ผู้บริหารด้านการพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ของ Nedap Livestock Management ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาฟาร์มอัตโนมัติระดับโลก จากเนเธอร์แลนด์ ชี้บริษัทอาหารไทยเป็นผู้นำเทรนด์ในการยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มของเอเชียสู่ระดับสากล โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในบริษัทไทยมุ่งมั่นเปลี่ยนการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องในคอกขังรวมอย่างจริงจัง นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของสัตว์ และตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยอาหาร และกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบตลอดห่วงโซ่
มร. Hoevink ได้แบ่งปันข่าวสารความรู้ผ่านระบบ Podcasts ของ Asian Agribiz นิตยสารปศุสัตว์ระดับภูมิภาคเอเชีย ว่า อุตสาหกรรมสุกรทั่วภูมิภาคเอเชียให้ความสำคัญกับกระบวนการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทย เช่น ซีพีเอฟ ที่เป็นบริษัทแรกๆ ที่บุกเบิกการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ในคอกขังรวม ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล ส่งผลดีต่อสัตว์ ต่อธุรกิจ และผู้บริโภคได้รับประโยชน์
ด้าน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ บริษัทชั้นนำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ได้ประกาศนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ในปี 2561 มีเป้าหมายการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติสากล "หลักอิสระ 5 ประการ" ในการจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด สุกร และสัตว์น้ำครอบคลุมทุกกิจการของบริษัทในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะ การยุติการเลี้ยงหมูแม่พันธุ์อุ้มท้องแบบยืนซอง เป็นการเลี้ยงแบบคอกขังรวมทั้งหมดในประเทศไทยภายในปี 2568 ซึ่งปัจจุบัน ทำการปรับเปลี่ยนเป็นคอกขังรวมแล้วร้อยละ 43 และสำหรับกิจการในประเทศอื่นๆ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2571 ซึ่งเป็นการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องมีอิสระในการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมสุขภาพร่างกายสุกรแม่พันธุ์ ไม่เครียด กินอาหารได้มาก แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพและความปลอดภัยของเนื้อหมู
ซีพีเอฟ เลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporative Cooling System หรือ EVAP) เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับธรรมชาติของสัตว์ ควบคู่กับนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยส่งเสริมให้สุกรอยู่อย่างสุขสบายตลอดเวลาที่อยู่ในฟาร์ม ลดความเสี่ยงของการเกิดการบาดเจ็บให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการ 3Ts-Alliance (Teeth, Tails and Testicles) ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เพื่อร่วมลด ละ เลิกการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการตอนเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง ซึ่งธุรกิจสุกรในประเทศไทยยกเลิกการตัดใบหูลูกสุกรแล้ว 67% ของลูกสุกรทั้งหมด ขณะที่กิจการในประเทศมาเลเซียและไต้หวันยกเลิกการตัดและกรอฟันได้ครบ 100% ตั้งแต่ปี 2562 และยุติการตัดหางลูกสุกรแล้ว 98%
จากความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างจริงจัง ส่งผลให้ ซีพีเอฟ เป็นผู้ผลิตอาหารหนึ่งเดียวของประเทศไทยที่ได้ผลการประเมินที่ดี เรื่อง นโยบาย และการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม จากรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ปี 2020 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) โดยได้รับปรับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ Tier 3 เป็นอันดับขององค์กรที่มีการนำหลักสวัสดิภาพสัตว์ไปใช้ในการดำเนินงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น