วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ขอผู้บริโภคเห็นใจ ทุกข์เกษตรกร แบกภาระต้นทุนสูง PRRS ทำหมูเสียหายหนัก น้ำท่วมซ้ำ- โรคมากับน้ำ

สถานการณ์น้ำท่วมจากผลกระทบพายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ 33 จังหวัด กลายเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย สร้างความทุกข์ให้กับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะเกษตรกรทั้งภาคการเพาะปลูกและภาคปศุสัตว์

 

หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ที่ปีนี้ได้เห็นภาพการขนหมูหนีน้ำท่วมในหลายจุด มีหมูเสียหายจากเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งกว่าจะพลิกฟื้นฟาร์มให้กลับมาเลี้ยงหมูได้ตามปกติก็ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก ทั้งซ่อมแซม ทำความสะอาด และพักโรงเรือนตามมาตรฐานเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่อาจมากับน้ำ และก่อความเสียหายให้กับฝูงสัตว์ได้

 

ขณะเดียวกัน เกษตรกรหลายรายกังวลกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จึงตัดใจขายหมูออกก่อนกำหนด ดีกว่าปล่อยหมูจมน้ำ ประกอบกับความกังวลว่าพื้นที่น้ำท่วมติดปัญหาโรงฆ่าสัตว์ปิดตัว ไม่สามารถนำหมูขุนเข้าโรงฆ่าได้ และปัญหาด้านการเดินทางที่ไม่สะดวก กระทบกับการส่งหมูไปโรงฆ่า จึงมีปริมาณหมูออกสู่ตลาดมาก ส่งผลต่อราคาหมูหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ลดลงค่อนข้างมาก นี่คือทุกข์ที่คนเลี้ยงหมูได้รับ

 

ขณะเดียวกัน ยังมีทุกข์หนักที่ส่งผลกับผู้เลี้ยงมาเกือบ 1 ปี จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมา โดยเฉพาะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับขึ้นไปถึง 10.85 บาท/กิโลกรัม และยังมีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นต่อไป แม้จะมีการคาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในปี 2564 นี้ จะมีมากขึ้นอยู่ในระดับ 4.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ผลิตได้ 4.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 2% ก็ตาม แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคการผลิตอาหารสัตว์ที่มีมากถึง 8.4 ล้านตันต่อปี เท่ากับว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยผลิตได้เพียง 57% ของความต้องการในประเทศเท่านั้น ขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดอื่น ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งกากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ที่ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 19.80 บาท ด้านราคาปลายข้าวอยู่ที่กระสอบละ 1,100 บาท

 

ภาระหนักจึงตกกับเกษตรกรเลี้ยงหมู ที่ต้องใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารมากถึง 50% โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนสะสมนานกว่า 3 ปี ในช่วงก่อนหน้านี้ และยังต้องมีเจ็บซ้ำ จากการแบกรับภาระขาดทุนอย่างหนักมานานกว่า 7 เดือน จากภาวะโรคเพิร์ส หรือ PRRS ที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมหมูในทุกภูมิภาค สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ข้อมูลว่าแม่พันธุ์หมูทั่วประเทศได้รับความเสียหายประมาณ 30 - 40 % จากภาวะปกติแม่พันธุ์หมูทั่วประเทศมีปริมาณ 1.2  ล้านตัว แต่ปัจจุบันมีปริมาณเพียง 7-8 แสนตัว ทำให้คาดว่าไทยจะมีการผลิตหมูขุนจำนวน 15 ล้านตัวต่อปี จากเดิมที่มีการผลิตอยู่ที่ 19-20 ล้านตัวต่อปี หรือลดลง 25 %

 

มีการประเมินความเสียหายช่วง 7-8 เดือน จากราคาขายหมูขุนต่ำกว่าต้นทุนทั้งประเทศอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท โดยราคาหมูเคยลดลงไปต่ำสุดที่ 56 บาทต่อกิโลกรัม แม้ว่าวันนี้ราคาหมูจะอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามความต้องการบริโภคเนื้อหมูมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังการเปิดประเทศ สวนทางกับปริมาณหมูขุนที่ออกสู่ตลาดที่ลดลง จากสถานการณ์น้ำท่วม และการชะลอการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องโรคในหมูของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามต้นทุนการเลี้ยงหมูเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึง 80.03 บาทต่อกิโลกรัม ตามตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

 


ขณะที่การป้องกันโรค ASF ในหมู ที่เกษตรกรต้องเพิ่มความเข้มงวดกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สูงสุด ยิ่งในเกษตรกรรายย่อยด้วยแล้ว หากประสบปัญหาเรื่องโรคแล้ว การจะกลับมาเลี้ยงใหม่นั้นทำได้ยาก ฟาร์มต่างๆจึงยกระดับการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด กลายเป็นต้นทุนแฝง ส่งผลให้มีต้นทุนการสูงขึ้นอีก 4-5 บาทต่อกิโลกรัม

 

ทุกข์ของเกษตรกร จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมความเดือดร้อนทั้งจากภาวะน้ำท่วม และโรคในหมู ที่ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร ในช่วงนี้ขอความเห็นใจภาครัฐปล่อยตามกลไกราคาที่แท้จริง รวมถึงขอความเข้าใจจากผู้บริโภคในสถานการณ์ที่เกษตรกรต้องประสบอยู่

 

