วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สมศ.หวังยกระดับการศึกษาไทย เปิดรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมผ่านแกนนำเครือข่ายการประเมินคุณภาพภายนอก 7 เครือข่าย เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน


          เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563  ที่ผ่านมา นางสาวขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)เปิดเผยว่า "บทบาทหน้าที่และการขับเคลื่อนการดำเนินการเครือข่ายการประเมินคุณภาพภายนอก 7 เครือข่าย เป็นอีกหนึ่งภาคีเครือข่ายของ สมศ. ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักและเห็นความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก รวมถึงเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ สมศ.ใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอก รวมถึงช่วยเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความเข้าใจ และคอยเฝ้าระวังสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประเมินคุณภาพภายนอก และการดำเนินงานของ สมศ.เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ" รักษาการ ผอ.สมศ. กล่าว

          ขณะนี้ สมศ.มีแกนนำเครือข่ายการประเมินคุณภาพภายนอก 7 เครือข่าย ประกอบด้วย
1) เครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา
2) เครือข่ายนิสิตนักศึกษา
3) เครือข่ายนักคิดผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น
4) เครือข่ายเขตพื้นที่การศึกษา
5) เครือข่ายเจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพ
6) เครือข่ายนักวิจัยทางการศึกษา
7) เครือข่ายสื่อมวลชน

          "เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นที่ยอมรับ สมศ.จึงได้เสริมสร้างความร่วมมือจากทุกเครือข่าย เพื่อเป็นกระจกสะท้อนคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่างไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการศึกษาของประเทศและนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงข้อเสนอแนะที่ได้ไปพัฒนาและขยายเครือข่ายของตนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญและสนับสนุนงานประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับของการดำเนินงานประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป"รักษาการผู้อำนวยการ สมศ.กล่าว



          ผู้ประเมินภายนอกเป็นหัวใจสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก สามารถสะท้อนผลการจัดการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาไทย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น