จัดงานเอเชีย คัพ โค่ย โชว์ ครั้งที่ 14 (14th Asia Cup Koi Show) งานประกวดปลาคาร์พระดับเอเช...