วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป จัดการประชุมคณะวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ครั้งที่ 1/2563 เพื่อหารือสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน และหารือแนวทางกำจัดวัชพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป จัดการประชุมคณะวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ครั้งที่ 1/2563 เพื่อหารือสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน และหารือแนวทางกำจัดวัชพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร


          สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป โดย นายองอาจ กิตติคุณชัย อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตข้าวโพดหวาน จัดการประชุมคณะวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ศุกร์ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมโนโวเทล เชียงใหม่ นิมมาน เจอร์นี่ย์ ฮับ จังหวัดเชียงใหม่


          โดยได้ร่วมกันพิจารณา รายงานสถานการณ์วัตถุดิบข้าวโพดหวาน ด้านปริมาณการผลิตและพื้นที่เพาะปลูก สถานการณ์เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ราคาวัตถุดิบและการส่งออกสินค้าข้าวโพดหวานปี 2562 รวมถึงหารือเกี่ยวกับโครงการกลยุทธ์กำจัดวัชพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยมีคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย

          นายองอาจ กิตติคุณชัย เปิดเผยว่า สถานการณ์วัตถุดิบข้าวโพดหวานมีปริมาณลดลง ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ภัยแล้ง การระบาดของหนอนกระทู้ลายจุด ซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงได้ถึง 80% รวมถึงข่าวสารการระบาดของตั๊กแตนทะเลทรายในต่างประเทศ การกำจัดวัชพืชถูกจำกัดด้วยปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงยังมีความมีความจำเป็นในการใช้สารเคมีในการควบคุมวัชพืช และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสารตกค้างจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร โดยจัดโครงการกลยุทธ์กำจัดวัชพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งมีระยะเวลาโครงการ 1 ปี


          ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การทดลองตามโครงการดังกล่าว จะเป็นการนำจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ร่วมกับสารสกัดจากพืช ในการกำจัดวัชพืชแทนสารเคมี เพื่อให้เป็นไปตามทิศทางด้านการเกษตรในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการทำเกษตรปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การวิจัยต่อยอดสู่การสังเคราะห์อนุภาคนาโนที่สามารถทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชในแปลงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


          ในส่วนของงาน 2nd International Sweet Corn Conference 2020 ซึ่งสมาคมฯ มีกำหนดจัดงานในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เพื่อเป็นเวทีสื่อกลางให้ผู้ผลิต นักวิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจข้าวโพดหวานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน รวมถึงร่วมกันวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทางสมาคมฯ มีความห่วงใยในสุขภาพของผู้ที่เข้าร่วมงาน และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงได้เลื่อนการจัดงานดังกล่าวไปก่อน โดยสมาคมฯจะแจ้งกำหนดการจัดงานให้ทราบในโอกาสต่อไป

          ทั้งนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวโพดหวาน เพิ่มผลผลิตต่อไร่ การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ระบบน้ำเพื่อการเกษตร ต้นทุนการผลิตของเกษตกร รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเกษตร เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน นายองอาจ กล่าวทิ้งท้าย

วาง 4 แนวทาง สร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการสหกรณ์


วาง 4 แนวทาง สร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการสหกรณ์

          เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ  ประจำปี 2563 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับขบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศ จัดพิธีน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย โดยในส่วนกลาง สันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย และขบวนการสหกรณ์ไทยและเครือข่าย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดพิธีวางพานพุ่ม เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย” ณ บริเวณลานพระรูปพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย สันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน

          นายพิเชษฐ์  วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยผู้สื่อข่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปี 2563  เพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการสหกรณ์ ว่า กรม ฯ ได้วางแนวทางการกำกับดูแลสหกรณ์ไว้ 4 เรื่อง หลัก ๆ คือ


          1) การบริหารจัดการภายในของสหกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้สหกรณ์เกิดความบกพร่องและมีปัญหา กรมฯ จะเข้าไปส่งเสริมให้เกิดระบบบริหารจัดการ ระบบควบคุมภายใน  โดยฝ่ายจัดการของสหกรณ์ต้องเข้าไปควบคุมดูแลให้ใกล้ชิดขึ้น
          2) การพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์  สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตรจะเน้นเรื่องการรวบรวมผลผลิต และราคาพืชผลการเกษตร  การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการเก็บชะลอผลผลิตต่าง ๆ  ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์ ปีนี้จะเน้นเรื่องการตรวจสอบภายใน  โดยจะให้ความรู้แก่สมาชิกเพื่อเข้ามาดูแล  ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสหกรณ์  ขณะนี้ได้เริ่มให้ความรู้แก่สมาชิกผ่านทางระบบออนไลน์เป็นลำดับแรก เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระบบสหกรณ์
          3) บทบาทของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์  จะเน้นเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ด้วยการวางข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อการป้องกัน  รวมไปถึงการให้เจ้าหน้าที่ของกรม ฯ เข้าไปดูแล ให้คำแนะนำในช่วงก่อนที่จะตัดสินใจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา  และเมื่อสหกรณ์เกิดปัญหา  ก็ได้กำชับให้สหกรณ์จังหวัดในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว ฉับไว  เพื่อไม่ให้ความเสียหายลามเข้าไปในสหกรณ์และลามไปถึงสมาชิก
          4) การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้สมาชิกสหกรณ์โดยการพัฒนาอาชีพ เพราะในปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์ในภาคการเกษตร มีหนี้สินครัวเรือนสูงมาก กรมฯ จะเข้าไปดูแลในส่วนนี้ หลังจากนั้นไปดูเรื่องการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์เพื่อให้มีเงินมาชำระหนี้


