วันที่ 19 กรกฏาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 และแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2021 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” ระหว่างวันที่ 18 - 25 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook NRCT เป็นวันที่ 2 เพื่อชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการของ วช. และแนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมออนไลน์
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งซาติ (วช.) เป็นส่วนราชการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม บทบาทหนึ่งของ วช. คือการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ที่สองคล้องกับแพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคน ยกระดับสถาบันความรู้ และระบบนิเวศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
โดยสนับสนุนใน 4 แผนงานหลัก ที่เป็นไปตามขั้นบันไดอาชีพนักวิจัย ตั้งแต่ การพัฒนาและส่งเสริมนักวิจัยรุ่นเยาว์ การพัฒนาและส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ การพัฒนาและส่งเสริมนักวิจัยรุ่นกลาง และการพัฒนาและส่งเสริมนักวิจัยอาวุโส เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และส่งเสริมและสนับสนุนผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ รวมถึง วช. มุ่งมั่นการสร้างนักวิจัยอาชีพที่สามารถสร้างองค์ความรู้และผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขยายครือข่ายวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงต่อไป
กิจกรรมภายในงาน มีการเสวนาเรื่อง “เส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล กิตติศุภกร และมี ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา นอกจากนี้ ยังมีการแถลง “ผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช."
ของนักวิจัย จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วยศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ศาสตราจารย์ สัตว์แพทย์หญิง ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข ศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ รองศาตราจารย์ ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ และ ดร.อิสรชัย บูรณะอรรจน์ ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการโครงการ และแนวทางในการพัฒนาเส้นทางอาชีพวิจัยและนวัตกรรมนวัตกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น