วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

สรุปภาวะสินค้าเกษตร ประจำสัปดาห์ วันที่ 27-30 เมษายน 2563



ข้าวโพด : ราคาปรับลด
สัปดาห์นี้ ราคาซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ ปรับลดลงจากหาบละ 534 บาท เป็นหาบละ 525 บาท เนื่องจากพ่อค้าเริ่มขายผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกมามากขึ้
ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 29 เมษายน 2563 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 314.5 เซนต์/
บุชเชล สัปดาห์ที่ผ่านมาถึงแม้มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมากในบริเวณตอนใต้ของพื้นที่มิตเวสท์ แต่สภาพอากาศโดยรวมเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกข้าวโพด กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้รายงานความคืบหน้าการเพาะปลูกข้าวโพดสัปดาห์นี้อยู่ที่ 27% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 22% ด้านอุปสงค์ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐฯ รายงานการผลิตเอทานอลลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา และปริมาณเอทานอลในคลังสินค้าปรับตัวต่ำลงเล็กน้อย แนวโน้มราคาทรงตัว
แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว


ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว
กากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าในสัปดาห์นี้ ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 13.95 บาท โดยไวรัสโควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในอเมริกาเหนือและใต้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกดดันราคาตลาด รวมทั้งด้านการขนส่งที่เริ่มมีปัญหามากขึ้น จึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง
ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 29 เมษายน 2563 เมล็ดถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 837.5 เซนต์/บุชเชล และ กากถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนกรกฎาคม ราคาอยู่ที่ 288.6 เหรียญสหรัฐฯ/ช็อตตัน ประเทศจีนสั่งซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ที่ 1.71 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 1.51 ล้านตัน ขณะที่การนำเข้าจากบราซิลในเดือนมีนาคมจำนวน 2.1 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 2.79 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ค่อนข้างมากทำให้การส่งออกล่าช้า แนวโน้มราคาทรงตัว
แนวโน้ม : คาดว่าราคาถั่วเหลืองนำเข้าน่าจะทรงตัว


ปลาป่น : ราคาปรับขึ้น
ปลาป่นสัปดาห์นี้ปรับราคาเพิ่มขึ้นทุกเบอร์ เบอร์ละ 1 บาท โดยประเทศผู้ผลิตอย่างเปรู มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการต่อประกาศภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กดดันตลาดทำให้ราคาสูงขึ้น ขณะที่จีนยังคงมีความต้องการซื้อปลาป่นเพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์สูงอย่างต่อเนื่อง
โดยปลาป่นเกรดกุ้ง ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท เป็นกิโลกรัมละ 40.00 บาท ปลาป่นเบอร์ 1 เกรดที่สูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.20 บาท เป็นกิโลกรัมละ 36.20 บาท และปลาป่นเกรดที่ต่ำกว่า 60 โปรตีน ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.70 บาท เป็นกิโลกรัมละ 33.70 บาท
ด้านปลาป่นคุณภาพรองลงมา ปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.20 บาท เป็นกิโลกรัมละ 33.20 บาท ส่วนปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 56 แต่ไม่เกิน 60 ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.70 บาท เป็นกิโลกรัมละ 30.70 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาปลาป่นน่าจะทรงตัว


ข้าว : ราคาข้าวทรงตัว
ตลาดซื้อขายข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศทรงตัว โดย ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ส่งออกท่าเรือกรุงเทพฯ เอฟ.โอ.บี. อยู่ที่ตันละ 572 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ส่งออก เอฟ.โอ.บี. อยู่ที่ตันละ 445 เหรียญสหรัฐฯ
ด้านตลาดซื้อขายข้าวในประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ยืนราคาที่กระสอบละ 1,700 บาท ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ณ โรงงานอาหารสัตว์ ราคาทรงตัวที่กระสอบละ 1,300 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวน่าจะทรงตัว


