วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563

ซีพีเอฟ สนับสนุนพลังงานทดแทน ช่วยลดต้นทุนสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม



เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563  บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนทั้งโซล่าร์รูฟท็อป ไบโอก๊าซและพลังงานจากชีวมวล ในกระบวนการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพใช้พลังงาน ตามเป้าหมายบริษัทฯลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ในปี 2568


นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น นำชิ้นเนื้อขนาดเล็กจากกระบวนการผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า การใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการทำฟาร์มกุ้งโดยไม่ปล่อยน้ำออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 ประเภท คือ พลังงานจากชีวมวล พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้พลังงานจากไฟฟ้าและน้ำมัน 



ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 15% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 ซึ่งปัจจุบันโครงการพลังงานต่างๆ ของบริษัทฯยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโซล่าร์ รูฟท็อป บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนัก จำนวน 24 แห่ง จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563 และโครงการนำร่องโซล่าร์เซลล์แบบติดตั้งบนพื้นดินในฟาร์มสุกร 16 แห่ง และพร้อมขยายสู่ทุกฟาร์มสุกรทั่วประเทศ ตลอดจนตั้งเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปี 2565


ในปี 2562 ธุรกิจของ ซีพีเอฟ ในประเทศไทย มีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด แยกเป็นพลังงานจากชีวมวล (เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด) 1.857 ล้านกิกะจูล พลังงานจากไบโอก๊าซ 1.017 ล้านกิกะจูล และพลังงานแสงอาทิตย์ 439 กิกะจูล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 425,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซดเทียบเท่าต่อปี ประหยัดเงินได้กว่า 250 ล้านบาท 

“ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงความรับผิดชอบต่อการจัดการพลังงาน โดยบริษัทฯมีการปรับเทคโนโลยีสนับสนุนการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมตลอดกระบวนการผลิตมากขึ้นโดยเฉพาะโซล่าร์เซลล์ ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคาและติดตั้งบนพื้นดิน ตามเป้าหมายของบริษัทฯ ในการลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตให้ได้สูงสุด” นายวุฒิชัย กล่าว 


นายวุฒิชัย กล่าวต่อไปว่า ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีฐานปี 2558  ตลอดจนจะยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปีภายในปี 2565


นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังมีการวางแผนบริหารจัดการพลังงานที่ดี มีการตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์และเครื่องจักรสม่ำเสมอ การเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อย่างสมดุล ซึ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่สนับสนุน ซีพีเอฟ ในการเดินหน้าสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารมั่นคงและใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายใต้วิสัย "ครัวของโลกที่ยั่งยืน" นายวุฒิชัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...