ก่อนคนเลี้ยงหมูจะหมดแรงสู้เลิกเลี้ยงหมูไป เพราะวันนั้นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชนคนไทยนั่นเอง./ขอผู้บริโภคเห็นใจ ทุกข์เกษตรกร แบกภาระต้นทุนสูง PRRS ทำหมูเสียหายหนัก น้ำท่วมซ้ำ- โรคมากับน้ำ 

 

สถานการณ์น้ำท่วมจากผลกระทบพายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ 33 จังหวัด กลายเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย สร้างความทุกข์ให้กับประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะเกษตรกรทั้งภาคการเพาะปลูกและภาคปศุสัตว์

 

หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ที่ปีนี้ได้เห็นภาพการขนหมูหนีน้ำท่วมในหลายจุด มีหมูเสียหายจากเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งกว่าจะพลิกฟื้นฟาร์มให้กลับมาเลี้ยงหมูได้ตามปกติก็ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก ทั้งซ่อมแซม ทำความสะอาด และพักโรงเรือนตามมาตรฐานเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่อาจมากับน้ำ และก่อความเสียหายให้กับฝูงสัตว์ได้

 

ขณะเดียวกัน เกษตรกรหลายรายกังวลกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จึงตัดใจขายหมูออกก่อนกำหนด ดีกว่าปล่อยหมูจมน้ำ ประกอบกับความกังวลว่าพื้นที่น้ำท่วมติดปัญหาโรงฆ่าสัตว์ปิดตัว ไม่สามารถนำหมูขุนเข้าโรงฆ่าได้ และปัญหาด้านการเดินทางที่ไม่สะดวก กระทบกับการส่งหมูไปโรงฆ่า จึงมีปริมาณหมูออกสู่ตลาดมาก ส่งผลต่อราคาหมูหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ลดลงค่อนข้างมาก นี่คือทุกข์ที่คนเลี้ยงหมูได้รับ

 

ขณะเดียวกัน ยังมีทุกข์หนักที่ส่งผลกับผู้เลี้ยงมาเกือบ 1 ปี จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมา โดยเฉพาะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับขึ้นไปถึง 10.85 บาท/กิโลกรัม และยังมีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นต่อไป แม้จะมีการคาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในปี 2564 นี้ จะมีมากขึ้นอยู่ในระดับ 4.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ผลิตได้ 4.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 2% ก็ตาม แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคการผลิตอาหารสัตว์ที่มีมากถึง 8.4 ล้านตันต่อปี เท่ากับว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยผลิตได้เพียง 57% ของความต้องการในประเทศเท่านั้น ขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดอื่น ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งกากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ที่ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 19.80 บาท ด้านราคาปลายข้าวอยู่ที่กระสอบละ 1,100 บาท

 

ภาระหนักจึงตกกับเกษตรกรเลี้ยงหมู ที่ต้องใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารมากถึง 50% โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนสะสมนานกว่า 3 ปี ในช่วงก่อนหน้านี้ และยังต้องมีเจ็บซ้ำ จากการแบกรับภาระขาดทุนอย่างหนักมานานกว่า 7 เดือน จากภาวะโรคเพิร์ส หรือ PRRS ที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมหมูในทุกภูมิภาค สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ข้อมูลว่าแม่พันธุ์หมูทั่วประเทศได้รับความเสียหายประมาณ 30 - 40 % จากภาวะปกติแม่พันธุ์หมูทั่วประเทศมีปริมาณ 1.2  ล้านตัว แต่ปัจจุบันมีปริมาณเพียง 7-8 แสนตัว ทำให้คาดว่าไทยจะมีการผลิตหมูขุนจำนวน 15 ล้านตัวต่อปี จากเดิมที่มีการผลิตอยู่ที่ 19-20 ล้านตัวต่อปี หรือลดลง 25 %

 

มีการประเมินความเสียหายช่วง 7-8 เดือน จากราคาขายหมูขุนต่ำกว่าต้นทุนทั้งประเทศอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท โดยราคาหมูเคยลดลงไปต่ำสุดที่ 56 บาทต่อกิโลกรัม แม้ว่าวันนี้ราคาหมูจะอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามความต้องการบริโภคเนื้อหมูมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังการเปิดประเทศ สวนทางกับปริมาณหมูขุนที่ออกสู่ตลาดที่ลดลง จากสถานการณ์น้ำท่วม และการชะลอการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องโรคในหมูของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามต้นทุนการเลี้ยงหมูเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึง 80.03 บาทต่อกิโลกรัม ตามตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

 

ขณะที่การป้องกันโรค ASF ในหมู ที่เกษตรกรต้องเพิ่มความเข้มงวดกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สูงสุด ยิ่งในเกษตรกรรายย่อยด้วยแล้ว หากประสบปัญหาเรื่องโรคแล้ว การจะกลับมาเลี้ยงใหม่นั้นทำได้ยาก ฟาร์มต่างๆจึงยกระดับการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด กลายเป็นต้นทุนแฝง ส่งผลให้มีต้นทุนการสูงขึ้นอีก 4-5 บาทต่อกิโลกรัม

 

ทุกข์ของเกษตรกร จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมความเดือดร้อนทั้งจากภาวะน้ำท่วม และโรคในหมู ที่ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร ในช่วงนี้ขอความเห็นใจภาครัฐปล่อยตามกลไกราคาที่แท้จริง รวมถึงขอความเข้าใจจากผู้บริโภคในสถานการณ์ที่เกษตรกรต้องประสบอยู่ ก่อนคนเลี้ยงหมูจะหมดแรงสู้เลิกเลี้ยงหมูไป เพราะวันนั้นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชนคนไทยนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น