วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชวนเที่ยวตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาลโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE)

 

วันที่ 23 มีนาคม 2568 ณ ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล หมู่ที่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี โดยนายยุทธนา โพธิวิหค ปลัดจังหวัดสระบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีนายชินนาอาชว์  รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอเสาไห้ กล่าวรายงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE)ประจำปีงบประมาณ 2568

นายยุทธนา โพธิวิหค ปลัดจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง ถือเป็นภารกิจหลัก ของประเทศ รัฐบาลจึงขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง โดย “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE)” เป็นโครงการที่มุ่งให้ เกิดการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวด้วยแนวคิดการจัดนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ หรือ D-HOPE โดยมุ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตามกรอบความคิดของ D-HOPE ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจกรรมในท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่มองข้าม ผ่านโครงการที่ผู้เข้าร่วมสามารถลงมือปฏิบัติได้ เองที่จัดดำเนินการโดย Champ ประจำชุมชนซึ่งเกิดจากการรังสรรค์ประโยชน์จาก ทรัพยากรในท้องถิ่น อันประกอบด้วยภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ และทักษะ ณ สถานที่ ที่ผู้ประกอบการชุมชนสามารถกำหนดเองต่อสาธารณะชนอย่างเป็นรูปธรรม

ด้านนายชินนาอาชว์ รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอเสาไห้ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ หรือ D-Hope เป็นโครงการที่กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA เพื่อยกระดับ ขีดความสามารถผู้ประกอบการชุมชนในการ เรียนรู้ ริเริ่ม สร้างสรรค์ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ในพื้นที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในรูปแบบของนิทรรศการชุมชนที่ นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้หรือมีประสบการณ์จากการลงมือทำเองด้วยตนเอง

ตามที่กล่าวมานี้ อำเภอเสาไห้จึงได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ เพื่อต่อยอดความสำเร็จของการพัฒนานิทรรศการโปรแกรมการ ท่องเที่ยวของบ้านต้นตาล หมู่ที่ ๔ ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

โดยการดำเนินงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติในการส่งเสริมท่องเที่ยวโดยชุมชน และเพื่อประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการชุมชนและชุมชนท่องเที่ยวเป้าหมายให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและบุคคล ทั่วไป

นางสาววรัชยา หมวกลาว กำนันตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ กล่าว่า อำเภอเสาไห้ ได้รับจัดสรรงบประมาณ จากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานและ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชน กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนให้เกิดกิจกรรมที่รองรับการเข้ามาใช้บริการของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับเสน่ห์ของชุมชน และหนุนเสริมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ประชาชน ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการใช้ความหลากหลายของอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการท่องเที่ยวโดย ชุมชน

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการชุมชน หรือ Champ จำนวนทั้งสิ้น 10 โปรแกรม ระยะเวลา 3 วัน โดยกิจกรรมการเยี่ยมชมโปรแกรมของผู้ประกอบการ ดังนี้ 1. ผ้าตุ๊บลาย 2. ย่ามจิ๋ว 3.โคมเลิศลอย 4. ผัดหมี่ ไท-ยวน 5. ขนมเพ้อเร่อ 6. ไข่เค็มใบเตย 7. พวงมโหตร 8. ปิ่นส้อมดอกตอ 9. ผ้าเช็ดหน้า ๒ ตะกอ 10. ข้าวแคบ

ทั้งนี้ ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล หมู่ที่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ตามรอยกลิ่นอายของไท-ยวน ทุกวันอาทิตย์ 









วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2568

บุกทำเนียบ!...กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภาคเอกชน รวมตัวยื่นแถลงการณ์ถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้านมติ ครม. 3 มีนาคม 2568 ชี้ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติสอง มาตรฐาน

 

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภาคเอกชน นำโดย นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ และ นายชนะศักดิ์ จุมพลอนันต์ นายกสมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ พร้อมด้วยตัวแทนสมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ สมาคม SME ผู้รวบรวมน้ำนมดิบและแปรรูป และเกษตรกรกว่า 400 คน นัดรวมตัวบุกทำเนียบรัฐบาลเช้าวันนี้ (21 มีนาคม 2568) เพื่อยื่นแถลงการณ์ถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่มีการทบทวนและเห็นชอบเรื่องระบบการบริหารจัดการนมโรงเรียน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอก่อนหน้านี้ โดยในประเด็นโครงสร้างระบบบริหารโครงการนมโรงเรียน ที่มีการแบ่งกลุ่มพื้นที่จาก 5 เขต พื้นที่เป็น 7 เขตพื้นที่ และการเพิ่มวัตถุประสงค์ของโครงการนมโรงเรียน จำนวน 4 ข้อ ซึ่งอ้างว่าเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีความยั่งยืนในอาชีพ และสหกรณ์โคนม รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา มีตลาดนมโรงเรียนรองรับนั้น เป็นการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ โดยเป็นการกระทำที่ไม่เห็นความสำคัญของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภาคเอกชนที่ประกอบอาชีพโดยสุจริต ไม่เคยร้องขอดอกเบี้ยต่ำจากรัฐ ไม่เคยร้องขอเงินสนับสนุนให้เปล่า และไม่เคยเลี่ยงภาษี แต่กลับถูกละเลย และเลือกปฏิบัติสองมาตรฐานจากภาครัฐมาโดยตลอด

การยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อขอความช่วยเหลือในการทบทวนยกเลิกมติ หรือดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภาคเอกชน และผู้ประกอบการโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนภาคเอกชน เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ต่อไป และสามารถเข้าถึงงบประมาณของรัฐที่มีวัตถุประสงค์หลัก ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งประเทศ เด็กนักเรียนได้ดื่มนมที่มีคุณภาพผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีติดภารกิจในวันนี้ จึงมอบหมายให้ นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มารับเรื่องแทน

“พวกเราขอให้นายกรัฐมนตรีโปรดดำเนินการแก้ไขโดยด่วน และเพื่อให้การบริหารโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนมีประสิทธิภาพและให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมทันเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2568 นี้ ขอให้ท่านสั่งการให้ใช้ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อให้เด็กนักเรียน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้ประเทศ และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ได้รับความเป็นธรรม ตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการอย่างแท้จริง ” นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ กล่าว

จากนั้นกลุ่มเกษตรกรได้เดินทางต่อไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือต่อ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในวันนี้ติดภารกิจไม่สามารถออกมารับเรื่องได้ จึงมอบหมายให้ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนรับเรื่อง โดยหนังสือเรียกร้องต้องการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับทราบถึงผลกระทบของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกว่า 7,000 ครัวเรือน และเรียกร้องให้มีทบทวนมติดังกล่าว พร้อมถอดบทเรียนจากการบริหารจัดการนมโรงเรียนในปี 2567 ซึ่งมีเกษตรกรได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์โครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนปี 2568 โดยขอให้ภาครัฐเปิดเผยผลการประชาพิจารณ์ต่อสาธารณชน และนำผลการประชาพิจารณ์มาใช้ในการพิจารณาดำเนินการ

“หลังจากที่เรารับทราบถึงมติคณะรัฐมนตรีที่มีการทบทวนโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโคนมโดยเฉพาะกลุ่มที่ขายน้ำนมดิบให้กับเกษตรกรภาคเอกชน วันนี้มติคณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับภาคสหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ส่งผลให้พวกเราที่ผลิตนมได้ 49% ของทั้งประเทศ ได้รับความเดือดร้อน ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มไม่ซื้อนมจากพวกเรา ทำให้พวกเราเดือดร้อน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่ควรถูกแบ่งแยก เราไม่อยากเป็นเกษตรกรที่เลี้ยงโคนมชนชั้นสองของประเทศไทย เราภูมิใจกับอาชีพพระราชทาน เราไม่เคยขอความช่วยเหลือจากภาครัฐเลย และเราให้ความร่วมมือกับภาครัฐมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเรื่องโควิด การป้องกันโรคระบาด หรือต้นทุนที่สูงในการเลี้ยงโคนม เกษตรกรก็อดทนมาโดยตลอด เราลงทุนพัฒนาเพื่อการแข่งขันกันมาก่อนหน้านี้ และเป็นเกราะป้องกันไม่ให้รัฐต้องนำนมผงจากต่างประเทศเข้ามา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมที่ดีและมีคุณภาพ ผู้ประกอบการที่ซื้อน้ำนมดิบ เขายังเข้าถึงงบประมาณของรัฐ แต่ในขณะที่ภาคเอกชนที่ซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร 54 แห่ง รวมจำนวน 928.014 ตัน/วัน หรือคิดเป็น 49% ของทั้งประเทศ กลับได้รับสิทธิที่เหลือจากภาครัฐ และสหกรณ์ ซึ่งมีปริมาณซื้อน้ำนมดิบในประเทศน้อยกว่าภาคเอกชน เราจึงมาขอความเป็นธรรมและอยากเห็นกระทรวงเกษตรฯ ให้ความเป็นธรรม และความเสมอภาคกับพวกเราด้วย” นายวสันต์ จีนหลง กล่าวทิ้งท้าย





วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

ส.ป.ก. ร่วมติดตามคณะรัฐมนตรีช่วยฯเกษตร ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรี และติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


        วันที่ 17 มีนาคม 2568 นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้มอบหมายให้ นายคมกฤษ แป้นโพธิ์กลาง ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วย นายกษิดิ์เดช ตระการศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน รักษาราชการแทนปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี ร่วมติดตาม นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรี และติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อรับฟังปัญหาและหารือแนวทางแก้ไขแก่ประชาชนได้ใช้น้ำอย่างยั่งยืน พร้อมติดตามการดำเนินงานภายใต้นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ณ บริเวณแก้มลิงบ้านทุ่งศาลา 3 ตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

      โอกาสนี้ นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้กล่าวต้อนรับและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและความต้องการใช้น้ำในจังหวัด โดยจังหวัดชลบุรีมีพื้นที่เกษตรกรรม 1,085,647 ไร่ แต่มีพื้นที่อยู่ในระบบชลประทานเพียง 15% ส่งผลให้ยังมีความต้องการใช้น้ำสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งต้องใช้น้ำทั้งเพื่ออุปโภค บริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรม

      โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร ซึ่งเป็นอ่างขนาดใหญ่ สร้างเสร็จเมื่อปี 2558 สามารถเก็บกักน้ำได้ 125 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า 127,000 ไร่ ในหลายอำเภอของจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ รัฐบาลได้วางแผนขยายศักยภาพโครงการเพิ่มเติม โดยกรมชลประทานเสนอแผนดำเนินโครงการต่อยอดปี 2568 - 2569 รวม 4 โครงการ ประกอบด้วยการก่อสร้างแก้มลิงพร้อมระบบกระจายน้ำในหลายพื้นที่ เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง

     ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ได้มอบถุงพันธุ์ปลาน้ำจืด และพบปะพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรอย่างยั่งยืนต่อไป








เปิดแล้ววันแรกอย่างยิ่งใหญ่ มหกรรม “จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน” เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จรัตนราชสุดาฯ70 พรรษา

รมช.อิทธิเปิดงาน “จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน” วันแรกอย่างยิ่งใหญ่   เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐ...