วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ซีพีเอฟ เข้มงวดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่คุณค่าทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ


          24 มิถุนายน 2563 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลและใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด สนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์และอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต

          น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล ประธานคณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯมีการพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงสัตว์ตามแนวปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์สากลภายใต้ “หลักอิสระ 5 ประการ” หรือ Five Freedoms อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความหิวและกระหาย ความไม่สบายกาย ความทุกข์ทรมาน การบาดเจ็บ และสนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด สุกร และสัตว์น้ำ สำหรับกิจการในทุกประเทศและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับสัตว์ทุกชนิดควบคู่กับการบริหารจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพให้สัตว์ได้เติบโตตามสถาพแวดล้อมของสัตว์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเติบโตและสุขภาพที่ดีของสัตว์


          ปัจจุบัน ธุรกิจสุกรเป็นการเลี้ยงตามหลัก 3’Ts (No Testicles, No Teeth Clipping and No Tail Docking) โดยเน้นการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่มีการระบายอากาศได้ดี และพยายามลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการทำหมัน (เพื่อลดกลิ่นตัวของสุกรเพศผู้) การตัดหรือกรอฟัน (เพื่อลดการกัดหัวนมแม่สุกรและการกัดหางของตัวอื่น) และการตัดหาง (ลดการกัดกันเองจนเกิดแผลอักเสบ) โดยในปี 2562 ธุรกิจสุกรในประเทศไทยได้ยกเลิกการตอนลูกสุกรกว่า 700,000 ตัว ยกเลิกการตัดเขี้ยวลูกสุกรมากกว่า  2 ล้านตัว และริเริ่มยกเลิกการตัดหางลูกสุกรกว่า 3,000 ตัว รวมถึงยกเลิกตัดใบหูมากกว่า 3 ล้านตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสุกรของบริษัทฯ ในประเทศมาเลเซียและไต้หวัน ไม่มีการตัดหรือกรอฟันแล้ว 100%

          ขณะที่กิจการ ซีพีเอฟ ที่มีธุรกิจไก่เนื้อเป็นการเลี้ยงไก่โดยไม่ตัดจะงอยปาก (No Beaking Trimming) 100% มีการเพิ่มวัสดุสำหรับจิกเล่นในโรงเรือน ไก่ได้คุ้ยเขี่ยตามพฤติกรรมทางธรรมชาติ ส่วนไก่พ่อแม่พันธุ์เพศผู้และไก่ไข่ บริษัทฯใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด (Infrared Beak Treatment) เพื่อทดแทนการตัดจะงอยปาก ซึ่งทำให้ไก่ไม่มีการบาดเจ็บ


          นอกจากนี้ ในปี 2561 ยังได้เริ่มโครงการนำร่องเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (cage-free farm) ในโรงเรือนระบบปิด ซึ่งเป็นการเลี้ยงตามแนวทาง Biosecurity Hi-Tech Farming มีการเลี้ยงตามหลักอิสระ 5 ประการ แม่ไก่มีอิสระ ทำให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

          สำหรับธุรกิจสัตว์น้ำ เป็นการเลี้ยงแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดก้านตา (Female Non Eystalk Ablation) ซึ่ง ซีพีเอฟ นำนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในธุรกิจเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้ง ทำให้แม่พันธุ์กุ้งสร้างและวางไข่ได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องตัดก้านตา 


          น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ยังได้ดำเนินการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ (Welfare Outcome Measures :WOMs) เน้นการประเมินสุขภาพสัตว์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสัตว์ที่ได้รับสวัสดิภาพขั้นสูงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์จะสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และพฤติกรรมที่ดีของสัตว์ ซึ่งบริษัทฯใช้วิธีวัดผลดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก คือ อัตราการเลี้ยงรอด อัตราการเติบโต อัตราการสูญเสีย ปริมาณและคุณภาพซาก การแสดงออกพฤติกรรมทางธรรมชาติ เป็นต้น

          “หลักอิสระ 5 ประการ และการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดที่มีการบริหารจัดการฟาร์มตามมาตรฐานสากล ทำให้สัตว์ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติที่ดี ทำให้สัตว์สุขภาพดี ไม่เครียด ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่งผลดีต่อคุณภาพเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารคุณภาพดี ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าว


          ซีพีเอฟ ยังยึดมั่นตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผล ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งเดียวของธุรกิจปศุสัตว์ในกิจการทุกประเทศทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้เฉพาะในคนเท่านั้น (Human-Only Anitbiotics) ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (Shared-Class Antibiotics) เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต และไม่ใช้ฮอร์โมน เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต (Growth Promotor)

          “บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผลในระดับสูงและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯ ในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา และตุรกีไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิด Shared-Class Antibiotics เพื่อการเร่งโตแล้ว” น.สพ. พยุงศักดิ์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...