วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

“พรรณี จันทร์งาม” กับมุมมองหลังเข้าร่วมโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง CPF


           บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  หรือ ซีพีเอฟ  เปิดเผยการประเมินผล
กระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ของการดำเนินโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งของบริษัท ซึ่งใช้เกณฑ์การประเมินตามหลักสากล ที่เรียกว่า True Value Valuation พบว่ามีมูลค่าเป็นบวกและมีค่าที่แท้จริงสูงถึงกว่า 390 ล้านบาทต่อปี
          ผลการประเมินดังกล่าว เกิดจากการสำรวจกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุนประเภทประกันรายได้ของซีพีเอฟที่มีจำนวนกว่า 3,000 รายในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยพบว่าในด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรมีรายได้ในปีที่ผ่านมาถึงกว่า 108 ล้านบาท สามารถลดสัดส่วนเกษตรกรที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าเส้นความยากจนลงจาก 40% เหลือ 0%  ส่วนในด้านสังคมพบว่า เกษตรกร85% มีความสามารถส่งบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนมีเวลาว่างอยู่กับลูกและครอบครัวมากขึ้น 2.4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงการลดปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากปัญหายาเสพติดในเยาวชน สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม แม้การใช้ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงในการเลี้ยงสุกรจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านก๊าซเรือนกระจกบ้าง แต่ฟาร์มเกือบทั้งหมดของเกษตรกรซีพีเอฟมีการทำระบบไบโอแก๊ส ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้วพบว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงกว่า 168,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ผลการประเมินเหล่านี้ยังได้รับการทวนสอบจากบริษัททวนสอบระดับโลกตอกย้ำความถูกต้องอีกด้วย


          คุณพรรณี จันทร์งาม เกษตรกรวัย 50 ปี หนึ่งในผู้เลี้ยงสุกรประเภทประกันรายได้ของซีพีเอฟ  ใน อ.หันคา จ.ชัยนาท เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินดังกล่าว ซึ่งต้องยอมรับว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งก็เคยได้ยินภาพเชิงลบของระบบนี้ แต่ก็ได้เห็นเพื่อนเกษตรกรคนอื่นๆ ประสบความสำเร็จ สวนทางกับเสียงลือเสียงเล่าอ้าง จึงศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านจากหลายๆบริษัทที่มีระบบนี้
“ก่อนหน้านี้ทำไร่ทำนา ได้เงินมาแบบได้ไปกินไป เหมือนเอาเงินเก่าไปแลกเงินใหม่ ลำพังการหารายได้พอประทังชีวิตของครอบครัวในแต่ละวันก็ยากแล้ว ยิ่งไม่ต้องคาดหวังกับคุณภาพชึวิตที่ดี หรือการส่งเสียลูกหลานให้ได้เรียนดังตั้งใจ เคยเลี้ยงหมูอิสระด้วย แต่มันไม่มีตลาดรองรับ ก็คิดว่าจะไม่เลี้ยงแล้ว แต่สุดท้ายพอศึกษาระบบนี้จริงจัง พบว่ามีรายได้ที่มั่นคงแน่นอน ไม่มีความเสี่ยง เลยตัดสินใจเข้า สุดท้ายชีวิตก็ดีขึ้นจริงๆ”
 พรรณี เข้าร่วมเป็นเกษตรกรในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งของซีพีเอฟ เมื่อปี 2558 จำนวน 2 โรงเรือน เลี้ยงหมู 1,300 ตัว และขยายเพิ่มขึ้นเป็น  5 โรงเรือนในปี 2562 เลี้ยงสุกรทั้งสิ้น 3,550 ตัว หมูทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่ไว้วางใจส่งมาฝากให้เกษตรกรเลี้ยง


          “เรากำลังจะขยายอีก 10 โรงเรือน เพราะเรามั่นใจแล้ว และเรามีความถนัด คุณภาพชีวิตดีขึ้น การเงินคล่องตัว ได้รับเครดิตจาก ธกส. และสามารถชำระหนี้ได้หมดภายในเวลาเพียง 5-6 ปี  ที่สำคัญเป็นอาชีพที่ยั่งยืน เป็นมรดกตกทอดได้ และนี่ก็เป็นความตั้งใจของลูกชาย ที่เพิ่งจบสัตวบาลจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขารักฟาร์มนี้มากและสามารถบริหารจัดการได้ดี เป็นฟาร์มต้นแบบให้เพื่อนๆ รุ่นพี่และรุ่นน้องเข้ามาศึกษาดูงานด้วย”
ต่อคำถามที่ว่าการขยายฟาร์มสุกร จะได้รับการคัดค้านจากชุมชนหรือไม่ พรรณีกล่าวอย่างภูมิใจว่า ฟาร์มของตนใครเข้ามา ก็ชมว่าไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน เพราะระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของซีพีเอฟมีมาตรฐานมาก ระบบทุกอย่างเป็นอัตโนมัติหมด มีระบบไซโลให้อาหาร ระบบพัดลมปรับอากาศ ทำบ่อไบโอแก๊ส  และเราจ้างงานคนในหมู่บ้าน  ทุกคนก็เหมือนเป็นญาติๆกัน เขาจะรู้สึกเหมือนฟาร์มนี้เป็นของพวกเขา และช่วงเก็บเกี่ยวไร่มัน ไร่อ้อยแถวนี้ชาวบ้านก็จะมาสูบน้ำไปรดให้พืชผล ฟาร์มของตนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้ว

          “ภูมิใจและดีใจ ที่วันนี้ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี  นอกจากส่งลูกเรียนจบ ยังมีกำลังพอที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้ดูแลชุมชน วัด โรงเรียน มีงานอะไรเราก็ช่วยได้ ใครเดือดร้อนมาหาเราก็ช่วย เป็นความสุขที่ได้แบ่งปัน และยืนยันว่า การเข้าร่วมโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งซีพีเอฟของเราเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทั้งมาตรฐานของบริษัท และการเอาใจใส่ของสัตวแพทย์ สัตวบาลทุกคน”


          นี่คือมุมมองของคนที่ได้สัมผัสความเจริงของระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง ไม่น่าแปลกใจที่ผลการประเมินจะออกมาดังที่บริษัทเปิดเผย และยิ่งตอกย้ำว่าการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อยด้วยระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งนี้ สามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอแก่เกษตรกรในโครงการ ลดอุปสรรคด้านการเข้าถึงแหล่งทุนของเกษตรกรซึ่งเป็นด่านแรกในการประกอบอาชีพ  ยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นมรดกอาชีพให้ลูกหลานได้อย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...