          สำหรับเรื่องการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้กับสหกรณ์ ปีนี้จะเน้นเรื่องการเกษตรที่ทำรายได้เร็ว เช่น พืช ผัก ผลไม้ และจะเน้นผลผลิตที่มีมาตรฐาน จีเอพีและสินค้าเกษตรอินทรีย์  มีสร้างระบบน้ำขึ้นมารองรับ ปีนี้กรม ฯ จะสนับสนุนเงินกู้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ในการจัดหาแหล่งน้ำ  เป็นเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ประมาณ 700 ล้านบาท  รวมกับเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรอีก 500 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งผ่านความเห็นชอบ เพื่อให้สมาชิกกู้ไปเพื่อจัดหาแหล่งน้ำ  ขุดสระน้ำ หรือขุดบ่อบาดาล
ในส่วนของการดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐ  นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้กำกับดูแลงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้วางแนวทางการดำเนินงานให้กรม ฯ ไว้ 2 เรื่อง  คือ การสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตของสหกรณ์ เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของสหกรณ์ ขณะเดียวกันก็จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการผลิตสินค้าปลอดภัยขึ้นในกระบวนการสหกรณ์ ปีนี้ตั้งเป้าไว้ประมาณ 100 สหกรณ์  ที่จะทำเรื่องผลิตสินค้าปลอดภัยและสินค้าอินทรีย์  ส่วนเรื่องที่สอง คือเรื่องพาเกษตรกรกลับบ้าน  เป็นการสร้างนักเกษตรรุ่นใหม่ที่ประกอบอาชีพการเกษตร  แล้วก็จะดึง
สหกรณ์เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการช่วยเหลือพวกสมาชิกเหล่านั้น  และต่อจากนั้นเราก็คาดหวังไว้ว่า  คนกลุ่มนี้จะกลับเข้ามาเป็นผู้บริหารสหกรณ์ในอนาคต

          นายพิเชษฐ์ ได้ให้ความเห็นถึงกรณีที่มีความกังวลต่อโรคระบาด โควิด-19 ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไปประเทศจีน ว่า การส่งออกผลไม้ของขบวนการสหกรณ์ไม่ได้ส่งออกด้วยตนเอง แต่ส่งผ่านทางผู้ส่งออก ขณะนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สำรวจตัวเลขผลไม้ที่ส่งออกทั้งหมดที่ร่วมกับผู้ประกอบการแล้วว่าหากมีการชะลอการส่งออกจริง  จะต้องส่งผลกระทบแน่นอน ซึ่งกรมฯ ได้วางแผนเตรียมรับมือ และหาทางออกในเบื้องต้นไว้แล้ว เช่น การกระจายสินค้าภายในประเทศ  ซึ่งกรมฯ ก็ได้เชื่อมเครือข่ายสหกรณ์ไว้มากพอสมควรที่จะกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศได้  แต่จะสามารถรองรับปริมาณผลไม้ทั้งหมดได้หรือไม่ ยังไม่สามารถบอกได้  เพราะยังไม่มีตัวเลขที่แท้จริง  เป็นเพียงการคาดการณ์ไว้เท่านั้น  แต่ขณะนี้ข้อมูลทั้งหมด กรม ฯ ได้รวบรวมไว้หมดแล้ว  เหลือแต่รายละเอียดเป็นรายสหกรณ์  และอยู่ระหว่างพิจารณาหาทางรับมือเพื่อลดผลกระทบ

สวก. จับมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ เดินหน้า วิจัย"ไข่ไก่" เพื่อแก้ปัญหาเด็กไทยขาดโปรตีน

สวก. จับมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ 
เดินหน้า วิจัย"ไข่ไก่" เพื่อแก้ปัญหาเด็กไทยขาดโปรตีน
                 สวก. เดินหน้าสนับสนุนงานวิจัยคุณค่าทางอาหารของไข่ไก่ เพื่อเป็นอาหารที่สำคัญของเด็กไทย ไม่ให้มี
ภาวะทุพโภชนาการต่อไป เริ่มโครงการจากนักเรียนระดับชั้น ป.3-.1 ในพื้นที่ชนบท จำนวน 700 คน ใน 6 โรงเรียน ในพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดราชบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดนครปฐม โดยให้บริโภควันละ 2 ฟองต่อคน เพิ่มไปจากการบริโภคปกติ สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลา 9 เดือน หรือ 2 ภาคการศีกษา




จากการพัฒนาอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกที่ผ่าน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโลกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก ได้มีการรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาทั้งในระดับชาติและสากล ที่ทุกประเทศจะต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพบว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายประเทศ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา องค์การสหประชาชาติ (UN) จึงได้กำหนด       เป้าหมายใหม่เน้นไปที่การพัฒนามิติต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน จนได้มาเป็น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่ปี 2558 ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายเหล่านั้น คือ การขจัดความหิวโหย หรือ Zero Hunger (SDGs 2)

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ โครงการ ผลการรับประทานไข่ไก่กับผลต่อโภชนศาสตร์ระดับโมเลกุลรายบุคคลในเด็กประถมศึกษา (The Effect of Continuous Egg Supplement on Personalized Nutri-Omics in Primary School Children – SI-EGG Study) ซึ่งมี นายแพทย์ กรภัทร มยุระสาคร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เนื่องจากประเทศไทยที่มีเด็กขาดสารอาหารสูงถึง 500,000 คน เกิดภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน (protein-energy malnutrition ; PEM) ดัชนีชี้วัดที่สำคัญของภาวะสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของชาติ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตในเด็ก จากการสำรวจของ The Multiple Indicator Cluster (MICS) ที่รัฐบาลไทยทำการศึกษาร่วมกับ UNICEF พบว่า ภาวะเตี้ย ขาดธาตุอาหาร เช่น วิตามินเอ เหล็ก และซีด ในเด็กไทยโดยเฉพาะในเขตชนบท


