วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2565

จีนเปิดด่านโมฮ่านนำเข้าทุเรียนไทยแล้ว “อลงกรณ์”แนะผู้ส่งออกเข้มงวดมาตรการปัองกันปนเปื้อนโควิด พร้อมบริหารความเสี่ยงเปิดช่องทางขนส่งทางเรือทางอากาศเพิ่ม

 


 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ว่า ด่านโม่ฮานในมณฑลยูนนานเปิดนำเข้าทุเรียนไทยจากด่านบ่อเต็นของลาวแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วัน ระหว่างวันที่ 12 – 14 เมษายน จากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทย 


โดยด่านเปิดทำการระหว่างเวลา 08.30 - 21.00 น. และในเวลา 17.30 - 21.00 น. เป็นช่วงให้รถบรรทุกเปล่าผ่าน ส่วนโหย่วอี้กวน (กว่างซีจ้วง) ยังเปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 - 19.00 น. แต่มีความแออัดจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงและขอให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดและฆ่าเชื้อสินค้าตามข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัดตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)” นายอลงกรณ์ กล่าว

 



 อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการส่งออกแนะนำให้เพิ่มการขนส่งทางเรือและทางอากาศ โดยท่าเรือของจีนที่เปิดให้บริการนำเข้าผลไม้ไทยได้แก่ 1.ท่าเรือชินโจว (กว่างซีจ้วง) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือชินโจวสัปดาห์ละ 4 - 7 เที่ยว ระยะเวลา 3 - 8 วัน ระยะเวลาในการตรวจปล่อยและผ่านโกดังห่วงโซ่ควบคุมความเย็นประมาณ 3 - 4 วัน 2.ท่าเรือเสอโข่ว (เซินเจิ้น) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือเสอโข่วเฉลี่ยวันละ 1 - 4 เที่ยว ระยะเวลา 6 - 11 วัน ท่าเรือหนานซา (กว่างโจว) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือหนานซาเฉลี่ยวันละ 1 - 3 เที่ยว ระยะเวลา 5 - 9 วัน ส่วนท่าเรือเซินเจิ้นวาน และท่าเรือเซี่ยงไฮ้ แม้เปิดบริการแต่มีมาตรการตรวจโควิดเข้มข้นอาจเกิดความล่าช้ามากกว่าปกติ

 



ขณะที่ในส่วนการขนส่งทางอากาศนั้น สนามบินเซินเจิ้น เป่าอัน มีเที่ยวบินคาร์โกของบริษัท S.F. รองรับน้ำหนักบรรทุก ประมาณ 25 ตันต่อเที่ยว จากสนามบินสุวรรณภูมิไปสนามบินเซินเจิ้น สัปดาห์ละ 6 เที่ยว (ยกวันวันเสาร์) ส่วนสนามบินเซียงไฮ้ ผู่ตงยังเปิดให้บริการ แต่เนื่องจากนครเซี่ยงไฮ้ขยายการล็อคดาวน์ออกไปอย่างไม่มีกําหนด ทำให้การตรวจปล่อยและขนส่งสินค้าล่าช้าติดขัดซึ่งขอให้ผู้ส่งออกติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพราะสถานการณ์ด่านนําเข้าของจีนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ด้วย

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565

Opn Tag ยกระดับเมนูดิจิทัลลุยธุรกิจแบบ ‘Tap into new experiences’ ตอบโจทย์โซลูชันร้านอาหารและโรงแรม ตั้งเป้า 10,000 รายภายในปี 65

 

 Opn Tag (โอเพ่น แท็ก) รุกธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม หนุนโมเดล O2O เร่งสปีดสู่ Digital Economy พร้อมเปิดประสบการณ์ผู้ใช้งานเพียงปลายนิ้วสัมผัสด้วยเมนูดิจิทัล ตอบโจทย์ยุค  เน็กซ์นอร์มัล ด้านผู้บริหาร ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ มั่นใจผลิตภัณฑ์ตอบสนองความเป็น Contactless Payments ตั้งเป้าเข้าถึงหมื่นรายภายในปี 65 หนุนมาตรฐานใหม่ด้านบริการในธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมด้วยคอนเซ็ปต์ Tap into new experiences 


นายสุทธิพร เมฆาอภิรักษ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บริษัท โอเพ่น จำกัด เปิดเผยว่า Opn  (โอเพ่น) พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ‘Opn Tag’ (โอเพ่น แท็ก) แพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ประกอบการการร้านอาหาร โรงแรม โซลูชันใหม่ที่ตอบสนองการใช้งาน ในอุตสาหกรรมบริการ อาทิ Digital Menu, Ordering System, Contactless Payments และ Delivery    ช่วยแก้ปัญหาจากสถานการณ์ โควิด-19 รวมถึงการขาดแคลนแรงงานด้านการบริการ ซึ่งเชื่อว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ด้านการให้บริการไร้สัมผัสในวงกว้างภายใต้คอนเซ็ปต์ Tap into new experiences และด้วยความเชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน มีความมั่นใจว่า Opn Tag จะเติบโตในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน โดยตั้งเป้าหมายในการเข้าถึงผู้ประกอบการภายในปี 2565 ประมาณ 10,000 ราย 



