วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สนง.ปศุสัตว์มุกดาหาร จับมือ สมาคมฯ-ชมรมฯ หมูอีสาน จัดสัมมนาสัญจร ให้ความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรับมือ โรคระบาด “หลังเว้นวรรค เตรียมความพร้อมอย่างไร ให้ปลอดภัย AFS”

 


เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 นายพิภพ เพียรวิเศษ ปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานเปิดงานการจัดงานสัมมนาสัญจร ครั้งที่ 10/2565 ในหัวข้อ “หลังเว้นวรรค...เตรียมความพร้อมอย่างไร...ให้ปลอดภัย AFS” โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมี นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางวัชรี จันทรสาขา ผอ.กลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร  ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสุกรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ กลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร มากกว่า 200 รายให้การต้อนรับ และเข้าร่วมสัมมนา 


ทั้งนี้ นายพิภพ เพียรวิเศษ ปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า นโยบายกรมปศุสัตว์กับการพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงสุกรปี 2565 ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดในสุกร โดยเล็งเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวจังหวัดมุกดาหาร จากปัญหาโรค AFS จึงเร่งให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันการแพร่ระบาดที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาระบาดและ เพื่อให้เกษตรกรที่เคยประสบปัญหา ได้กลับมาเลี้ยงใหม่ได้โดยเร็ว เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรอย่างยั่งยืน 


ขณะที่ นางวัชรี จันทรสาขา ผอ.กลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่รบาดโรค AFS ที่เกิดขึ้นในประเทสจีนและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้สุกรมีชีวิตในประเทศมีปริมาณลดลงและมีแนวโน้มไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้ราคาสุกรชำแหละมีราคาปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้มีมาตรการคุมเข้มห้ามส่งออกสุกรเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม-5 เมษายน 2565 และมีการกำหนดมาตรการควบคุมปริมาณสุกร และราคาจำนวน 3 ฉบับ ในส่วนของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องของค่าครองชีพ เช่น จัดโดครงการหมูพาณิชย์ จำหน่ายหมูเนื้อแดงในราคา 150 บาท/กิโลกรัม แก้ปัญหาในเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลน โดยการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อนำมาชดเชยส่วนที่ขาดในประเทศ ดังนั้นต้องยอมรับว่าราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นบางส่วน จึงเป็นที่มาของการผ่อนปรนลดภาษีนำเข้าเพื่อไม่ให้ต้นทุนอาหารสูงขึ้น แล้วไม่ไปขึ้นราคาจนกระทบต่อผู้บริโภค 


 ด้าน ผศ.น.สพ.คัมภีร์ กอธีรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสุกรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการแพร่อีกครั้งเกษตรกรควร จะต้องมีการระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ในการป้องกันการระบาดที่เกิดขึ้น โดยต้องเลี้ยงตามกำลังที่มีอยู่ และการดูแลสุกรที่เลี้ยงเป็นพิเศษมากขึ้น ซึ่งจะเน้นเลี้ยงเฉพาะสายพันธุ์ในประเทศ เพราะสุกรที่รอดมาจากระบาด ถือว่ามีภูมิคุ้มกันที่ดีมากกว่าที่แหล่งอื่น โดยห้ามนำเข้าลูกสุกรจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ เกษตรกรควรวางระบบการเลี้ยงดูโดยเน้นด้านสุขอนามัยเป็นหลัก ซึ่งก่อนเข้าไปในฟาร์มจะต้องมีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม เชื่อว่าหากร่วมมือกัน และเฝ้าระวังมากขึ้น จะทำให้อาชีพการเลี้ยงสุกรในประเทศ กลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน โดยเชื่อว่า ปี 2565 และปี 2566 ราคาสุกร ยังจะมีราคาดี อย่างแน่นนอน 



อย่างไรก็ตามการจัดสัมมนาครั้งนี้ นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าว ขอขอบคุณหน่วยงานราชการ ภาครัฐและภาคเอกชน ผู้สนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ เกษตรกรผู้เข้าร่วมงาน และเป็นกำลังใจให้เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อย และรายกลางทุกท่าน ขอให้ผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ARDA ร่วมกับฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร ตัดสิน Pitching เวทีแข่งขันนวัตกรรมเกษตร ปุ๋ยเสื้อเกราะ คว้าแชมป์ รับเงินแสน ในรายการ AGRITHON By ARDA

  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) - ARDA  ร่วมกับฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร จัดแข่งขันนวัตกรรมเกษตร AGRITHON By ARDA เฟ้นหาสุดย...