แถลงการณ์ฝ่ายการตลาดเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย
สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของอุตสาหกรรมกุ้งไทย
และแนวทางเร่งด่วนที่ใคร่ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
1. ปัญหาและสาเหตุ
1.1 เกิดภาวะตื่นตระหนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่อการระบาดของโรค ไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยที่มีการ
ขยายวงกว้างอย่างมาก เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีผลกระทบต่อการจับ การขนส่ง และการจ าหน่ายหรือไม่
อย่างไร
1.2 มีผลให้เกิดการจับกุ้งปริมาณมากออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ
1.3 เป็นผลต่อเนื่องให้มีวัตถุดิบเกินก าลังการผลิตและก าลังซื้อของผู้แปรรูปและผู้บริโภค
1.4 ร่วมกับปริมาณการส่งออกกุ้งเป็นไปยังประเทศคู่ค้าหลักลดลงในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลัก
ประสบปัญหาการระบาดของ ไวรัส โควิด 19
1.5 และช่องทางการจ าหน่ายผ่านพรมแดนไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ปิดลงเนื่องจากการปิดประเทศสกัดกั้น
การระบาดของไวรัส โควิด 19
1.6 เป็นผลให้เกิดสภาวะราคากุ้งตกต่ าอย่างรวดเร็ว จากวันที่ 18 มีนาคม กุ้งไซส์ 100 ต่อกิโลกรัม ราคา 115
บาท และ ไซส์ 60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 150 บาท มาเป็น วันที่ 25 มีนาคม กุ้งไซส์ 100 ตัว ต่อกิโลกรัม
ราคาเหลือ 95 บาท (-20บาท) และไซส์60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเหลือ 125 บาท (-25บาท)
1.7 ราคากุ้งในช่วงปัจจุบัน(วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นมา) เป็นราคาจ าหน่ายที่ต่ ากว่าต้นทุนการผลิตขอเกษตรกร
ผู้เลี้ยงกุ้งไทย หากราคานี้ทรงนิ่งต่อไปโดยไม่ขยับขึ้น จะมีผลทางจิตวิทยาให้เกษตรกรส่วนใหญ่ของ
ประเทศเลือกที่จะพักการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากไม่คุ้มทุน และไม่มั่นใจต่อทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมกุ้ง
ไทย
1.8 ในขณะที่ประเทศจีนก าลังฟื้นตัวจากการระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 มีแนวโน้มว่าจะมีความต้องการ
บริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
1.9 และจีนมีความต้องการกุ้งจากไทยเป็นล าดับแรกเนื่องจากสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ ฯลฯ แต่หากไทยไม่
มีกุ้งส่งให้ในวันที่จีนต้องการ ตลาดจีนก็จะเป็นโอกาสของประเทศผู้ผลิตกุ้งรายอื่นนอกเหนือจากไทย
2. แนวทางแก้ปัญหาราคาตกต่่า
2.1 แนวทางขอความร่วมมือจากภาครัฐ
2.1.1 ภาครัฐควรมีวิธีปฏิบัติเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการส่งออกกุ้งไปยังประเทศคู่ค้า ทุกขั้นตอน
อย่างรวจเร็ว และเพิ่มช่องทางเร่งด่วนในการระบายสินค้า แบบรัฐต่อรัฐ เช่นหาเที่ยวบินส่งสินค้าแบบเช่าเหมา
ล าส่งออกตรงไปยังประเทศคู่ค้าที่มีความต้องการการบริโภคสูง
2.1.2 ให้ภาครัฐหาช่องทางการส่งออกและระบายสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา
เพื่อให้เกิดช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในตลาดโลกว่าประเทศไทยเป็นครัว
ของโลก มีสินค้า วัตถุดิบ พร้อมรองรับความต้องการทั้งในสถานการณ์ปกติและไม่ปกติ
2.1.3 ควรให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ตามที่ภาครัฐได้ด าเนินการประสบความส าเร็จมาแล้ว
2.1.4 ขอความร่วมมือหน่วยงานบริการของกรมประมง เปิดช่องทางการให้บริการต่างๆ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
จ าเป็นต้องใช้ไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น ตรวจสุขภาพกุ้ง คุณภาพน้ า และออกใบรับรองต่างๆ
2.1.5 ภาครัฐควรให้การสนับสนุนเรื่องแรงงานในการแปรของผู้ประกอบการห้องเย็น ให้สามารถเพิ่มก าลัง
การผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ และสินค้าที่เข้าสู่ตลาดไม่ให้มีผลผลิตล้นก าลังการ
ผลิต
2.1.6 เปิดช่องทางสายด่วนส าหรับให้ค าแนะน าแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่มีข้อสงสัย
2.2 แนวทางขอความร่วมมือจากผู้แปรรูป
2.2.1 ให้ข้อมูลข่าวสารที่กระจ่างชัดแก่แพและผู้เลี้ยงกุ้ง
2.2.2 รักษาระดับราคากุ้งไว้ให้อยู่คงที่ในระดับจุดคุ้มทุน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ลงกุ้ง
ต่อเนื่อง และป้องกันปัญหาการขาดแคลนกุ้งในช่วง 2-4 เดือนข้างหน้า
2.3 แนวทางขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงกุ้ง
2.3.1 ขอให้ผู้เลี้ยงกุ้งทุกท่านมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข้อมูลข่าวสาร หากมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจ
ประการใด ให้ปรึกษาคณะกรรมการ กลุ่ม สมาคม ชมรม สหกรณ์ ที่ท่านสังกัดอยู่ และสามารถสอบถามไปยัง
ภาครัฐโดยตรงเพื่อความกระจ่างก่อนตัดสินใจ
2.3.2 ขอให้ชะลอการจับกุ้งไว้ก่อน ทิศทางอนาคตนั้นกุ้งน่าจะมีราคาที่ดี นอกจากนี้การแห่จับกุ้งกันเป็น
จ านวนมาก จะมีผลให้ราคากุ้งตกต่ าลง และไม่มีกุ้งไว้จ าหน่ายในอนาคตเมื่อราคาสูงขึ้น
2.3.3 ผู้เลี้ยง หรือแพ ที่ไม่มีคิวลงห้องเย็นขอความกรุณาให้ความร่วมมือหยุดการจับกุ้งก่อน เพื่อให้เวลาผู้
แปรรูปและห้องเย็นได้เคลียร์สินค้าคงคลังออกไปก่อน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอความร่วมมือจากทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
ด้วยความเคารพอย่างสูง
(นายโกศล หนูกลิ่น)
รองประธานและฝ่ายการตลาดเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย
27 มีนาคม 2563