นอกจากนี้ Opn Tag ถือเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถตอบสนองโมเดลธุรกิจ O2O (Online to Offline) ซึ่งเป็นเทรนด์ในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ด้วยการผสานข้อดีของการทำธุรกิจแบบออนไลน์และออฟไลน์ เข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มเจ้าแรกในประเทศไทย ที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจด้วยตนเองได้อย่างเต็มรูปแบบ ถือเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่โลกดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการและเป็นการสร้าง Ecosystem รองรับ Digital Economy ในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ในเฟสแรกเตรียมเจาะตลาด ในประเทศไทย ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก 




จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันถูกเปลี่ยนแปลงแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการชำระเงินที่เปลี่ยนจากเงินสด มาเป็นการชำระแบบไร้สัมผัสด้วยสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวในรูปแบบ Contactless Payments สะท้อนว่าพฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลกันเร็วมากขึ้น ในฐานะที่เราเป็นบริษัทเทคโนโลยีจึงพร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Opn Tag เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในยุคดิจิทัลไปพร้อมกัน” สุทธิพร กล่าว 


นายภัทรพร โพธิ์สุวรรณ รองประธานอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มแอปพลิเคชัน บริษัท โอเพ่น จำกัด เปิดเผยว่า Opn Tag เป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุนให้เกิด Digital Transformation ด้วยการนำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการทำเมนูดิจิทัล ลดการใช้กระดาษ ลดการสัมผัส และช่วยประหยัดเวลาในการให้บริการลูกค้า รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากการใช้งานของลูกค้า เช่น เมนูขายดีของร้านและช่วงเวลาที่ขายดี ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจ เพิ่มยอดขาย บริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้นท่ามกลางสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 


  ผมเชื่อว่าต่อไปทุกร้านอาหารหรือแม้กระทั่งโรงแรมจะต้องมี Opn Tag เพราะเป็นการใช้งานแบบ Interaction ผ่านเทคโนโลยี NFC (Near-Field Communication) หรือ QR Code ลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถได้รับประสบการณ์ใหม่เพียงนำสมาร์ทโฟนแตะหรือแสกนที่แผ่น Tag ก็สามารถดูเมนูดิจิทัลเพื่อเลือกอาหารที่ต้องการ กดสั่งและสามารถชำระเงินได้ทันที ทำให้ร้านอาหารที่ใช้ Opn Tag สามารถให้บริการลูกค้าในรูปแบบสั่งอาหารแบบไร้สัมผัส สะดวกสบาย ถือเป็นการยกระดับร้านอาหารไปอีกขั้น ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคใหม่” ภัทรพร กล่าว 



ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่า ความสำเร็จของ Opn Tag ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงองค์กรเดียว โดยมีบริษัท   ในเครือเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง คือ Omise (โอมิเซะ) ผู้ให้บริการระบบรับชําระเงินออนไลน์แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การรับชําระเงินจากผู้ซื้อ การบริหารจัดการความเสี่ยง การดูแลด้านความปลอดภัย รวมไปถึงการโอนเงินออกจากระบบไปยังบัญชีธนาคาร โดยบริการของโอมิเซะช่วยผู้ประกอบการร้านค้าลดความซับซ้อนในการทําธุรกรรมด้านการเงินอีกด้วย และ พันธมิตรอย่าง SKOOTAR (สกู๊ตตาร์) ผู้ช่วยจัดการขนส่งอาหาร และบริการ นอกจากนี้ในประเทศไทย  มี Pilot Merchants ซึ่งก็คือกลุ่มผู้ใช้งาน Opn Tag เป็นกลุ่มแรก จำนวน 22 ราย ดังนี้ Skal, The Baking Bureau, Port Coffee, Factory BKK, Knock Knock, Krobkun, OOO BKK, 10010Bar, Nip Coffee Rama4, Gallery Drip CNX, Nana Coffee Roasters, Mayrai Wine Bar, Kenzou Sushi, KRS Ratchaburi, Haru Dot, Grindsize.Wanchai, Grindsize.Friends, Espressoman CDC, Marni, Hottobun, Hoshi และโรงแรม Mangrove Phuket ส่วนในประเทศญี่ปุ่น PRONTO จะเป็น Pilot Merchant แรก ที่กำลังจะเริ่มใช้งาน Opn Tag ในปีนี้ (PRONTO Corporation เป็นเชนร้านอาหารและคาเฟ่ของญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมากและมีถึง 307 ร้านทั่วโลก)

 

ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรมที่สนใจบริการ Opn Tag ปัจจุบันมีโปรโมชั่นช่วงเปิดตัว สามารถรับฟรี  1 Tag มูลค่า 300 บาท (สิทธิพิเศษนี้มีจำนวนจำกัด) เพียงแค่ลงทะเบียนผ่าน bit.ly/opnTagsignup หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ opnTag@opn.ooo และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ Opn Tag ผ่านทางเว็บไซต์: opn.ooo/Tag 

Facebook: facebook.com/OpnTagbyOpn  

YouTube: https://youtu.be/8mWUOHVkLqY