วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ขอรัฐเร่งปลดล็อคส่งออกไข่ ก่อนเจ๊ง หลังไข่ล้นตลาด เหตุผู้บริโภคคลายกังวลโควิด


    ประธานกรรมการสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน เผยไข่ไก่ล้นตลาดอีกครั้ง หลังประชาชนเริ่มปรับตัวและสถานการณ์
โควิด-19 มีทิศทางที่ดี ส่งผลคนซื้อไข่ลดลง ไม่มีปัญหากักตุนเหมือนช่วงก่อนหน้า ขอรัฐเร่งแก้ไข ก่อนบานปลายทำเกษตรกรขาดทุนยับ ชี้ยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกชั่วคราวเป็นทางแก้ที่ดีที่สุด


 นายสิริพงศ์ ตระการกมล ประธานกรรมการ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่กำลังประสบปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด พบว่าเกือบ สัปดาห์ที่ผ่านมาการซื้อขาย
ไข่ไก่ในท้องตลาดซบเซาเนื่องจากประชาชนยังคงมีไข่ไก่สำหรับบริโภคในครัวเรือน จากที่ก่อนหน้านี้ได้ซื้อตุนไว้ ตั้งแต่รัฐบาลเริ่มคุมเข้มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับเริ่มคลายความ
วิตกกังวล ทำให้การบริโภคไข่ไก่ทรุด คนซื้อไข่น้อยลงและถือว่าหนักกว่าช่วงก่อนหน้า ขณะที่มาตรการแก้ปัญหาไข่ไก่ของภาครัฐที่ออกมายังคงเดินหน้าต่อ ทั้งการห้ามส่งออกไข่ไก่ไปต่างประเทศ จนถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ และการขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่
ยืดอายุการเลี้ยงแม่ไก่ไข่จากเดิม 80 สัปดาห์ ออกไปตามความเหมาะสม พบว่าจากทั้งสองมาตรการภายในเวลา 1 เดือนจะทำให้มีไข่ไก่เหลือจากการบริโภคในประเทศมากถึง 86,000,000 ฟอง



       “การที่รัฐห้ามส่งออกในระยะเวลา 1 เดือนนี้ทำให้มีไข่เหลือ 30 ล้านฟอง  ขณะที่ไข่จากแม่ไก่ที่ยืดอายุการเลี้ยงออกไป ทำให้มีแม่ไก่เพิ่มมาอีกกว่า 1 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ซึ่งออกไข่ทุกๆวัน ภายใน 1 เดือนจะมีไข่ไก่ออกสู่ตลาดสะสมถึง  56 ล้านฟอง และคาดว่าจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้จะมีแม่ไก่ยืนกรงทั้งประเทศถึง 53 ล้านตัว ซึ่งจะให้ผลผลิตมากถึง 44 ล้านฟองต่อวัน แต่คนไทยบริโภค
วันละแค่ 39-40 ล้านฟอง ไข่ที่เกินมานี้ไม่มีตลาดรองรับ จากที่เคยส่งออกเพื่อระบายไข่ส่วนเกินได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้ ผลผลิตก็ล้นตลาด ขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาปลดล็อคมาตรการนี้ ก่อนที่เกษตรกรทั้งประเทศจะขาดทุนจนต้องเลิกกิจการ เพราะแบกรับภาระต่อไม่ไหว” นายสิริพงศ์ กล่าว


          ประธานกรรมการ สหกรณ์ผู้เลี้ยง
ไก่ไข่เชียงใหม่-.ผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ที่เป็นราคากลางใช้อ้างอิงให้ขายอยู่ที่ 2.80 บาทต่อฟอง  แต่ราคาที่เกษตรกรในภาคเหนือขายไข่ได้จริงอยู่ที่ 2.60-2.70 บาทต่อฟองเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสูงถึง 2.69 บาทต่อฟอง โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำแล้งจนต้องซื้อน้ำใช้ทำให้มีต้นทุนเพิ่ม และสภาพอากาศที่ร้อนจัดยังส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ส่วนใหญ่มีแต่ขนาดเล็ก เกษตรกรจึงขายไข่ได้ราคาต่ำลงตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น