                              อาจารย์ นายแพทย์กรภัทร มยุระสาคร อาจารย์ประจำกลุ่มวิจัยสุขภาพประชาการ และโภชนาการ และหน่วยอณูเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาติดตามว่า หากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้รับการบริโภคไข่ไก่เป็นเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งคิดเป็นจำนวนไข่ที่เพิ่มไปเป็นจำนวนเท่ากับ 360 ต่อคนต่อปี เด็กกลุ่มดังกล่าวจะมีการเจริญเติบโตที่มากขึ้นอย่างไร และมีระดับโปรตีน และคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นอย่างไร โดยโครงการวิจัยนี้ได้ติดตามการเจริญเติบโต การบริโภคอาหาร และการเปลี่ยนแปลงชีวเคมี และจุลชีพในร่างกายของเด็กอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
            ไข่ไก่ เป็นโปรตีนคุณภาพดี ราคาย่อมเยา และหาได้ง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ทุกเศรษฐานะด้วยเหตุ
ดังกล่าว การใช้ไข่ไก่ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยจะเป็นการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิภาพของไข่ไก่ในระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม ประเทศที่เจริญแล้ว อย่างญี่ปุ่น อเมริกา เฉลี่ยแล้วจะบริโภคไข่กันคนละกว่า 350 ฟองต่อปี ทำให้เยาวชนของประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาการทางสมองที่ดี สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แต่คนไทยบริโภคไข่เพียงคนละ 220-250 ฟองต่อปีเท่านั้น ทำให้เด็กไทยจำนวนมากเกิดโรคขาดสารอาหาร" ผลของการดำเนินการวิจัยนี้จะช่วยตอบคำถามถึงคุณประโยชน์ของไข่ไก่ต่อการ
เจริญเติบโตของเด็กนักเรียนไทย ทั้งยังตอบสนองต่อนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างความมั่นคงทางโภชนาการให้กับเด็กไทย


           คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็ก ตลอดจนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเมตาโบโลมิกส์ การเปลี่ยนแปลงของโปรตีน และคอเลสเตอรอลในเลือด รวมทั้งรูปแบบของขนาดคอเลสเตอรอล และวัดการเจริญเติบโตหลังจากการรับประทานไข่ไก่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมหลายแห่งในประเทศไทย โดยจะดำเนินการทดลองโดยให้อาสาสมัครรับประทานไข่ไก่ต้มจำนวน 3 ฟอง / สัปดาห์ หรือ 10 ฟอง/ สัปดาห์ ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ เสริมไปกับมื้ออาหารกลางวันของเด็กนักเรียนวัย 8 – 14 ปี ในโรงเรียนเขตชนบท จำนวน 400 คน จากผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลอง เด็กนักเรียนมีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 56.2 และระดับพรีอัลบูมิน (pre-albumin) ในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 29.1 แต่หลังจากการทดลอง 12 สัปดาห์ ระดับโปรตีนในเลือดของเด็กมีปริมาณเพิ่มขึ้นจนมีระดับปกติอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด นอกจากนี้ การรับประทานไข่ไก่ทำให้มี HDL เพิ่มปริมาณมากขึ้น ในขณะที่ LDL มีปริมาณลดลง เป็นข้อบ่งชี้ว่า การรับประทานไข่ไก่ นอกจากจะช่วยเพิ่มระดับโปรตีนในร่างกายและยังแก้ไขภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติได้อีกด้วย
ผลจากการศึกษาดังกล่าว ทำให้ทราบถึงปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคไข่ไก่ เนื่องจากไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญที่มีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่าย เหมาะสมกับทุกวัย หากเทียบกับแหล่งโปรตีนชนิดอื่นที่มีราคาสูงกว่า ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และแก้ไขปัญหาด้านการขาดสารอาหารที่สำคัญของวัยเด็กได้เป็นอย่างดี
        

             กระบวนการวิจัยดำเนินการโดยการแบ่งอาสาสมัครออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่บริโภคอาหารปกติของโรงเรียน กลุ่มที่บริโภคไข่ขาวหรือโปรตีนเทียบเท่าไข่ขาวสองฟองต่อวัน และกลุ่มที่บริโภคไข่แดง หรือเมนูเทียบเท่าไข่แดง เช่น ไข่ดาวลาบ อาสาสมัครทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับไข่ไก่มารับประทานสัปดาห์ละ 5 วันเพิ่มเติมไปจากอาหารปกติที่บริโภคแต่ละวัน
ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การรับประทานไข่ไก่ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การรับประทานไข่ไก่ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มระดับไขมันในเลือด แต่พบกลุ่มที่บริโภคอาหารปกติของโรงเรียน มีปริมาณของคอเลสเตอรอลที่สูงกว่ากลุ่มอื่นประมาณ 3-5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
 โครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 และจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในระหว่างทดลองนั้นจะมีการวัดการเปลี่ยนแปลงภาวะโปรตีนในร่างกาย รวมถึงการคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด การเจริญเติบโต หลังจากนี้ทีมคณะผู้วิจัยจะได้นำตัวอย่างที่ได้ ไปทำการวิเคราะห์โดยละเอียดก่อนที่จะสรุปผลการวิจัยทั้งหมดในต้นปีหน้า 


วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เฉลิมชัย” เปิดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ’63 ชูสหกรณ์ หนุนเศรษฐกิจฐานรากพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้สังคม อย่างยั่งยืน

