วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรอีสาน เดินหน้าให้ความรู้เกษตรกรเมืองชัยภูมิ วางแนวทางป้องกันการระบาดโรค ASF หลังพบปัญหาระบาดหนัก ส่งผลปริมาณสุกรมีชีวิตลดลงกว่า 20% เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยลดลงกว่า 60% หลังการแพร่หนักในช่วงที่ผ่านมา

 




สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดงานสัมมนาเพื่อให้ความความรู้เกษตรฯ ในหัวข้อ “หลังเว้นวรรค เตรียมพร้อมอย่างไร ให้ปลอดภัยASF” โดยมี สพ.ญ.ศรีสมัย โชติวนิช  ปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ เป็น ประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา พร้อมกับ บรรยายพิเศษ​เรื่อง นโยบายกรมปศุสัตว์กับการพัฒนา และส่งเสริมการเลี้ยงสุกรปี 2565 โดยมี นายสิทธิพันธ์  ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งตัวแทนจากชมรมมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ให้การต้อนรับ โดยมีเกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนา กว่า 200 คน ณ โรงแรม สยามริเวอร์ รีสอร์ท จังหวัดชัยภูมิ

 


ทั้งนี้ สพ.ญ.ศรีสมัย กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค ASF  ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณ ผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ  มีปริมาณสุกรในพื้นที่ลดลงกว่า 20%  และส่งผลให้ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยลดลงกว่า 60%   จากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ ทั้งหมด 5,900 ราย ขณะนี้มีผู้เลี้ยงเหลือเพียง 2,277 ราย เท่านั้น ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นทางกรมปศุสัตว์ จึงพยายามเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการป้องกันโรคระบาดทุกวิถีทาง ทั้งการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อให้อยู่ในวงจำกัดให้เร็วที่สุด โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูให้เกษตรกรรายย่อยกลับมาเลี้ยงใหม่  ซึ่งเกษตรกรที่เลี้ยงใหม่ ตามร่างประกาศของกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ ตามข้อกำหนดให้เจ้าของฟาร์มหรือผู้เลี้ยงทุกคน จะต้องผ่านการอบรมหรือการฝึกอบรมให้ความรู้ ด้านการจัดการโรคระบาดในสัตว์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง   เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาการแพร่ระบาด  จึงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสุกรในประเทศฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว มากขึ้น และต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ที่ร่วมกันแก้ปัญหาการแพร่ระบาดที่ผ่านมา ที่สามารถ แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 


ขณะที่ ผศ.น.สพ.คัมภีร์​ กอธีรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสุกรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการแพร่อีกครั้ง จะต้องมีการระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ในการป้องกันการระบาดที่เกิดขึ้น โดยต้องเลี้ยงตามกำลังที่มีอยู่ และการดูแลสุกรที่เลี้ยงเป็นพิเศษมากขึ้น ซึ่งจะเน้นเลี้ยงเฉพาะสายพันธุ์ในประเทศ เพราะสุกรที่รอดมาจากการระบาด ถือว่ามีภูคุ้มกันที่ดีมากกว่าที่แหล่งอื่น โดยห้ามนำเข้าลูกสุกรจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ เกษตรกรควรวางระบบการเลี้ยงดูโดยเน้นด้านสุขอนามัยเป็นหลัก ซึ่งก่อนเข้าไปในฟาร์มจะต้องมีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม เชื่อว่าหากร่วมมือกัน และเฝ้าระวังมากขึ้น จะทำให้อาชีพการเลี้ยงสุกรในประเทศ กลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน โดยเชื่อว่า ปี 2565 และปี 2566 ราคาสุกร ยังจะมีราคาดี อย่างแน่นนอน 


ผศ.ดร.อภิชาติ อายนาเสียว คณะวิศวกรรมศาสตร์  กล่าาว่า ตนในฐานะเกษตรกรที่เคยประสบปัญหาการระบาดมาก่อน มีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงแบบใหม่ โดยเลี้ยงระบบเปิด และนำเทคโนโลยีการควบคุมการให้อาหาร ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการเลี้ยงสุกร และพร้อมจะเปิดให้เกษตรกรที่สนใจเข้าไปเรียนรู้การเลี้ยงระบบใหม่โดยใช้นวัตกรรมควบการให้อาหาร 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการลดการสัมผัสเชื้อจากคนสู่สุกร โดยจะต้องมีการกางมุ้งกันแมลง ในฟาร์มแบบเปิดที่เลี้ยง เพื่อไม่ให้แมลงเป็นพาหะนำเชื้อเข้ามาได้  รวมทั้งการวางระบบน้ำที่ชัดเจน และไม่ควรใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมาติโดยเด็ดขาด เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของโรคด้วยเช่นกัน และที่สำคัญกว่านั้นคือ ห้ามนำเศษอาหาร จากคนมาเลี้ยงสุกรเด็ดขาด เพราะถือเป็นแหล่งที่มาของโรคระบาดด้วยเช่นกัน 


อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงสุกรแบบใหม่ จากนี้ไปเกษตรกรจะต้องเข้าใจหลักการเลี้ยงที่ชัดเจน โดยส่วนตัวเห็นว่าการเลี้ยงที่เกษตรกรจะรอดได้ คือที่ดีที่สุดควรจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด และไม่ควรเลี้ยงสุกรอย่างเดียว ควรวางแผนในการเลี้ยงสัตว์อื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกทาง โดยการนำมูลสุกร ซึ่งถือว่าเป็นปุ๋ยที่ดีของหญ้า เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยง แพะ แกะ และ โคกระบือ ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้อีกทางของเกษตรกรมากขึ้น เพราะหากมีปัญหาด้านราคา สุกร เกษตรกรยังสามารถขายสัตว์อย่างอื่นได้ ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ อันเกิดจากการใช้ปุ๋ยมูลสุกรด้วย 


 การอยู่รอดของเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรแบบใหม่ ต้องระวังเรื่องของการติดเชื้อ  โดยต้องระวังพาหะที่เป็นต้นเหตุของโรคทั้งหมด โดยควรกางมุ้งให้กับสุกร โดยใช้ผ้ามุ้งคุมเล้าสุกรในฟาร์ม ไม่ให้สัตว์ที่เป็นพาหะเข้าไปได้ โดยการให้อาหารจะใช้เทคโนโลยีในการให้อาหารสุกรโดยต้องเข้าฟาร์มให้น้อยที่สุด คนที่จะเข้าฟาร์มได้ต้องทำความสะอาด เพื่อเป็นการป้องกันโรค ที่สำคัญต้องอยู่ห่างจากชุมชน และนำมูลสุกรไปปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์อื่นๆ จะเป็นการสร้างรายได้อีกทางอย่างไรก็รอด เพราะต้นทุนต่ำ ผมคิดว่าอย่างไงก็รอดผศ.ดร.อภิชาติ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น