วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

กรมปศุสัตว์ชวนประชาชนทั่วประเทศนำสุนัขและแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

          กรมปศุสัตว์ชวนประชาชนทั่วประเทศนำสุนัขและแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าฟรีที่ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอและจุดบริการของแต่ละท้องถิ่นต่อเนื่อง 6 เดือน ตามยุทธศาสตร์โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าปี 63 ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรค


          นายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ได้จัดทำโครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัขและแมว ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า  ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พ.ศ. 2560-2563 โดยบูรณาการควบคุมประชากรสุนัขและแมวด้วยการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของ สัตว์ด้อยโอกาส สัตว์กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกิดโรคหรือเคยเกิดโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าและทำให้ประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในที่สุด ในพ.ศ. 2563 จะปฏิบัติงานอย่างเข้มข้นจึงขอให้ประชาชนและเจ้าของสัตว์เลี้ยงร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตาม 4 มาตรการดังนี้ มาตรการที่ 1 แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเมื่อพบสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ มาตรการที่ 2 พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าประจำปีได้ที่จุดนัดหมายตามที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำหนดหรือสถานพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน โดยกำหนดการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการผ่าตัดทำหมันฟรี 6 เดือนระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 31 กรกฎาคม 2563 มาตรการที่ 3 ไม่ปล่อยหรือละทิ้งสัตว์เลี้ยงและควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงในจำนวนที่เหมาะสม โดยติดต่อขอรับบริการผ่าตัดทำหมันได้ฟรีที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และมาตรการที่ 4 หากถูกกัดหรือสัมผัสสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าให้รีบไปพบแพทย์ทันที

       
          ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าประสบสำเร็จเป็นลำดับโดยอัตราผู้เสียชีวิตลดลง จากสถิติปี 2561 พบผู้เสียชีวิต 18 ราย ปี 2562 พบผู้เสียชีวิต 3 ราย สำหรับปี 2563 ตั้งเป้าหมายไม่ให้มีผู้เสียชีวิต โดยกรมปศุสัตว์ถอดบทเรียนจากวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นวงกว้างในปี 2561 พบว่า เกิดจากการขาดแคลนวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรค ขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพของวัคซีน อีกทั้งวัคซีนที่ใช้ในการฉีดป้องกันโรคต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทำให้ขาดความมั่นคง ดังนั้นจึงร่วมกับทุกภาคส่วนแก้ไขโดยบูรณาการบริหารจัดการวัดชีนและการกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ซึ่งกรมปศุสัตว์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และบริษัทผู้นำเข้าวัคซีนคำนวณจำนวนวัคซีนที่ต้องใช้คือ กรมปศุสัตว์ 1 ล้านโดส องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 12 ล้านโดส กรุงเทพมหานคร 300,000 โดส และคลินิกเอกชน 1 ล้านโดส รวม 14 ล้านโดส จากนั้นแจ้งบริษัทผู้นำเข้าให้นำเข้า 14.9 ล้านโด้ส ในห้วงเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับการปฏิบัติงานฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงทำให้มีวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการและศรอบคลุมทุกพื้นที่

          สำหรับวัคซีนที่จะนำไปใช้นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะตรวจคุณภาพก่อนที่ สร้างความเชื่อมันด้านคุณภาพวัดซีน โดยได้ดำเนินการตรวจคุณภาพวัคซีน คุณภาพ อีกทั้งหลังการฉีดแล้วต้องตรวจสอบภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ โดยหน่วยงานภายนอกได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า วัคซีนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจในคุณภาพวัคซีน ส่วนการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีน ได้ร่วมกับสถาบันวัคซินแห่งชาติ อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิจัยและพัฒนา วัคซีนป้องกันโรคขึ้นในประเทศ

           อธิบดีกรมปศุสัตว์บอกอีกว่าปีนี้ได้เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมจำนวนประชากรสุนัข-แมวจรจัดและด้อยโอกาสสัตว์ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า 600,000 ตัว/ปี คิดเป็น 20% ของสัตว์จรจัดและด้อยโอกาส เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งควบคุม 300,000 ตัว/ปี โดยเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการลดการะบาดของโรคพิษสุนัขบ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...