เฉลิมชัย” เปิดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ’63 
ชูสหกรณ์ หนุนเศรษฐกิจฐานรากพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้สังคม อย่างยั่งยืน

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2563 ว่า สหกรณ์ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวกันของประชาชนในระดับฐานรากเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกโดยวิธีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ ด้วยการมีส่วนร่วมของสมาชิก ความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ การเอื้ออาทรต่อชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมาก

          ทั้งนี้สันนิบาตสหกรณ์ฯ ได้จัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2563 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อถวายสักการะและรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ “พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย” และเป็นการแสดงถึงพลังความสามัคคีของขบวนการสหกรณ์ ที่ได้ร่วมกันเผยแพร่อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้เป็นที่ยอมรับ ภาคส่วนราชการโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสันนิบาตสหกรณ์ฯซึ่งถือเป็นหัวขบวนของสหกรณ์ไทย ควรร่วมมือกันส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ เข้าใจวิธีการสหกรณ์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และร่วมกันพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขต่อไป


ขณะที่นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) กล่าวว่า สันนิบาตสหกรณ์ฯได้จัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติเป็นประจำทุกปี นอกจากจะมีการวางพุ่มสักการะ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" แล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความรู้รักสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของขบวนการสหกรณ์ไทย ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ระบบสหกรณ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น


          สำหรับการสหกรณ์ในประเทศไทยนั้นได้มีการพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ในประเทศต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับเป็นลำดับแรก สหกรณ์จำเป็นต้องนำระบบการบริหารจัดการในด้านต่างๆ มาปรับใช้ในสหกรณ์ ทั้งนี้การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์เป็นงานที่ต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐและขบวนการสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันสันนิบาตสหกรณ์ฯได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในประเทศ

“นับเป็นโอกาสดีที่ขบวนการสหกรณ์จะได้มาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำข้อมูลไปพัฒนาสหกรณ์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ขบวนการสหกรณ์จะต้องเรียนรู้การสหกรณ์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วย เพื่อพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในมิติที่กว้างขวางขึ้น จึงขอชวนเชิญพี่น้องในขบวนการสหกรณ์และประชาชนทั่วไป มาร่วมงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2563 จัดขึ้นที่ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย กรุงเทพฯ ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการ การจัดแสดงสินค้าสหกรณ์จากทั่วทุกภูมิภาค มีสินค้าให้จับจ่ายใช้สอยในราคาประหยัดมากมายหลายอย่าง มาร่วมอุดหนุนสินค้าสหกรณ์กันได้ครับ” นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานฯ สสท. กล่าว

กรมชลฯเดินหน้าทำความเข้าใจโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิง

กรมชลฯเดินหน้าทำความเข้าใจโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิง

          วันที่ 25 ก.พ. 63 ที่ผ่านมานายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายไชยงค์  จงอาสาชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 นำคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงสำรวจพื้นที่และพบปะประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน บริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการอาคารบังคับน้ำแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

          นายเฉลิมเกียรติ กล่าวว่า กรมชลประทานได้จัดทำแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการฯ จำนวน 3 แห่ง เพื่อนำไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก พื้นที่รับประโยชน์ 32,500 ไร่ โครงการอาคารบังคับน้ำวังยางหนองขวัญ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่รับประโยชน์ 601,585 ไร่ และโครงการอาคารบังคับน้ำคลองกระถิน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่รับประโยชน์ 112,500 ไร่ โดยทั้ง 3 โครงมีลักษณะเป็นฝายคอนกรีตพร้อมบานระบาย

          อย่างไรก็ตามการดำเนินการครั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจุบันแม่น้ำปิงมีสภาพตื้นเขิน มีปัญหาตะกอนทราย เกาะแก่งในลำน้ำ ทำให้ร่องน้ำเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้ราษฎรสูบน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรไม่ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ รวมทั้งโรงสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค การประปาของเทศบาลและท้องถิ่น ก็พบกับปัญหาการสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาสำหรับชุมชนเมือง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำปิงต่ำมาก เนื่องจากการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล อยู่ในเกณฑ์น้อยในแต่ละวัน สาเหตุจากปริมาณน้ำในอ่างฯที่อยู่ในเกณฑ์น้อย

          ทั้งนี้ความต้องการของประชาชนทั้งในภาครัฐ ภาคการเกษตร ภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนของจังหวัดตาก ต่างต้องการให้มีการศึกษาและก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำปิง ในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้สามารถชะลอน้ำไว้ เพื่อยืดระยะเวลาการสูบน้ำส่งให้กับพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตร การประมง และส่งเสริมการท่องเที่ยว หากโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำทั้ง 3 แห่งสามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จจะสร้างประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก

อธิบดีกรมชลฯสั่งการโครงการชลประทาน ในพื้นที่ประสานงานช่วยเหลือภารกิจดับไฟป่า

อธิบดีกรมชลฯสั่งการโครงการชลประทาน ในพื้นที่ประสานงานช่วยเหลือภารกิจดับไฟป่า พร้อมเดินหน้าช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้งกำชับ
เร่งบรรเทาความเดือดร้อน ราษฎรทุกพื้นที่เน้นน้ำอุปโภคบริโภคต้องไม่ขาดแคลน  เด็ดขาด

       ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ขณะนี้คนได้สั่งการสำนักงานโครงการในทุกพื้นที่ที่ประปัญหาไฟป่าและพื้นที่แห้งแล้งเร่งให้ความช่วยเหลือสนับสนุนน้ำให้แก่ราษฎรทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำ เครื่องจักรต่างๆ เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ประกอบกับมีเศษใบไม้แห้งที่เป็นเชื่อเพลิงอย่างดี ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควันในหลายพื้นที่