สุกร : ราคายืนแข็ง
ราคาประกาศสุกรหน้าฟาร์ม จากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในสัปดาห์นี้ ยืนแข็งที่กิโลกรัมละ 68-71 บาท จากสภาพอากาศที่ร้อนจึงทำให้น้ำหนักของสุกรลดลง ทั้งนี้ การปลดล๊อกดาวน์ทั่วไทยที่จะเริ่มวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่ร้านอาหารไม่ติดแอร์ ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า จะเป็นปัจจัยบวกต่อความต้องการบริโภคเนื้อสุกรให้เพิ่มมากขึ้น
ด้านลูกสุกรขนาด 16 กิโลกรัมต่อตัว ราคาอยู่ที่ 1,800 บาท (บวก/ลบ 60)
แนวโน้ม : คาดว่าราคาสุกรทิศทางปรับขึ้น


ไก่เนื้อ : ราคาทรงตัว
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม ตามประกาศสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ทรงตัวที่กิโลกรัมละ 31 บาท สต๊อกไก่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากการบริโภคโดยรวมที่ลดลง
ด้านลูกไก่เนื้อราคาตัวละ 6.50 บาท และลูกไก่ไข่ราคาตัวละ 26.00 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาไก่เนื้อน่าจะทรงตัว  


ไข่ไก่ : ราคาทรงตัว 
สถานการณ์ไข่ไก่ในขณะนี้ ประชาชนยังคงบริโภคไข่ไก่ที่ได้ซื้อตุนไว้ช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ปริมาณความต้องการซื้อในช่วงนี้ลดลง โดยราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ยืนราคาที่ฟองละ 2.60 บาท     
แนวโน้ม : คาดว่าราคาไข่ไก่น่าจะทรงตัว

สุดยอดทีมเชฟกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ผนึกพลัง โครงการ Chef Cares ส่งมอบอาหารบุคลากรทางการแพทย์ สู้ภัยโควิด-19



          โครงการ Chef Cares เป็นการรวมตัวของสุดยอดเชฟฝีมือระดับแนวหน้าของเมืองไทยกว่า 25 ท่าน จากร้านอาหารชื่อดังในกรุงเทพฯ และ ภูเก็ต ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม โดยการปรุงเมนูอร่อยชั้นเลิศที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ส่งมอบให้ทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ สนับสนุนและเป็นกำลังใจในความเสียสละและความทุ่มเทเป็นทัพหน้าช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยและช่วยประเทศเอาชนะวิกฤติโควิด-19 

     
         นางมาริษา เจียรวนนท์  ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง โครงการ Chef Cares กล่าวว่า อาหารเป็นภาษารักที่แสดงออกด้วยความห่วงใย เอื้อเฟื้อ ผ่านการจัดปรุงด้วยความใส่ใจและละเมียดละไมของเชฟสุดยอดฝีมือ ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ดื่มด่ำความอร่อยสุดล้ำ ช่วยเพิ่มพลังกายและพลังใจต่อสู้กับสงครามเชื้อโรคได้ 

          ทั้งนี้ เชฟจิตอาสาที่เข้าร่วมโครงการ Chef Cares 
ปรุงเมนูรสเลิศให้บรรดาบุคลากรทางการแพทย์ในครั้งนี้ ประกอบด้วย เชฟวุฒิศักดิ์ วุฒิอัมพร, เชฟทองเลี่ยม พุกทอง นายกสมาคมเดอะเชฟ, เชฟสมศักดิ์ รารองคำ นายกสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย, เชฟศุภจิตรา ศุกรวรรณ ทินกร จากโรงเรียนศิลปศาสตร์อาหารไทย หม่อมหลวงพวง ทินกร, กุลวัชร ภูริชยวโรดม แห่งร้านโชนัน, ทศพร วิณิชวรพงศ์ แห่งร้าน WOK Station, เชฟธนินทร จันทรวรรณ, เชฟวิชิต มุกุระ, เชฟสุภิญญา จันสุตะ (เจ้ไฝ) และ เชฟแดน บาร์ค  เป็นต้น  

