วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุมเข้มเร่งขอคืนสถานภาพปลอดโรค AHS ในม้าของประเทศไทยจาก OIE หลังดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเข้มงวด


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหากาฬโรคแอฟริกาในม้า ครั้งที่ 1/2564 และคณะกรรมการพิจารณาการใช้วัคซีนกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ครั้งที่ 1/2564 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชน สมาคม ผู้ประกอบการ ผู้เลี้ยงม้า

อย่างไรก็ตามตากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประชุมมีการพิจารณาให้ใช้วัคซีนชนิด monovalent serotype 1 ฉีดซ้ำให้กับสัตว์ที่ผ่านการฉีดวัคซีนในครั้งที่ 1 รวมจำนวนทั้งหมด 12,000 ตัว ซึ่งระหว่างรอการนำเข้าวัคซีนชนิด monovalent นั้นได้กำหนดให้มีการฉีดวัคซีนชนิด polyvalent serotype 1,3,4 ให้กับสัตว์ในกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกันทางหน่วยงานได้เตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นสำหรับการขึ้นทะเบียน เจาะเลือด การนำเข้ามุ้ง การกำจัดแมลงพาหะและทำความสะอาด รวมถึงการติดตามผลก่อนและหลังการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งที่ผ่านมาได้พบการเกิดโรคครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางกรมปศุสัตว์จึงได้มีมาตรการกำจัดโรค และจัดทำ MOU สำรวจโรคในม้าลายและแมลงพาหะ พร้อมทั้งได้จัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงม้า เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสัตว์ตลอดจนการควบคุมเคลื่อนย้ายม้าที่ถูกต้อง จากการสำรวจทั่วประเทศมีม้า 18,557 ตัว เจ้าของ 3,380 ราย ล่อ 76 ตัว เจ้าของ 18 ราย ลา 50 ตัว เจ้าของ 9 ราย ม้าลาย 525 ตัว เจ้าของ 25 ราย ได้ทำการฉีดวัคซีนแล้ว 3 รอบ ในพื้นที่ 27 จังหวัด ฉีดได้ 10,330 ตัว จากเจ้าของ 1,597 ราย จากการเฝ้าระวังติดตามผลพบม้าที่ได้รับวัคซีนมีภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องแม้ว่าระดับภูมิคุ้มกันยังอยู่ในระดับที่คุ้มโรคได้ แต่มีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตามจะมีการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคอย่างเข้มงวดเพื่อขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าของประเทศไทยจาก OIE ให้ได้โดยเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น