          โดยภารกิจด้านสนับสนุนการดับไฟป่าบริเวณเขาขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก นั้น กรมชลประทาน ได้ส่งรถบรรทุกน้ำ 8 คัน พร้อมเครื่องจักรส่วนหนึ่ง เข้าไปช่วยเติมน้ำให้กับจุดปฏิบัติการดับไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะร่วมปฏิบัติภารกิจดังกล่าวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ที่จังหวัดตราด เกิดไฟไหม้ป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำสะพานหิน อำเภอเมืองตราด ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โครงการชลประทานตราด ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ส่งรถบรรทุกน้ำพร้อมเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าว จนสามารถควบคุมเพลิงได้แล้ววานนี้(24 ก.พ. 63) แต่ยังคงกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายและไฟป่าที่อาจจะลุกโซนขึ้นมาได้อีกขณะเดียวกันยังได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้ร่วมเฝ้าระวัง ติดตาม และสำรวจพื้นที่โดยรอบบริเวณอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่อยู่ในความดูแล เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่า

          นอกจากนั้นกรมชลประทาน ยังปฏิบัติการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ทั่วประเทศโดยเฉพาะที่จังหวัดอ่างทอง เจ้าหน้าที่สำนักงานชลประทานที่ 12 ได้ลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์น้ำในคลองมะขามเฒ่า-กระเสียว บริเวณประตูระบายน้ำ(ปตร.)บ้านยางกลาง คลองส่งน้ำ 1 ขวา และบริเวณหน้าวัดวังน้ำเย็น เพื่อติดตามการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตร(ไม้ผล) "แปลงใหญ่มะม่วง" อ.สามโก้ และสนับสนุนน้ำเพื่อรักษาพันธุ์ปลา ที่อาศัยอยู่ในสระน้ำวัดวังน้ำเย็น ที่จังหวัดนครราชสีมา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ได้นำรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับราษฎรในพื้นที่บ้านเกราพัฒนา หมู่ 16 ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง และหมู่ที่ 1 , 4 และ 8 ตำบลบ้านหัน อำเภอสีคิ้ว      ที่จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานชลประทานที่ 12 ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง บริเวณหมู่ 6 ตำบลสนามคลี  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำ


          ทั้งนี้กรมชลประทาน ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด และปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัด เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่จำกัด เพื่อให้ทุกพื้นที่มีน้ำอุปโภคบริโภคไม่ขาดตลอดฤดูแล้งโดยหากต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำ หรือมีข้อสักถามสามารถประสานไปได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือ โทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460

Pyometra หรือมดลูกอักเสบ

Pyometra หรือ มดลูกอักเสบ

 
   สาเหตุ
 - การกระตุ้นของมดลูกที่มีระดับความผิดปกติของฮอร์โมน ทำให้เยื่อบุของมดลูกหนา และมีของเหลวสะสมอยู่ภายในมดลูก  สาเหตุหลักเนื่องมาจากการ "ฉีดยาคุมกำเนิด"
 - ติดเชื้อในมดลูก ทำให้เกิดหนอง

อาการเบื้องต้นที่พบ
 ซึม เบื่ออาหาร กินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด ในกรณีที่ปากมดลูกเปิดมักเริ่มพบหนองไหลออกจากช่องคลอด แต่ถ้าสุนัขไม่มีหนองไหลออกมา แสดงว่าปากมดลูกปิด  ซึ่งภาวะนี้อันตรายถึงชีวิต เนื่องจากอาจทำให้มดลูกแตก และเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงได้

 การรักษาโรค : การรักษาทางยามักไม่ได้ผล ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดเอามดลูกที่มีการติดเชื้อและรังไข่ออก นอกจากนี้ยังมีการฉีดฮอร์โมนที่เรียกว่า prostaglandins  ใช้ในกรณีที่สุนัขอ่อนแอมาก ๆ จนกระทั่งไม่สามารถผ่าตัดได้ในทันที เพื่อขับหนองออกทางช่องคลอด ลดภาวะความเจ็บปวด (ใช้ได้เฉพาะที่กรณีปากมดลูกเปิดเท่านั้น) 

การดูแลหลังการผ่าตัด
- ป้องกันสัตว์เลียแผล ห้ามกัดแทะแผลผ่าตัด ห้ามแผลเปียกน้ำ ควรมีการสวมอุปกรณ์กันเลีย เช่น ปลอกคอกันเลีย เสื้อหลังผ่าตัด เป็นต้น
- จำกัดบริเวณโดยให้ขังไว้ในกรงหรือห้ามกิจกรรมที่กระโดด
- ป้อนยาสัตว์ตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบหลังผ่าตัด
- ถ้าแผลเปียกหรือมีปัญหา ให้พาไปพบสัตวแพทย์
- ห้ามใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลเด็ดขาด

Cr.กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กรมประมง...ชี้ พิษ “โควิด-19” ป่วน!! กระทบธุรกิจประมงไทย

กรมประมง...ชี้ พิษ “โควิด-19” ป่วน!! กระทบธุรกิจประมงไทย
          แนะเกษตรกรควรปรับตัวเพื่อหาทางรอด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

          จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง  ไม่เว้นแต่ภาคธุรกิจประมง   ล่าสุด…โฆษกกรมประมง แจงตัวเลขคาดการณ์ผลกระทบต่อสินค้าประมงไทย อาจทำให้สูญเสียรายรวมกว่า 604.5 – 1,179 ล้านบาท  เหตุจากปัจจัยที่นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง และการส่งออกในตลาดตลาดหลักเริ่มชะลอตัว นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยว่า 
          จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โรคโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศจีนและขยายวงกว้างไปอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก รวมถึงธุรกิจภาคการประมงด้วย ซึ่งหลังจากที่เกิดโรคโควิด-19 เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา ทำให้การส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทยไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก รองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเกิดการชะลอตัว.                      เนื่องจากมีความยากลำบากในการขนส่งมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากุ้งทั้งแบบมีชีวิตและกุ้งสดแช่เย็น ที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง และต้องใช้บริการการขนส่งทางอากาศเท่านั้น ซึ่งผลจากการประกาศยกเลิก หรือ ปรับลดเที่ยวบินได้ส่งผลกระทบทำให้สินค้ากุ้งที่เคยส่งออกมีปริมาณลดน้อยลงกว่าในช่วงสภาวะปกติอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลสถิติของกรมประมงในปี 2562 พบว่าตัวเลขการส่งออกกุ้งมีชีวิตและกุ้งสดแช่เย็น (กุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ) ไปจีนมีปริมาณถึง 10,240 ตัน มูลค่า 2,217 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 ของสินค้าประมงทั้งหมดที่ส่งออกไปจีน
          แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ว่าการส่งออกสินค้ากุ้งมีชีวิตและกุ้งสดแช่เย็น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2563 จะลดลงร้อยละ 50 - 95 เหลือเพียง 1,500 - 2,900 ตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 340 - 650 ล้านบาท สำหรับสินค้าอื่น ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป และปลาแช่เย็นแช่แข็ง ได้รับผลกระทบเล็กน้อย เพราะมีการส่งออกเพียงร้อยละ 6
ส่วนด้านการบริโภคสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศนั้น ปกตินักท่องเที่ยวจากต่างประเทศซึ่งมีกำลังซื้อมากจะใช้จ่ายเงินอยู่ที่ประมาณ 5,290 บาทต่อคนต่อวัน โดยเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 19 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ที่มา : สำนักสถิติแห่งชาติ) ซึ่งเมื่อหากนำพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบริโภคเฉพาะสัตว์น้ำของนักท่องเที่ยวคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.5 - 5 เนื่องจากไม่มีข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ระบุในด้านนี้โดยตรง คาดการณ์ว่าจะทำให้สูญเสียรายได้ในการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำถึง 264.5 - 529 ล้านบาท จากการที่นักท่องเที่ยวชะลอ หรืองดการเดินทางมายังประเทศไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นิยมรับประทานอาหารทะเล

พิธีลงนามข้อตกลง ไทย-เนเธอร์แลนด์ ด้วยการส่งเสริมการค้าแบบดิจิทัล

         พิธีลงนามข้อตกลง ไทย-เนเธอร์แลนด์ ด้วยการส่งเสริมการค้าแบบดิจิทัล

            เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมานางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ H.E. Mr. Kees Rade, The Netherlands Ambassador ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วน
ระหว่างกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานความปลอดภัยอาหารและสินค้าบริโภค กระทรวงเกษตร ธรรมชาติ และคุณภาพอาหารแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ว่าด้วยการรับรองอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ Mr. Willem Schoustra, Agricultural Counsellor The Netherlands Embassy เป็นผู้ลงนาม พร้อมนี้นายสุรเดช ปัจฉิมกุล พร้อมด้วยนางวิไลวรรณ พรหมคำ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร


เข้าร่วมในพิธีลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าของสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์พืช รวมถึงเป็นการส่งเสริมการค้าแบบดิจิทัลระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์

กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือประชาชน พื้นที่ไฟไหม้ป่าต่อเนื่องหลัง

กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือประชาชน พื้นที่ไฟไหม้ป่าต่อเนื่องหลัง นครนายก เกิดเหตุไฟปะทุอีกครั้งพร้อมสนับสนุนน้ำและรถบรรทุกน้ำร่วมปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าลดการลุกลามของไฟป่าและปัญหาหมอกควัน ทำลายสุขภาพประชาชน

          ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดับไฟป่าที่ลุกไหม้บนเทือกเขาและลุกลามเข้าใกล้พื้นที่ป่าบริเวณหลังโรงเรียนเตรียมทหาร อ.บ้านนา จ.นครนายก ที่ลุกลามต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยล่าสุดหลายหน่วยงานได้ร่วมกันเข้าดำเนินการดับไฟป่าอย่างต่อเนื่อง จนสถานการณ์เริ่มบรรเทาลงแล้ว แต่เนื่องจากมีลมกระโชกแรง ไฟลุกลามไปติดเทือกเขาอีกหลายลูกกินพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งมีควันไฟปกคลุมหลายหมู่บ้านขี้เถ้าปลิวว่อนลอยเต็มท้องฟ้าตกใส่บ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อน    ซึ่งขณะนี้กรมชลประทาน ยังคงส่งรถบรรทุกน้ำรวม 8 คัน พร้อมเครื่องจักรกล เข้าร่วมปฏิบัติการดับไฟป่าในครั้งนี้อย่างต่อเนื่องสนับสนุนภารกิจดับไฟป่านี้จนกว่าสถานการณ์จะสงบในระยะต่อไป โดยยืนยันจะดำเนินการอย่างเต็มที่จนกว่าสถานการณ์ไฟไหม้จะสงบลง

       
           อย่างไรก็ตามในส่วนสถานการณ์ไฟไหม้ป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ล่าสุดนายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ 8 ตำบลบ้านใหม่สันตึง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกลเคลื่อนที่ ส่งน้ำระยะ 1,000 เมตร ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา เพื่อสูบน้ำไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำห้วยปุ๋มเป้ง และอ่างเก็บน้ำห้วยฮวก สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 450 ราย สวนลำใยอีกกว่า 900 ไร่ นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณหน้าประตูระบายฝายดอยน้อย ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ สำหรับเป็นจุดจ่ายน้ำให้แก่รถบรรทุกน้ำ เพื่อช่วยพื้นที่การเกษตร และสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่อื่นด้วย

          ทั้งนี้จากสถานการภัยอล้งและไหป่าที่เกิดขึ้นนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดงมีความห่วงใยในพี่น้องประชาชน หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง และหมอกควันจากปัญหาไฟไหม้หลายแห่ง ได้สั่งการให้    กรมชลประทาน จัดเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังคน พร้อมเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ตลอดจนสนับสนุนน้ำช่วยในภารกิจดับไฟป่าที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันทั่วประเทศ หากต้องการความช่วยเหลือประสานโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือ โทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

ป่าไม้ลั่น ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรใกล้ป่าไม้ ย้ำต้องรายงานนายอำเภอและป่าไม้ท้องที่ก่อนทุกครั้ง

ป่าไม้ลั่น ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรใกล้ป่าไม้ ย้ำต้องรายงานนายอำเภอและป่าไม้ท้องที่ก่อนทุกครั้ง เฝ้าระวังการลุกลามสู่ผืนป่า ย้ำเมื่อผู้ว่าฯ ประกาศงดเผา ทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือต้องปลอดการเผาในที่โล่งทุกชนิด ตามนโยบายรัฐบาลในการลดกระทบจากฝุ่นละออง PM 2.5

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวว่า ทุกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า" ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 กำหนดให้กรมป่าไม้ซึ่งขณะนั้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าและรณรงค์ให้ประชาชนและเกษตรกรงดจุดไฟเผาป่าเพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา  หน่วยราชการ องค์กรเอกชนถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า รวมถึงป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จากการจุดไฟเผาป่า

          นายอรรถพลกล่าวต่อว่า ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมไฟป่าจังหวัดลำปางใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับจุดความร้อน (Hot Spot) ที่ติดตั้งกับดาวเทียมเพื่อให้ทราบพิกัดที่มีไฟป่า รวมทั้งสามารถระดมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เข้าพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ ปฏิบัติการแบบ “รับแจ้งเหตุเร็ว สั่งการรวดเร็ว และเข้าดับไฟรวดเร็ว” แผนเผชิญเหตุดับไฟป่ามี 3 ระดับคือ แผนดับไฟป่าตามสถานการณ์ปกติซึ่งเป็นไฟป่าเพิ่งเกิด ตรวจพบทันที หรือลุกลามไม่เกิน 100 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้จะร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร และเครือข่ายชุมชนในการปฏิบัติงาน แผนดับป่าในสถานการณ์รุนแรงซึ่งไฟไหม้ลามเกิน 100 ไร่ หรือปฏิบัติการตามแผนที่ 1 จนเกิน 3 วันแล้ว จะตั้งศูนย์อำนวยการดับไฟป่าโดยมีนายอำเภอทำหน้าที่บัญชาการ รวมทั้งจะส่งกำลังพล เครื่องมือ และอากาศยานเข้ามาควบคุมเพลิง และแผนดับไฟป่าในสถานการณ์วิกฤติซึ่งเกิดไฟป่าแล้วใช้แผนที่ 2 ควบคุมไม่ได้เกิน 15 วันจะตั้งศูนย์อำนวยการดับไฟป่าโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่อำนวยการ พร้อมระดมกำลังพล อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ จากทุกภาคส่วนเข้ามาแก้ไขภาวะวิกฤติอย่างเร็วที่สุด
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบจำนวนจุดความร้อนในฤดูแล้งปี 2563 มากกว่าปี 2562  ซึ่งได้มีมาตรการจัดระเบียบการเผา โดยหากจะมีการเผาในพื้นที่เกษตรที่ใกล้ป่าไม้จะต้องแจ้งนายอำเภอและเจ้าหน้าที่ป่าไม้พื้นที่ก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าสู่ผืนป่า รวมถึงไม่ให้มีการเผาพร้อมๆ กันจนมีฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินเกณฑ์มาตรฐาน ขณะนี้บางจังหวัดในภาคเหนือประกาศงดเผาในที่โล่งทุกชนิด เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ซึ่งจะมีการลักลอบเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยกันมากทุกปี จะประกาศงดเผาทั้ง 9 จังหวัด บรรเทาผลกระทบจากปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง PM 2.5 การคมนาคม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ที่สำคัญจะเป็นการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของผืนป่าทั่วประเทศ

ปศุสัตว์ออกมาตรการควบคุมการนำเข้าเนื้อสัตว์และซากสัตว์จากต่างประเทศอย่างเข้มงวดทุกช่องทางการขนส่ง

ปศุสัตว์ออกมาตรการควบคุมการนำเข้าเนื้อสัตว์และซากสัตว์จากต่างประเทศอย่างเข้มงวดทุกช่องทางการขนส่ง ต้องผ่านการตรวจรับรองปลอดโรค เฝ้าระวังโรคที่ติดมากับซากสัตว์อาจแพร่ระบาดสู่ปศุสัตว์และผู้บริโภค

          นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า สั่งการให้สารวัตรปศุสัตว์ตามด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศป้องกันการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์และซากสัตว์อย่างเข้มงวด ทุกช่องทางขนส่งทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศเพื่อป้องกันโรคระบาดสัตว์ที่อาจแพร่ระบาดเข้ามาในไทย โดยในระยะนี้ตรวจพบเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา สถานที่ผลิต ไม่มีเอกสารหลักฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากพนักงานตรวจโรคสัตว์ และหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่บ่อยครั้ง เสี่ยงที่จะมีเชื้อโรคระบาดปะปนมาซึ่งไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศด้วย หากพบสารวัตรปศุสัตว์จะอายัดทั้งหมดเพื่อทำการตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ชัด อีกทั้งเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการว่า มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือไม่

          ทั้งนี้กรมปศุสัตว์กำหนดมาตรการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากต่างประเทศที่จะมาจำหน่ายนั้น ต้องได้รับการตรวจรับรองเพื่อให้มั่นใจว่า สินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) ที่นำเข้าราชอาณาจักรมานั้น ไม่ได้มาจากต้นทางที่เป็นแหล่งของโรคระบาดสัตว์ และไม่มีการควบคุมการผลิต รวมถึงไม่ได้รับการตรวจรับรองใดๆ โดยที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อขอความร่วมมือในการป้องกันการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซากสัตว์ที่นำเข้าอย่างถูกกฎหมายจะต้องมีเครื่องหมายประจำตัว และสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าดังกล่าวได้ จึงทำให้แยกแยะกับซากสัตว์ที่ลักลอบนำเข้าได้ ง่ายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ชุดปฏิบัติงานสุนัขดมกลิ่นตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ในพื้นที่สนามบินทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบผู้โดยสารที่นำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรอย่างผิดกฎหมายด้วยการซุกซ่อนในกระเป๋า (Hand Carry) โดยมีผลการปฏิบัติงานยึดและอายัดซากสัตว์อย่างต่อเนื่อง จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ โดยหน่วยปฏิบัติการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากต่างประเทศได้ทั่วราชอาณาจักร ล่าสุดจัดทำโครงการเข้าตรวจสอบสถานที่พักซากสัตว์ทั่วประเทศเพื่อดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำเข้าซากสัตว์จากต่างประเทศ และนำมาซุกซ่อนไว้ตามห้องเย็นต่างๆ

          “โรคระบาดสัตว์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการระบาดในไทยซึ่งกรมปศุสัตว์เฝ้าระวังเป็นพิเศษได้แก่ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรซึ่งระบาดในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ส่วนในสัตว์ปีกคือ ไข้หวัดนกที่ไทยปลอดโรคมากว่า 10 ปี ตลอดจนต้องเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทั้งจากสัตว์สู่คนและในปศุสัตว์” นายสัตวแพทย์สรวิศกล่าว

อลงกรณ์ - นราพัฒน์ เดินหน้า ยกระดับเกษตรไทยสู่ 4.0 นำเทคโนโลยีฝ่าวิกฤติภาคเกษตร รอบด้าน

อลงกรณ์ - นราพัฒน์ เดินหน้า ยกระดับเกษตรไทยสู่ 4.0 นำเทคโนโลยีฝ่าวิกฤติภาคเกษตร รอบด้าน


          วันนี้ 24 กพ 63 นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมนา “การจัดทข้อมูลำฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ (Big data) ปี 2563” ระหว่างวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมจันทบุรี โรงแรม Ambassador city จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ภายใต้แนวคิดโลกเปลี่ยนเราต้องเปลี่ยน ภายในงานได้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปี 2020 ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตร 4.0” โดย มีนายอลกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ Big data เพื่อคนไทยทุกคน” พร้อมด้วย รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมนาประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่ได้เข้าร่วมการจัดทำบันทึกความร่วมมือการพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรแห่งชาติ
   
          ทั้งนี้นายนราพัฒน์กล่าวว่า การขับเคลื่อนเกษตรกรรมไทยในอนาคตต้องขับเคลื่อนภายใต้ฐานข้อมูลที่แม่นยำและสามารถนำข้อมูลไปแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือให้ถูก “Pain point “ เพื่อให้สมามารถทันต่อสถานการณ์ในขณะนี้

          ขณะที่นายอลงกรณ์  ได้มีกสรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปี 2020 ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตร 4.0” ว่าภายใต้ความท้าทายในอนาคต และ Mega trend ของโลก เช่นจะมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจาก 7.6 พันล้านคนเป็น 9.5พันล้านคน ใน30ปีข้างหน้าความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องปฏิรูปกระทรวงเกษตรและยกระดับภาคเกษตรให้ก้าวหน้าทันสมัยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการใหม่ทั้งระดับชาติ และในระดับพื้นที่ ผ่านระบบ IOT plat form AI และ Bigdata “

          ทั้งนี้จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เพื่อการรับมือสถานการณ์ที่จะกระทบต่อภาคการเกษตรไทยมีความจำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agriculture Bigdata Center) และการขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ ผ่านศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในแต่ละจังหวัดเพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งด้านการผลิต การตลาด การพยากรณ์สถานการณ์ สู่เกษตรกรโดยตรงในแต่ละจังหวัด โดยได้จัดทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ77จังหวัด ภายในเดือนมีนาคม นี้  การยกระดับเกษตรไทยให้ก้าวทันโลกในยุค Disruptionต้องทำได้จริงและทำได้ไวนำประเทศสู่ผู้ส่งออกอาหารอันดับท็อปเทนของโลกและพาเกษตรกรไทยพ้นจากหนี้สินและความยากจนสู่รายได้สูงที่มั่นคงอย่างยั่งยืน
สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้
เชิญประชุมคะ..อย่าลืมมาร่วมงานกันเยอะๆนะคะ..งานนี้มาบู้ทผู้ประกอบการมากมายคะ

เลขาธิการ ส.ป.ก. และคณะร่วมติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดสงขลา

      ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล...