วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ปรับระบบจัดการหนี้ค้างชำระของเครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง ปลูกฝังอุดมการณ์สร้างความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน



การขาดความเข้าใจในบทบาทและความรู้เรื่องสหกรณ์ ขาดการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ดี การปล่อยและติดตามสินเชื่อที่หละหลวม ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จำกัด มีหนี้ค้างอยู่เป็นจำนวนมากในอดีต แต่หลังจากการสร้างความเข้าใจกับสมาชิก ปรับระบบการบริหารจัดการ การสร้างอาชีพเสริม และส่งเสริมการออมอย่างจริงจัง ส่งผลให้สหกรณ์เติบโตอย่างมั่นคงเป็นลำดับ และเกิดผลสำเร็จจนได้รับคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติในวันนี้
นางกัญญา  บุญรอด  ผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่าในอดีตที่ผ่านมา สมาชิกของสหกรณ์ขาดความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง การบริหารจัดการสหกรณ์ และหลักเกณฑ์ในการปล่อยและติดตามสินเชื่อก็หละหลวม ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน บ้านซ่อง จำกัด มีสมาชิกประมาณ 70 ราย ที่ขาดการผ่อนชำระ และไม่มีการติดต่อกับสหกรณ์มาเป็นเวลานาน    จึงมีหนี้ค้างอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 5 - 6 ล้านบาท ทางคณะกรรมการและฝ่ายจัดการจึงได้เริ่มวางแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2543 โดยได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยกับสมาชิกที่มีหนี้ค้างทุกราย และพบว่าปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ คือ บางรายมีเงินแต่ก็ไม่ยอมมาชำระหนี้ หลาย ๆ คน ขาดความสัมพันธ์กับสหกรณ์ มองสหกรณ์เป็นเพียงแค่แหล่งเงินกู้แทนที่จะรู้ว่าตนเองเป็นเจ้าของสหกรณ์ จึงไม่ยอมชำระหนี้ และยังมีอีกหลายคนที่ขาดทุนจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและไม่สามารถชำระหนี้ได้  จริง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่สหกรณ์ต้องเร่งแก้ไขและช่วยเหลือ


ปัญหาเงินกู้กับ NPL (Non-Performing Loan : สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้น) เป็นของคู่กัน  แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาต้องลงไปแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยสหกรณ์ฯ เริ่มใช้วิธีการควบคุมสัดส่วนของหนี้คงค้างไม่ให้เกิน 5 % ของวงเงินกู้ที่ปล่อยออกไปทั้งหมด ส่วนปัญหาหนี้ที่ขาดการผ่อนชำระ ฝ่ายจัดการและกรรมการได้ลงพื้นที่คุยกับสมาชิกที่มีปัญหาทุกรายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์ ชี้แจง ทำความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของสหกรณ์ว่าเป็นของสมาชิกทุกคน เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของสมาชิก ชี้แจงให้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่  ผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้จากสหกรณ์ และผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากสมาชิกไม่เอาใจใส่
ในส่วนของสมาชิกที่ประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้จริง ๆ เนื่องจากขาดทุนจากการประกอบอาชีพ หรือมีรายได้ไม่พอชำระหนี้ สหกรณ์จะช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิก เพื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้ แต่เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์มาจากหลากหลายอาชีพ เช่น เกษตรกรรม รับจ้าง ค้าขาย และส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องการออม การบริหารจัดการเงิน จึงต้องไปช่วยวางแผนการเงินและแผนการชำระหนี้ให้แก่สมาชิกแต่ละราย ตั้งแต่การคำนวณรายรับ รายจ่าย การเก็บออม การชำระหนี้ ซึ่งตนและคณะกรรมการใช้เวลาถึง 3 ปี จนสามารถทำความเข้าใจกับสมาชิกกลุ่มนี้ได้เกือบทั้งหมดและทำให้กลับมาชำระหนี้ได้เหมือนเดิม สำหรับสมาชิกรายใหม่ ๆ ที่มาขอสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่รับเรื่องจะเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการขอสินเชื่อ การออม การจัดการหนี้ และวินัยทางการเงิน และในวันเดียวกันนั้น สมาชิกผู้กู้จะต้องเข้าไปคุยกับคณะกรรมการเพื่อสร้างความคุ้นเคยและให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ 


ด้านของการให้ความรู้ สหกรณ์มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่กรรมการ และฝ่ายจัดการในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น แนวทางการบริหารจัดการสหกรณ์ การควบคุม และดูแลสินเชื่อ ในส่วนของสมาชิก จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ในด้านต่าง ๆ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ สิทธิ หน้าที่ และสวัสดิการพื้นฐานที่จะได้รับ เช่น สวัสดิการคุ้มครองเงินกู้สำหรับสมาชิกที่กู้เงินไม่เกิน 500,000 บาท  คือเมื่อสมาชิกมากู้เงินและเสียชีวิตก่อนที่จะชำระหมด เงินคงค้างที่เหลือสหกรณ์จะเป็นผู้ชำระแทน สวัสดิการเงินสมทบ สวัสดิการเยี่ยมไข้ สวัสดิการเงินเดือนให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกกรุ่นแรกของสหกรณ์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสหกรณ์จะดูแลสมาชิกไปจนตลอดชีวิต เพราะสหกรณ์เป็นของสมาชิกทุกคน ทำให้สมาชิกเกิดความรักในองค์กร และรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของสหกรณ์
ในส่วนของการส่งเสริมอาชีพ สหกรณ์ได้มีการจัดสินเชื่อ ส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ (โครงการเงินกู้พิเศษ) เพื่อให้สมาชิกนำไปเลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพเสริม มีผู้เข้าร่วมโครงการ 270 ราย จากปี 2547 ที่เคยเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรสมาชิกได้ถึง 5000-10,000 บาท/ตัว /5 เดือน จากจำนวนโคขุนที่กำหนดให้เกษตรกรเลี้ยงรายละ 7 ตัว ปัจจุบันเกษตรกรมีจำนวนวัวเฉลี่ยรายละ 25 ตัว มากไปจนถึง 130 ตัว และได้กลายเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรกลุ่มนี้ไปแล้ว นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการปลูกอินทผลัม และผลักดันตลาดออนไลน์ "บ้านซ่องพลาซ่า" เพื่อเป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเพิ่มช่องทางในการทำการตลาดสินค้าของสมาชิกที่มีหลากหลาย ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งสามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอล


          นางกัญญา กล่าวว่า จากการอบรม ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากที่ไม่ค่อยสนใจการดำเนินงานของสหกรณ์  แต่วันนี้สมาชิกกลับมาให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสหกรณ์ค่อนข้างมาก ส่งผลให้สหกรณ์เติบโตขึ้นเป็นลำดับ จากในปี 2543 มีสมาชิกเพียง 500 คน  ทรัพย์สิน 11 ล้านบาท มีเงินฝากแค่หลักแสนบาท ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกถึง 4,416 คน มีทรัพย์สิน 427 ล้านบาท และเงินฝากถึง 253 ล้านบาท จนถึงวันนี้ เชื่อว่าสมาชิกส่วนใหญ่เห็นความสำคัญกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่องเป็นอันดับแรก ๆ มิใช่สถาบันการเงินชุมชนอันดับท้าย ๆ เช่นในอดีต  ซึ่งทั้งหมดนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมแรงของสมาชิกและบุคลากรทุกฝ่ายที่มีความรัก ความเข้าใจในองค์กร และเข้าถึงอุดมการณ์ของสหกรณ์อย่างแท้จริง




วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

CPF ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และจิตอาสา 904 มอบถุงยังชีพบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวปากคลองตลาด สู้ภัยโควิด-19

 

พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล  รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมด้วย พล.ต.ต.สยาม บุญสม   ผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904, สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง และทีมจิตอาสา 904 รับมอบไข่ไก่สด CP จำนวน 40,000 ฟอง และน้ำแร่ จากนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ   ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พร้อมข้าวตราฉัตร จากบริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด สนับสนุนโครงการปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19 เพื่อนำไปจัดทำถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด แจกให้แก่พี่น้องประชาชนย่านปากคลองตลาดได้เข้าถึงอาหารคุณภาพปลอดภัย ช่วยลดค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อน ตลอดเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2563 หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ณ ลานปฐมบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 1 เชิงสะพานพุทธ ฝั่งพระนคร







ซีพีเอฟ ไม่ปลดล๊อกมาตรการเฝ้าระวังโรค ASF ในสุกร และ โควิด-19 ในพนักงาน สู่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์วิถีใหม่


เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยืนยันไม่ยกเลิกมาตรการคุมเข้มป้องกันโรคระบาด ASF ในสุกร และโควิด-19 ในพนักงานของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แม้สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศเริ่มผ่อนคลาย พร้อมอบรมพนักงงานรองรับการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์วิถีใหม่ ที่สามารถป้องกันโรคในสุกรและโรคในพนักงานเลี้ยงสุกรไปพร้อมกัน สร้างหลักประกันความปลอดภัยทางอาหารให้กับผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในภาวะปกติบริษัทฯ มีมาตรการเฝ้าระวังโรคในสัตว์และมาตรการสุขอนามัยของบุคลากรที่เคร่งครัดทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล และในช่วงที่มีโรคระบาดบริษัทฯ ยังได้ประกาศมาตรการเสริมและแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดเพิ่มเติมเพื่อป้องกันสัตว์ทั้งโรคระบาด ASF ในสุกร และโควิด-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีรายงานการติดโรค ASF ในสุกร ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะเริ่มผ่อนคลายและไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศมากกว่า 1 เดือนแล้วก็ตาม  แต่บริษัทฯ ยังคงใช้มาตรการป้องกันสูงสุดอย่างเคร่งครัด

สำหรับมาตรการเสริมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับพนักงานเลี้ยงสุกรในฟาร์มที่ ซีพีเอฟ ปฎิบัติอย่างเคร่งครัดในสถานประกอบการและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ คือ 1.การคัดกรอง เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน หากมีอาการไอ มีน้ำมูก หายใจลำบากและเจ็บคอ ให้หยุดงานแม้ไม่มีไข้ 2.การเว้นระยะทางสังคม (Social Distancing) เช่น การเว้นระยะห่าง 2 เมตร งดการเยี่ยมชมฟาร์ม ลดความหนาแน่นโดยการเหลื่อมเวลาทำงาน งดเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง และการทำงานที่บ้าน (Work From Home) 3.สุขอนามัยส่วนบุคคล การสวมหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน หมั่นล้างมือ 4.การขนส่งปลอดภัย มีการตรวจอุณหภูมิร่างกายก่อนปฏิบัติงาน สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนและหลังการจัดส่ง และจัดส่งแบบไม่สัมผัส เป็นต้น

ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ยังมีมาตรการเข้มงวดในการป้องกันโรคระบาด ASF ในสุกร สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯ และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ของบริษัท ด้วยการห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม ต้องรู้แหล่งที่มาของสุกร งดให้อาหารสุกรด้วยเศษอาหารจากคน เตรียมแผนฉุกเฉินกรณีกรณีเกิดการระบาด ตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เข้มงวดสุขอนามัยส่วนบุคคลทั้งก่อนและหลังเข้าฟาร์ม ตลอดจนพาหนะ เป็นต้น


“จากมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคระบาดสูงสุดทั้งโรคในสุกรและพนักงาน ที่ ซีพีเอฟ ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การป้องกันโรคของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพสูงและไม่มีรายงานสัตว์ติดโรคทั้ง ASF ในสุกรและโควิด-19 ในพนักงานฟาร์ม รวมทั้งไม่เกิดโรคอื่นๆ ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้ดี และก่อให้เกิดวิถีใหม่ (new normal) ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเว้นระยะห่างทางสังคม” น.สพ.ดำเนิน กล่าว

น.สพ.ดำเนิน กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้การปฏิบัติตามแนวทางการเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย และการหมั่นล้างมือ และสุขอนามัยส่วนบุคคลอื่นๆ กลายเป็น “วิถีใหม่” ในชีวิตประจำวันของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในฟาร์มของบริษัทฯ และมีการปรับกิจกรรมการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี เช่น การประชุมความพร้อมก่อนเริ่มงานในตอนเช้า มีการประชุมกันที่สนามหรือสถานที่โล่งแจ้งแทนห้องประชุมหรือภายในอาคารสำนักงาน การรับประทานอาหารโดยใช้ภาชนะส่วนตัวในที่ที่มีฉากป้องกัน รับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น การรักษาระยะห่าง 2 เมตรทุกกิจกรรมที่ทำ และการทำความสะอาดจุดสุมผัสร่วม เป็นต้น


“ซีพีเอฟ มีการดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรฐานสากล และมีการประยุกต์ใช้มาตรการต่างๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงการอบรมบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต” น.สพ.ดำเนิน กล่าวย้ำ

ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ASF ในสุกร ในพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย โดยมีเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการอบรมแล้ว 450 ราย ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเกราะป้องกันประเทศไทยจากโรคระบาดสัตว์



นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบประกาศเกียรติคุณบัตรและเข็มที่ระลึกเสมาคุณูปการ แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2563 ให้กับ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เพื่อเชิดชูเกียรติต่อผู้ทำคุณประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมงานด้านการศึกษาของกระทรวงฯ จากการสนับสนุนโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต



วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เปิดซีพีเอฟกรีนฟาร์ม (Green Farm) ... ฟาร์มหมูรักษ์โลกเป็นมิตรชุมชน-สิ่งแวดล้อม



          ​ด้วยภาพจำทั้งกลิ่นและสภาพแวดล้อมของฟาร์มที่ไม่สู้ดีนัก กลายเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่ทำให้การสร้างฟาร์มหมูเป็นเรื่องยาก การตั้งฟาร์มสักแห่ง ต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนรอบข้างเสียก่อน ซึ่งจะผ่านได้ก็ต่อเมื่อ ชุมชนให้การยอมรับและฟาร์มต้องมีการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมและมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างได้


          วันนี้มีโอกาสได้เข้าชมความสำเร็จของฟาร์มหมูที่สามารถร่วมกับชุมชนรอบข้างได้อย่างกลมกลืน จากการบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ฟาร์มสุกรโคกอุดม หมู่บ้านบุสูง ต.นาดี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ฟาร์มแห่งนี้เป็นโมเดลความสำเร็จที่น่าถ่ายทอด จากความไม่เข้าใจและการปิดกั้นของชุมชน สู่การเปิดใจและทำงานร่วมกันอย่างกลมเกลียว จากคำมั่นสัญญาของฟาร์มที่มีต่อชุมชนว่า จะร่วมพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการบริหารฟาร์มภายใต้มาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานฟาร์มสีเขียว หรือกรีนฟาร์ม  (CPF  Green Farm) ที่บริษัทยกระดับฟาร์มเลี้ยงหมูอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันนี้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ที่ฟาร์มโคกอุดม กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งนี้ เพราะทำตามสัญญาที่ให้ไว้ทั้งการเดินหน้าฟาร์มสีเขียวแบบเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การวางระบบฟาร์มปิด เลี้ยงหมูในโรงเรือนระบบปิดที่ทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ หรือ ระบบอีแวป (EVAP : Evaporative Cooling System) ควบคู่กับการใช้ระบบบำบัดด้วยไบโอแก๊ส ที่ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์และแมลงวันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างแล้ว ระบบนี้ยังได้ก๊าซมีเทนเป็นผลพลอยได้ มาผลิตไฟฟ้าเป็นพลังงานสะอาดทดแทนเพื่อใช้ภายในฟาร์ม นอกจากนี้ ยังนำระบบฟอกอากาศท้ายโรงเรือนมาใช้อย่างได้ผล ทำให้ไม่มีกลิ่นเล็ดรอดไปรบกวนชุมชน ขณะเดียวกัน ก็ปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้สวยงามน่าอยู่ จนดูแทบไม่ออกว่าที่นี่คือฟาร์มหมู เรียกว่านอกจากจะไร้กลิ่น ไร้แมลงรบกวน ทำให้ฟาร์มอยู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนแล้ว ระบบทั้งหมดที่กล่าวมายังช่วยลดการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อภาวะโลกร้อนด้วย ที่สำคัญน้ำในกระบวนการผลิตยังถูกนำเข้าระบบบำบัดตามมาตรฐาน ที่ยังคงมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืช จึงสามารถนำกลับไปใช้เป็นน้ำปุ๋ย ที่แบ่งปันให้กับชุมชนรอบข้าง เพื่อใช้ในการปลูกผักสวนครัว ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง สวนผลไม้ ฯลฯ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร


          ขณะที่การบริหารจัดการฟาร์มมาตรฐาน เดินหน้าอย่างเป็นระบบ ซีพีเอฟและชาวชุมชนก็ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็ง ด้วยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และบุคลากรของบริษัท มาร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เน้นทำงานร่วมกับสมาชิกในชุมชน ทั้งด้านการเกษตร การแปรรูปสินค้า รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ สร้างความยั่งยืนให้กับทุกคนในชุมชน

          ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของฟาร์มหมูที่กลายเป็นสมาชิกของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข จากการผนึกกำลังและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับชุมชนของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฟาร์มของบริษัทดำเนินการเช่นเดียวกัน ไม่เพียงในฟาร์มหมู ยังต่อยอดไปถึงฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ไข่ และฟาร์มกุ้ง เพื่อให้ “กรีนฟาร์ม” เป็นภาพสะท้อนถึง “ความเป็นมิตร” ที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม


          โชคดีที่เราอยู่ในยุคแห่งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ดังนั้นเรื่องการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรต่อชุมชน และไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใช่ยาก ที่สำคัญทั้งบริษัทและเกษตรกรต่างตระหนักดีในเรื่องนี้ เพื่อให้ฟาร์มอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

SUN ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี พร้อมเดินหน้าตามแผนรับความท้าทายปี 2563


          บอร์ด ซันสวีท จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 วันที่ 22 มิถุนายน 2563 และมีมติแต่งตั้งกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ กลับเข้าดำรงตำแหน่ง ตามเดิมอีกวาระหนึ่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป


          นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 มีวาระเสนอผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารับทราบรายงานผลการดำเนินงานในรอบปี 2562 และพิจารณาอนุมัติ งบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 พิจารณาอนุมัติงดการจัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย และงดการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2562 นอกจากนี้ขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาการแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระ จำนวน 3 คน กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทและตำแหน่งต่าง ๆ ตามเดิมอีกวาระหนึ่ง เป็นต้น

          การประชุมครั้งนี้ได้เลื่อนกำหนดการประชุมจากเดิมวันที่ 20 เมษายน 2563 เนื่องจากสถานการณ์ โควิด -19  เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้วบริษัทจึงได้จัดการประชุมขึ้น อีกทั้งได้ย้ายสถานที่การประชุมมายังสำนักงานของบริษัท อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการการผลิต โดยมุ่งพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ จากโครงการ KC BIG SMART FARM เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มวัตถุดิบ และสามารถติดตามการบริหารจัดการเกษตรแบบครบวงจร แม้ว่าเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทย และทั่วโลกในไตรมาสแรกของปี 2563 ยังไม่ดีนัก เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น  แต่ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปที่มีคุณภาพปลอดภัยและพร้อมรับประทาน ยังคงตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดย บริษัทฯ ยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตของปริมาณและยอดขาย และส่งออกสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง นายองอาจ กล่าวทิ้งท้าย




วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ซีพีเอฟ เข้มงวดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่คุณค่าทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ


          24 มิถุนายน 2563 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลและใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด สนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์และอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต

          น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล ประธานคณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯมีการพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงสัตว์ตามแนวปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์สากลภายใต้ “หลักอิสระ 5 ประการ” หรือ Five Freedoms อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความหิวและกระหาย ความไม่สบายกาย ความทุกข์ทรมาน การบาดเจ็บ และสนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด สุกร และสัตว์น้ำ สำหรับกิจการในทุกประเทศและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับสัตว์ทุกชนิดควบคู่กับการบริหารจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพให้สัตว์ได้เติบโตตามสถาพแวดล้อมของสัตว์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเติบโตและสุขภาพที่ดีของสัตว์


          ปัจจุบัน ธุรกิจสุกรเป็นการเลี้ยงตามหลัก 3’Ts (No Testicles, No Teeth Clipping and No Tail Docking) โดยเน้นการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่มีการระบายอากาศได้ดี และพยายามลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการทำหมัน (เพื่อลดกลิ่นตัวของสุกรเพศผู้) การตัดหรือกรอฟัน (เพื่อลดการกัดหัวนมแม่สุกรและการกัดหางของตัวอื่น) และการตัดหาง (ลดการกัดกันเองจนเกิดแผลอักเสบ) โดยในปี 2562 ธุรกิจสุกรในประเทศไทยได้ยกเลิกการตอนลูกสุกรกว่า 700,000 ตัว ยกเลิกการตัดเขี้ยวลูกสุกรมากกว่า  2 ล้านตัว และริเริ่มยกเลิกการตัดหางลูกสุกรกว่า 3,000 ตัว รวมถึงยกเลิกตัดใบหูมากกว่า 3 ล้านตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสุกรของบริษัทฯ ในประเทศมาเลเซียและไต้หวัน ไม่มีการตัดหรือกรอฟันแล้ว 100%

          ขณะที่กิจการ ซีพีเอฟ ที่มีธุรกิจไก่เนื้อเป็นการเลี้ยงไก่โดยไม่ตัดจะงอยปาก (No Beaking Trimming) 100% มีการเพิ่มวัสดุสำหรับจิกเล่นในโรงเรือน ไก่ได้คุ้ยเขี่ยตามพฤติกรรมทางธรรมชาติ ส่วนไก่พ่อแม่พันธุ์เพศผู้และไก่ไข่ บริษัทฯใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด (Infrared Beak Treatment) เพื่อทดแทนการตัดจะงอยปาก ซึ่งทำให้ไก่ไม่มีการบาดเจ็บ


          นอกจากนี้ ในปี 2561 ยังได้เริ่มโครงการนำร่องเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (cage-free farm) ในโรงเรือนระบบปิด ซึ่งเป็นการเลี้ยงตามแนวทาง Biosecurity Hi-Tech Farming มีการเลี้ยงตามหลักอิสระ 5 ประการ แม่ไก่มีอิสระ ทำให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

          สำหรับธุรกิจสัตว์น้ำ เป็นการเลี้ยงแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดก้านตา (Female Non Eystalk Ablation) ซึ่ง ซีพีเอฟ นำนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในธุรกิจเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้ง ทำให้แม่พันธุ์กุ้งสร้างและวางไข่ได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องตัดก้านตา 


          น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ยังได้ดำเนินการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ (Welfare Outcome Measures :WOMs) เน้นการประเมินสุขภาพสัตว์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสัตว์ที่ได้รับสวัสดิภาพขั้นสูงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์จะสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และพฤติกรรมที่ดีของสัตว์ ซึ่งบริษัทฯใช้วิธีวัดผลดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก คือ อัตราการเลี้ยงรอด อัตราการเติบโต อัตราการสูญเสีย ปริมาณและคุณภาพซาก การแสดงออกพฤติกรรมทางธรรมชาติ เป็นต้น

          “หลักอิสระ 5 ประการ และการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดที่มีการบริหารจัดการฟาร์มตามมาตรฐานสากล ทำให้สัตว์ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติที่ดี ทำให้สัตว์สุขภาพดี ไม่เครียด ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่งผลดีต่อคุณภาพเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารคุณภาพดี ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าว


          ซีพีเอฟ ยังยึดมั่นตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผล ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งเดียวของธุรกิจปศุสัตว์ในกิจการทุกประเทศทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้เฉพาะในคนเท่านั้น (Human-Only Anitbiotics) ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (Shared-Class Antibiotics) เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต และไม่ใช้ฮอร์โมน เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต (Growth Promotor)

          “บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผลในระดับสูงและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯ ในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา และตุรกีไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิด Shared-Class Antibiotics เพื่อการเร่งโตแล้ว” น.สพ. พยุงศักดิ์ กล่าว

นักวิชาการด้านอาหาร แนะ ผู้บริโภคคลายกังวล เนื้อแปรรูป ทานได้ ปลอดภัย




 ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้คนให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) มากขึ้น โดยเฉพาะการรับประทานอาหารประเภทเนื้อและเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งหลายเรื่องยังอยู่ในความสนใจของสังคมและเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

เนื้อสัตว์ คือ อาหารโปรตีนมีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในปริมาณสูง มีแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี ซิลิเนียม เมื่อเทียบกับปริมาณโปรตีนที่ได้จากอาหารอื่น และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปไม่ว่าจะมาจากการเก็บถนอมอาหารและการปรุงอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ไส้กรอก แฮม เบคอน ยังเป็นอาหารยอดนิยมของผู้บริโภค ด้วยรสชาติอร่อย ทานง่าย สะดวก และปรุงเป็นอาหารหลายแบบ

อย่างไรก็ตาม จากการที่องค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer, IARC) ได้จัดความอันตรายของเนื้อสัตว์แปรรูปและเนื้อแดงอยู่ในกลุ่มที่อันตราย สูงสุดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ จนทําให้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบในการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปมากกังวลใจและยังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลายด้าน  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีการใช้ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยคงสภาพ ช่วยยืดอายุอายุ และช่วยทำให้สีของไส้กรอกดูสวยงามน่ารับประทาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลตามหลักวิชาการมาช่วยสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะความจำเป็นของการใช้สารไนไตรท์ในการผลิตไส้กรอก ว่า สารไนไตรท์ ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป อย่าง ไส้กรอก แหนม เป็นสารที่มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สำคัญ ทั้งเรื่อง 1.ลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรีย Clostridium Botulinum ที่ผลิตสารพิษที่มีอันตรายรุนแรงถึงชีวิต 2. สามารถจับไมโอโกลบินซึ่งโปรตีนในเนื้อสัตว์ที่ทำให้เนื้อมีสีชมพูแดงน่ารับประทาน 3.มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันระหว่างการเก็บ ทำให้ไส้กรอกมีกลิ่น รส และเนื้อสัมผัสที่ดีระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสารตัวใดทดแทนได้ จึงยังมีความจำเป็นในการใส่ไนไตรท์ในไส้กรอกเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด

สำหรับการใช้ไนไตรท์ของผู้ผลิตไทยได้มาตรฐาน อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) เพื่อให้มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด ด้วยการพัฒนาด้านผลิตอาหาร ผู้ผลิตไส้กรอกในปัจจุบัน คำนึงถึงความปลอดภัยในการผลิต ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบจนถึงการบรรจุ เพื่อให้ได้ไส้กรอกที่คุณภาพดี ถูกสุขลักษณะ และมีความปลอดภัยมากที่สุด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงแหล่งผลิตวัตถุดิบ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ใช้ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์เข้ามาใช้และใช้คนอยู่ในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด เพื่อลดการปนเปื้อนและการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการเสื่อมเสียของไส้กรอกได้

“ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านอาหาร ขอแนะนำว่า ผู้บริโภคควรเลือกผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มาจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้มีมาตรฐานรับรองการผลิตอาหาร บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพดี และมีฉลากวันหมดอายุชัดเจน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร กล่าวย้ำ

ทุกวันนี้ สารไนไตรท์ยังพบได้ทั่วไปในผักและผลไม้ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี แตงโม กล้วย  ผู้บริโภคจึงบริโภคไส้กรอกได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

สำหรับความเสี่ยงในการที่จะเป็นมะเร็งมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะ ปัจจัยในร่างกาย พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด อารมณ์ เป็นต้น การเปรียบเทียบอาหารกับบุหรี่ อันตรายและความเสี่ยงเทียบกันไม่ได้ เพราะในการผลิตอาหารต้องปลอดจากสารอันตราย อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารชนิดเดียวกันซ้ำกันเป็นระยะเวลานานๆ และบริโภคเป็นปริมาณที่มากเกินไป ที่สำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ควรรับประทานให้มีความหลากหลายและในปริมาณที่เหมาะสม

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการต้องมีความเหมาะสม พอดี สะอาด ปรุงสุก และผู้บริโภคจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัย กินร้อน ช้อนของฉัน ตามมาตรการป้องกันป้องกันโรคระบาด  และควรออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอควบคู่กัน เหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีภูมิต้านทานที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วยง่าย เพราะไม่มีพรใดประเสริฐเท่ากับการรับประทานดีมีคุณค่า มีร่างกาย แข็งแรง ห่างไกลโรค

สวทช. อว. เปิดจ้างงาน “สร้างงาน พัฒนาทักษะ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งทีมทำงานวิจัยช่วยชาติ” ให้กับผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 จำนวน 1,974 อัตรา


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ร่วมผลักดันโครงการ “วิจัย 6 ภาค สร้างนวัตกรรม ส่งต่อความยั่งยืน” ระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ว่างงานและได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1,974 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ข้าราชการเกษียณ ก็สมัครได้ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นทีมทำงานวิจัยช่วยชาติ เรียนรู้เปิดรับประสบการณ์ใหม่ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง  นำไปสู่การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม นี้ เป็นต้นไป ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ https://www.nstda.or.th/mhesi-covid19/  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2564 7000 ต่อ 71115, 71128, 71139

ตัววิ่ง
สวทช.อว. เปิดรับสมัครงาน ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ข้าราชการเกษียณ ก็สมัครได้จำนวน 1,974 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม นี้ เป็นต้นไป สนใจดูรายละเอียดได้ที่ https://www.nstda.or.th/mhesi-covid19/หรือ โทร. 0 2564 7000 ต่อ 71115, 71128, 71139

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...