วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อธิบดีกรมปศุสัตว์ให้สัมภาษณ์ประเด็นสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคในม้าทางรายการพูดตรงประเด็น สถานีโทรทัศน์ ททบ.5


      เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เวลา16.00น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ บันทึกเทปรายการ พูดตรงประเด็น ในหัวข้อสถานการณ์โรคกาฬโรคในม้า (American horse sickness)ในปัจจุบันทางสถานีโทรทัศน์ ททบ.5 โดย คุณอรอุมา เกษตรพืชผล เป็นพิธีกรดำเนินรายการ

       สถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 พบการระบาดของโรคพื้นที่ 8 จังหวัต ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดชลบุรี จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดสระแก้วและจังหวัดสระบุรี มีจำนวนม้าป่วยสะสมจำนวน 545 ตัว ตายสะสมจำนวน 511 ตัวแนวโน้มการเกิดระบาดของโรค มีแนวโน้มที่ลดลง โดยมีรายงานจำนวนสัตวปวายตายใหม่ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 คือ พบม้าป่วยจำนวน 1 ตัว ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และตายจำนวน 2 ตัวในพื้นที่ จังหวัดนคราชสีมา และจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดละ1ตัวเท่านั้น

     ทั้งนี้ในช่วงที่ยังคงมีการระบาดของโรค เนื่องจากโรคนี้สามารถนำโดยแมลงดูดเลือดที่สามารถบินได้ในระยะทางไกล อีกทั้งในช่วงที่มีมรสุม ลมพัดแรง ฝนตกหนัก แมลงเหล่านี้จะมีมากดังนั้นจึงขอนั้นย้ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงม้าทุกราย ปฎิบัติ ดังนี้
1.ป้องกันไม่ให้แมลงดูดเลือดเหล่านี้ไปกัดม้า โดยใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มalphacypermethrin, pyrethroid หรือยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นที่เหมาะสมรมควัน หรือพ่นมุ้ง และใช้ยาไล่แมลง Etofenprox หรือยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นที่เหมาะสมพ่นบนตัวม้า และกางมุ้งด้วย
2.กำจัดแมลงและแหล่งเพาะพันธุ์แมลง เช่น มูลม้า โดยการทำความสะอาด ทำให้สถานที่เลี้ยงม้าแห้งอยู่เสมอ และใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสม เช่น ไซเปอร์เมทริน
3.ให้พาม้าเดินในช่วงเวลากลางวัน และสองชั่วโมงหลังอาทิตย์ขึ้น สองชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก ให้พ่นยาไล่แมลง
4.หลีกเลี่ยงการนำหญ้าฟางจากพื้นที่มีการระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า
5.ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขลุมม้า ที่ปาดกีบ เหล็กปาก ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มglutaraldehyde ก่อนและหลังการใช้งาน รวมถึงคอกเลี้ยง บุคคล ยานพาหนะที่เข้า และออกฟาร์ม เช่น รถขนอาหาร
6.งดการนำพ่อพันธุ์ม้าจากฟาร์มอื่นเข้ามาผสมในช่วงที่มีการระบาดของโรค
7.ขยะติดเชื้อที่มีการปนเปื้อนเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ให้ใส่ถุงพลาสติก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และนำไปฝัง
8.หลีกเลี่ยงการนำม้าไปอาบน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะมาเลี้ยงม้า
9.หากมีม้าสงสัยว่าป่วย อาทิ มีอาการ มีไข้ (อุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) หรือตายให้แจ้งสัตวแพทย์ที่ปรึกษาฟาร์ม และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตหันที โดยหากมีม้าตายให้ฝังซากม้าทันที โดยให้ส่วนบนสุดของซากอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินอย่างน้อย 50เชนติเมตร และโรยปูนขาวและน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ระวังไม่ให้สัตว์อื่นมาสัมผัสซาก หรือสิ่งคัดหลั่งจากซาก ห้ามฝ่าซากชำเหละหรือจำหน่าย จ่ายแจกหากว่าฝืนมีโทษตามกฎหมายพรบ.โรคระบาดสัตว์ พศ.2558

       ทั้งนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงม้ายึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันโรคและลดความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงม้า ต่อไป
    ณ สถานีโทรศัพท์ ททบ.5




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...