ม.บูรพาปลุกกระแสStartup คลอดหลักสูตรภูมิสารสนเทศอัจฉริยะ เสริมเขี้ยวบัณฑิตก้าวเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ รองรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดสมัยใหม่และเสริมแกร่งเศรษฐกิจของประเทศสู่ความยั่งยืน พร้อมผลักดันต่อยอดประยุกต์ใช้งานสู่ระดับอาเซียนในอนาคต
ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร คณบดีคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า จากการที่มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากกับทุกอาชีพ ทุกวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในยุคนี้ให้มากที่สุด ทำให้คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะสถาบันการศึกษาด้าน Geospatial แห่งเดียวในประเทศไทย เล็งเห็นถึงโอกาสความเป็นเลิศทางการศึกษาในและการยอมรับในระดับนานาชาติ จึงได้ยกวิทยาฐานะจากเดิมคือ"ภาควิชาภูมิศาสตร์" เป็น "คณะภูมิสารสนเทศ" เพื่อรองรับการผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพ และพร้อมเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ดังกล่าวเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของตลาด
โดยแกนหลักสูตรนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและอวกาศเพื่อนำไปใ้ช้ในการอธิบายและคาดการณ์ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลแบบ Geospatial Intelligence ซึ่งจะพบว่าข้อมูลนี้ถูกสร้างขึ้นจำนวนในแต่ละวัน ทั้งจากโทรศัพท์มือถือ IoT หรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Internet of Things) โดรน (Drone) ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite age) ที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของดาวเทียมด้วยกระบวนการสำรวจระยะไกล หรือ รีโมตเซ็นซิ่ง (Remote Sensing)
ซึ่งทางคณะฯ มีความพร้อมในการประยุกต์เชื่อมโยงแนวทางการเรียนการสอนในหลักสูตรให้ตอบโจทย์การทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน และต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโท-เอก โดยร่วมกับสถาบันสารสนเทศวิศวกรรมการสำรวจ การทำแผนที่และภูมิสารสนเทศ (LIESMARS : ลิสมาร์) สถาบันในเครือของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น (Wuhan University) และสถาบัน LIESMARS ได้รับการยอมรับทางด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศจีน เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Startup ด้านภูมิสารสนเทศ โดยเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและพัฒนาธุรกิจ จากการค้นคว้าและวิจัยเป็นหลัก R & D for Enterprise”เชื่อว่าบัณฑิตของคณะฯ ที่จบไปจะสามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ ตลอดจนสามารถทำงานในองค์กร Startup ด้านธุรกิจประเภทที่รองรับไอทีและภูมิสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จาก แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆนี้ ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ในอนาคต
นอกจากนี้ทางคณะฯ ยังมีผลงานที่ร่วมกับ EEC สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA มูลนิธิปิดทองหลังพระ เมืองพัทยา การจัดทำ Application เฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยใช้ Geospatial Intelligence และครือข่ายต่างๆ เพื่อรองรับการฝึกปฏิบัติงานของบัณฑิตให้เรียนรู้และปฏิบัติงานจากอุปกรณ์และสถานที่จริงทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม หรือ บริษัทสำรวจ บริษัทที่ปรึกษาฯลฯเป็นต้น”
จึงเชื่อมั่นได้ว่าบัณฑิตจากคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีศักยภาพและมีความพร้อมมากพอในการนำความรู้มาใช้งานและต่อยอดเป็นวิทยากรภูมิสารสนเทศเชิงประยุกต์ที่พร้อมใช้งานในระดับอาเซียนได้อีกด้วย" ดร.กฤษนัยน์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น