          เชฟวุฒิศักดิ์ วุฒิอัมพร ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการในจังหวัดภูเก็ต อธิบายเพิ่มว่า ทีมเชฟจิตอาสาจะรังสรรค์เมนูอร่อยๆ ให้กับทีมแพทย์ พยาบาลที่เป็นทัพหน้าในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ได้อิ่มอร่อย พร้อมกับคุณค่าโภชนาการ และสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

          “เชฟจิตอาสาทุกคนขอมีส่วนร่วมในการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานต่อสู้กับสงครามเชื้อโรคอย่างไม่ย่อท้อ โดยทีพเชฟจิตอาสาได้แบ่งปันความสุขจากมื้ออาหารที่อร่อยล้ำ ปรุงจากใจ เพื่อร่วมดูแลสุขภาพนักรบเสื้อกาวน์ที่เสียสละปฏิบัติงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ดูแลผู้ป่วยและป้องกันการระบาดของโควิด-19” เชฟวุฒิศักดิ์กล่าว 
          เชฟจิตอาสากว่า 25 คนที่ร่วมโครงการฯ จะสลับหมุนเวียนมาจัดเตรียมอาหารในทุกเช้า เพื่อปรุงอาหารมื้อกลางวันอย่างพิถีพิถันจำนวน 300 ชุด และจัดส่งให้แก่โรงพยาบาลรัฐกว่า 9 แห่ง อาทิ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ฯลฯ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ, เจียไต๋ฟาร์ม, ข้าวตราฉัตร, ไร่ชาอรักษ์ และโรงเรียนศิลปะการอาหารและผู้ประกอบการคูลิเนอร์

กระทรวงเกษตรฯ เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด จับมือ CPF เดินหน้า “โครงการอาหารปลอดภัยจากใจ...สู่ชุมชน” ส่ง Food Truck บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในชุมชนแออัด


          เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดย นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ร่วมกันดำเนินโครงการ “อาหารปลอดภัยจากใจ...สู่ชุมชน” ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารจากวิกฤตโควิด19 ให้แก่ประชาชนในชุมชนแออัดในเขตบางพลัดและเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร รวมถึงประชาชนในภาคเหนือและภาคใต้

          นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนแออัดทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่เป็นต้นทางของผู้ผลิตอาหารที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง จึงได้ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน อย่าง ซีพีเอฟ นำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องอาหารของทั้งสององค์กรมาร่วมกัน จัดทำ “โครงการอาหารปลอดภัยจากใจ...สู่ชุมชน” เพื่อส่งมอบอาหารที่มีดีมีคุณภาพ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนแออัด ให้ได้รับการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ มีคุณภาพ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้


          "กิจกรรมในครั้งนี้ นอกเหนือจากการได้แบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผล
กระทบแล้วนั้น ยังเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทยอีกทางหนึ่งด้วย เพราะการส่งมอบอาหารและสินค้าเกษตรให้กับประชาชน ซึ่งช่วยกระจายผลผลิตทางการเกษตร และรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรให้คงที่ ช่วยให้เกษตรกรยังได้รับรายได้จากการประกอบอาชีพ จึงต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามาร่วมมือกันและทำให้โครงการดี ๆ นี้เกิดขึ้นมา เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ"
นายเฉลิมชัย กล่าว


          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะร่วมกับ CPF เป็นสื่อกลางที่จะส่งมอบสินค้าเกษตรและอาหารที่มีความปลอดภัยให้กับชุมชม โดยจะแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนในชุมชนแออัด ที่อาศัยในพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร นำร่องใน เขตบางกอกน้อย และเขตบางพลัด ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจะทยอยดำเนินการแจกอาหารทั้ง 2 เขต เขตละ 10 วัน และหลังจากนั้นจะเริ่มขยายผลดำเนินการในลักษณะเดียวกันในภาคอื่น ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ที่จังหวัดพิจิตร และภาคใต้ที่จังหวัดตรัง ต่อไป


          ด้าน นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าวว่า บริษัทฯตระหนักถึงผลกระทบจากการสถานการณ์โควิด19ที่มีต่อหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนแออัด จึงได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ส่งมอบอาหารปลอดภัยให้แก่พี่น้องชาวบางกอกน้อยและบางพลัด


          “เราขอใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในด้านอาหาร มาร่วมบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชน โดยจะใช้รถ Food Truck CP Freshmart นำอาหารไปอุ่นร้อนแจกจ่ายประชาชนในเขตบางกอกน้อยและบางพลัดเขตละ 10 วัน ให้พี่น้องประชาชนได้อิ่มท้องในช่วงเวลายากลำบากจากสถานการณ์โควิด19” นายประสิทธิ์กล่าว


          การส่งมอบอาหารให้ประชาชนในครั้งนี้ เป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประเทศชาติ ประชาชน ให้ก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด19 ไปด้วยกัน ภายใต้หลักคิด Good Corporate Citizen กล่าวคือเป็นบริษัทที่ร่วมสร้างและดูแลสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าให้กับประเทศ โดยก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 ได้มอบอาหารให้แก่ชุมชนคลองเตยไปแล้ว 8,499 ครัวเรือน


          อนึ่ง ตลอดช่วงเวลาของการรับมือสถานการณ์โควิด19 นอกจากความรับผิดชอบที่จะไม่หยุดสายพานการผลิตอาหารเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนมีอาหารอย่างเพียงพอแล้ว ซีพีเอฟยังสนับสนุนมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยส่งอาหารให้แพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาล 301 แห่งทั่วประเทศ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 268 แห่ง และโรงพยาบาลรัฐในสังกัดอื่นๆ 33 แห่ง รวมถึงการส่งอาหารให้ประชาชนที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงอีกกว่า 20,000 คน เพื่อสนับสนุนความรับผิดชอบต่อสังคมและช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อ นอกจากนี้ ยังขยายผลไปถึงครอบครัวแพทย์-พยาบาลอีกกว่า 30,000 ครอบครัว เพื่อให้แพทย์และพยาบาลลดความกังวลด้านการจัดหาอาหารให้คนในบ้านและสามารถทุ่มเทดูแลรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่ สะท้อนบทบาทของการเป็นบริษัทไทยผู้ร่วมต้านภัยโควิด19 อย่างจริงจังและต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia ประกาศเลื่อนการจัดงานเป็นวันที่ 18-20 มกราคม พ.ศ.2565



          สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก คณะผู้บริหารจาก VICTAM Corporation และ VIV worldwide ก่อนหน้านี้ตัดสินใจประกาศเปลี่ยนวันจัดงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia ไปอยู่ในช่วงต้นไตรมาสที่สามของปี พ.ศ.2563อย่างไรดี สถานการณ์ทั่วโลกยังคงอยู่ในช่วงวิกฤตและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นในการแก้ไขปัญหาทางผู้จัดจึงไม่สามารถจัดงานในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมตามกำหนดการเดิม ตราบใดที่สถานการณ์การระบาด COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบส่งธุรกิจทั่วโลกจึงนำมาสู่บทสรุปที่ต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถจัดงานแสดงสินค้าในช่วงนี้ได้ เพราะลูกค้าคือบุคคลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา

            ทั้งนี้ การเลื่อนการจัดงานไปยังเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2565 จะทำให้ทุกภาคส่วนได้มีเวลาไปใส่ใจกับประเด็นสำคัญอื่นๆ มากขึ้พันธกิจหลักของเราคือ การนำเสนอเวทีเจรจาธุรกิจที่มีประสิทธิภาพให้เกิดมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเสริมสร้างให้อุตสาหกรรมแข็งแรงและเอื้อผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ผลจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เราไม่สามารถบรรลุความตั้งใจและประสบความสำเร็จในพันธกิจนี้ได้ในช่วงเวลนี้เราเชื่อมั่นว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับส่วนรวม และเราจะกลับมาอย่างเข้มแข็งไปด้วยกันอีกครั้งในปี พ.ศ.2565

          งาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia เปลี่ยนกำหนดการจัดงานใหม่เป็น วันที่ 18-20 มกราคม พ.ศ.2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์คงเดิมคือ การมุ่งเน้นความสำคัญของธุรกิจอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ จัดโดย VICTAM และ VIV

           นอกจากนั้นทาง Victam Corporation และ VIV worldwide ยังมีอีกหนึ่งความร่วมมือสำหรับการจัดงานในยุโรป ปี พ.ศ. 2565 โดยมีกำหนดการจัดงาน VICTAM International และ VIV Europe พร้อมกัน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม Jaarbeurs เมือง Utrecht ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565

รายละเอียดเพิ่มเติม: www.victamasia.com หรือ www.vivhealthandnutrition.nl

Sebas van den Ende                         Heiko M. Stutzinger
ผู้จัดการทั่วไป                            ผู้อำนวยการ VIV worldwide
VICTAM Corporation                         กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด

ติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด

Ms. Elena Geremia, elena.geremia@vnuexhibitions.com (Senior MarCom Manager VIV worldwide)
Ms. Saengtip Techapatiphandee, saengtip@vnuasiapacific.com (Campaign Manager Asia VNU Asia Pacific)
Mrs. Catelijne de Gooijer, catelijnedegooijer@victam.com (Marketing and Communications Manager VICTAM)

VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia postponed to 18 – 20 January 2022

Due to the worldwide COVID-19 crisis, the management teams from the VICTAM Corporation and VIV worldwide had decided earlier to postpone VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia in Bangkok to second quarter of 2020.

As the worldwide situation is still very critical and a long way from being solved, we cannot take the risk of organizing an event as early as July. COVID-19 is still disrupting the business around the world and we come to a conclusion that being present at the exhibition is not at the moment, our client’s priority.

Postponing the event entirely to January 2022 would give all stakeholders room to breathe and pay attention to other vital issues. Our mission is to present a strong, value adding event to the industry with high benefits for all parties. Due to the consequences of the COVID-19 outbreak, our mission cannot be accomplished successfully now, thus we believe it is the right decision to hold on and come back even stronger together in 2022.

VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia is now re-scheduled to January 18 – 20, 2022 at BITEC, Bangkok, Thailand. The objective remains the same: to realize the total animal feed and health event organized by VICTAM and VIV. 

The Victam Corporation and VIV worldwide will also continue their partnership in Europe in 2022 by organizing VIV Europe and VICTAM International together at the Jaarbeurs exhibition grounds in Utrecht, the Netherlands, from May 31 – June 2, 2022. The set-up of the exhibition is different from the Asia event, as VIV Europe and VICTAM International will be co-located but with each exhibition in their respective halls.

For more information on VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia, please visit the official websites: www.victamasia.com or www.vivhealthandnutrition.nl. 

Sebas van den Ende                     Heiko M. Stutzinger
General Manager                    VIV worldwide Director
VICTAM Corporation                    Managing Director, VNU Asia Pacific

Press contacts:
Ms. Elena Geremia, elena@vnueurope.nl (Senior MarCom Manager VIV worldwide)
Mrs. Saengtip Techapatiphandee, saengtip@vnuasiapacific.com (Campaign Manager Asia and Thailand)
Mrs. Catelijne de Gooijer, catelijnedegooijer@victam.com (Marketing and Communications Manager VICTAM)

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ ชี้ส่งออกไก่ไทยยังแกร่ง ตลาดจีนสดใส หลังรับรองโรงงานไก่อีก 7 แห่ง คาดช่วยดันส่งออกไก่ปีนี้ร่วม 9.6 แสนตัน


          นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เผยสถานการณ์โควิดในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย-ผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ส่งผลดีต่อการส่งออกไก่ไทย เล็งตลาดจีนเป็นหลัก หลังประกาศขึ้นทะเบียนโรงเชือดสัตว์ปีกไทยอีก 7 โรงงาน คาดเริ่มมีคำสั่งซื้อช่วง Q3/63 ชี้ความต้องการบริโภคสูง เชื่อดันการส่งออกปีนี้ที่ 9.5 - 9.6 แสนตัน

          นายอนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยว่า จากการร่วมประชุมกับ กระทรวงพาณิชย์ และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการผลิตไก่สดและแปรรูปของไทย พบว่าในวิกฤติโควิด-19 ยังคงมีโอกาสสำหรับสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย ที่ยังคงเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปที่ทันสมัย ระบบฟาร์มมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ปีกในระดับแนวหน้าของโลก และด้วยศักยภาพการเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อเป็นอันดับ 8  ของโลก ด้วยกำลังการผลิต  2.8 ล้านตันต่อปี และเป็นผู้นำด้านการส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก พบว่าช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 นี้ การส่งออกไก่ของไทยมีการขยายตัวแล้วถึง 3-4% แม้จะมีอุปสรรคเรื่องการล็อคดาวน์ในประเทศต่างๆ จากปัญหาโควิด-19 ทำให้ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ แต่เชื่อว่าสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น บางประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆลง จะทำให้ความต้องการบริโภคเริ่มกลับมา

          "สมาคมฯ คาดว่าการส่งออกไก่ในปี 2563 จะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ปริมาณ 950,000 - 960,000 ตัน มูลค่ากว่า 111,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ว่าจะคลี่คลายเร็วหรือช้า ทั้งนี้ยังมีปัจจัยบวกในตลาดจีน ที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่คาดว่าปีนี้จะส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นอีก 35,000-40,000 ตัน จากการประกาศรับรองโรงงานไก่อีก 7 แห่ง ทำให้มีโรงงานไก่ของไทยถึง 21 แห่งที่สามารถส่งออกไก่ไปตลาดจีนได้ ขณะที่สิงคโปร์ที่เป็นตลาดอันดับที่ 6 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ การนำเข้าไก่ขยายตัวสูงถึงกว่า 10% และยังคงมีคำสั่งซื้อที่แน่นอนเข้ามาปกติ รวมทั้งมีสัญญาณการผ่อนคลายมาตรการที่เคยเข้มงวดด้านการนำเข้า เพื่อให้มีปริมาณเนื้อไก่เพียงพอกับการบริโภค ป้องกันปัญหาการขาดแคลนอาหาร สะท้อนว่าตลาดไก่ยังสดใส และไทยพร้อมส่งออกอยู่ตลอดเวลารอเพียงออร์เดอร์ที่เข้ามาเท่านั้น"  นายอนันต์กล่าว

          ขณะเดียวกัน ในตลาดส่งออกอันดับ 1 อย่างญี่ปุ่น ที่มีปริมาณ 438,000 ตัน มูลค่า 59,700 ล้านบาท ซึ่งได้มีการนำเข้าไปสต็อกเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจึงกำลังรอดูสถานการณ์ก่อน รวมถึงสหภาพยุโรป (EU) ที่เป็นตลาดอันดับ 2 ประมาณ 320,000 ตัน ก็ยังคงโควตาเดิม มูลค่า 33,800 ล้านบาท และยังรอการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิดอยู่ ส่วนตลาดอื่นๆ คาดว่ามีปริมาณ 196,000 ตัน มูลค่า 18,000 ล้านบาท

          นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวถึงประเด็นที่สมาคมผู้แปรรูปสัตว์ปีก (AVEC) สมาคมผู้ค้าสัตว์ปีกแห่งสหภาพยุโรป และสมาคมผู้เลี้ยงและฟักสัตว์ปีกแห่งสหภาพยุโรป (ELPHA) ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ปรับลดการนำเข้าไก่เนื้อจากบราซิล ไทย และยูเครน จำนวน 850,000 ตัน เพื่อแก้ปัญหาไก่ในประเทศโอเวอร์ซัพพลาย ว่าเรื่องนี้คณะกรรมาธิการยุโรปต้องมีการพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และที่สำคัญจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าในตลาดนี้ได้ชะลอซื้ออยู่แล้ว เนื่องจากในยุโรปร้านอาหารต่างปิดตัวลงจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไทยส่งเข้าตลาด EU ลดลงอยู่แล้ว ตามความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงนี้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลกับรัฐบาลที่จะต้องเจรจากันในการจำกัดหรือชะลอการนำเข้า เนื่องจากในสถานการณ์เช่นนี้ความต้องการย่อมลดลง เป็นปัญหาที่ทั้งโลกต้องเผชิญร่วมกัน

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ประวัติความเป็นมาของสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ


          ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมที่จัดโดยสถานทูตเนเธอร์แลนด์หลายครั้ง ครั้งแรกที่ได้ไปเยือนก็รู้สึกตื่นเต้นและหลงใหลในความงามของบ้านทรงโคโลเนียลหลังนี้เป็นอย่างยิ่ง สอบถามคุณพันทิพา เจ้าหน้าที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ที่เป็นผู้ประสานงานทราบว่าเคยเป็นวังของ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชมาก่อน

          สองสามวันก่อนค้นเจอรูปเก่าที่เคยถ่ายไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ และคุณพันทิพาได้กรุณาหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของบ้านหลังนี้ก่อนที่จะมาเป็นสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

           เริ่มจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณนี้จากชาวนาที่ย้ายออกไปนอกเมืองเป็นจำนวน ๒๓ ไร่  แล้วสร้างบ้านซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคาจั่ว และมีส่วนหลังเป็นหอคอยสูง ๓ ชั้น  มีจุดเด่นคือ หลังคาที่ซ้อนชั้นขึ้นไปในส่วนของหอคอยมีการตกแต่งด้วยไม้แกะสลักและเสาประดับที่ยอดจั่ว

          แรกสุดบ้านหลังนี้เคยเป็นที่พักของนายแพทย์อัลฟองส์ ปัวส์ แพทย์ชาวฝรั่งเศสประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในช่วงสั้นไป  ภายหลังหมอปัวส์ได้ย้ายออกไปในปี พ.ศ.๒๔๕๖

          ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจทรงขายบ้านและที่ดินให้แก่พระยาราชสาสนโสภณ ซึ่งต่อมาพระราช
สาสนโสภณได้ขายต่อให้กรมพระคลังข้างที่ (สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) โดยมีอธิบดีกรมพระคลังข้างที่เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน

          อีก ๑๕ ปีต่อมา ในราวปี พ.ศ.๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.   ได้พระราชทานที่ดินและบ้านหลังนี้แก่   พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงขอพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๗ ขายที่ดินบางส่วนจำนวน 2 ไร่. คืนให้กรมพระคลังข้างที่เพื่อนำเงินมาปรับปรุงบ้านหลังนี้

          หลังจากเกิดกบฏบวรเดชเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ พระองค์เจ้าบวรเดชทรง
ลี้ภัยการเมืองไปประทับในเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม และภายหลังได้ทรงย้ายไปอยู่ในประเทศกัมพูชานานถึง ๑๖ ปี เมื่อทรงลี้ภัยไปแล้ว ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๔๘๒ บ้านหลังนี้ถูกปล่อยให้เช่ากับสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษใช้เป็นสำนักงานและคลับเฮ้าส์

          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาใช้บ้านหลังนี้เป็นสำนักงาน หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ บ้านหลังนี้ถูกปล่อยเช่ากับบาทหลวง Salesian ซึ่งเป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อใช้เป็นสำนักงานและโบสถ์ส่วนตัว

           หลังจากรัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้นักโทษการเมืองทุกคดีในปี พ.ศ.๒๔๙๑ พระองค์เจ้าบวรเดชเสด็จกลับไทยและทรงขายบ้านพร้อมที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ในราคา ๑,๘๕๐,๐๐๐ บาท และเสด็จไปประทับที่ อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ทรงตั้งโรงงานทอผ้า เนื่องจากทรงเคยเปิดโรงงานทอผ้าในกัมพูชาเมื่อครั้งยังทรงลี้ภัยการเมือง ซึ่งผ้าที่ทอจากโรงงานที่หัวหินก็คือ
ผ้าโขมพัสตร์อันมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมกันจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

          ภายหลังรัฐบาลเนเธอร์แลนด์. ได้นำบ้านหลังนี้และพื้นที่โดยรอบมาปรับปรุงเป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง : readthecloud เยี่ยมสถานทูตเนเธอร์แลนด์ (ขอขอบคุณคุณพันทิพา เจ้าหน้าที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ มาณ ที่นี้ ที่ได้กรุณาหาข้อมูลให้)

รูปประกอบ:
รูปที่ ๑-๔ บันทึกภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙
รูปที่ ๕-๑๒ ภาพประกอบจาก readthecloud

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

สรุปภาวะสินค้าเกษตร ประจำสัปดาห์ วันที่ 20-24 เมษายน 2563

ข้าวโพด : ราคาทรงตัว
ราคาซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์สัปดาห์นี้ ทรงตัวที่หาบละ 534 บาท เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือน้อย ประกอบกับการขนส่งไม่สะดวก
ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 22 เมษายน 2563 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม ราคาอยู่ที่ 317.25
 เซนต์/บุชเชล สัปดาห์นี้คาดการณ์สภาพอากาศในพื้นที่เพาะปลูกสหรัฐฯ มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การหว่านเมล็ดทางตอนใต้ช้าลง ทั้งนี้ สำนักงานสถิติการเกษตรของสหรัฐฯ (NASS) ในสังกัดกระทรวงเกษตร (USDA) รายงานความคืบหน้าการเพาะปลูกอยู่ที่ 7% เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 9% สำหรับปริมาณเอทานอลยังคงล้นตลาด เนื่องจากการชัตดาวน์จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แนวโน้มรายงานทรงตัว
แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว


ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว
สัปดาห์นี้ ราคากากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 13.95 บาท โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในอเมริกาเหนือและใต้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผล
กดดันต่อราคาตลาด  ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 22 เมษายน 2563 เมล็ดถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม ราคาอยู่ที่ 834.75 เซนต์/บุชเชล และ กากถั่วเหลือง รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม ราคาอยู่ที่ 288.3 เหรียญสหรัฐฯ/ช็อตตัน รายงานความคืบหน้าการเพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐฯ อยู่ที่ 2% ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ส่วนการนำเข้าถั่วเหลืองของจีนยังคงมาจากประเทศในอเมริกาใต้เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศบราซิล เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตที่ค่อนข้างสูงในฤดูกาลนี้ และการอ่อนตัวของค่าเงิน แนวโน้มราคาทรงตัว
แนวโน้ม : คาดว่าราคาถั่วเหลืองนำเข้าน่าจะทรงตัว



ปลาป่น : ราคาทรงตัว
ปลาป่นในสัปดาห์นี้ ทุกเบอร์ราคาทรงตัว ด้านผู้ผลิตอย่างเปรูยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความวิตกกังวลต่อ
ปริมาณผลผลิต (Supply) ที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่จีนยังคงมีความต้องการซื้อปลาป่นเพื่อผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยปลาป่นเกรดกุ้ง ราคายืนที่กิโลกรัมละ 39.00 บาท ปลาป่นเบอร์ 1 เกรดที่สูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 35.20 บาท และปลาป่นเกรดที่ต่ำกว่า 60 โปรตีน ราคากิโลกรัมละ 32.70 บาท
ด้านปลาป่นคุณภาพรองลงมา ปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 60 โปรตีนขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 32.20 บาท ส่วนปลาป่นเบอร์ 2 ชนิดที่มีโปรตีนสูงกว่า 56 แต่ไม่เกิน 60 ราคากิโลกรัมละ 29.70 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาปลาป่นน่าจะทรงตัว



ข้าว : ราคาข้าวปรับลด
ตลาดซื้อขายข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับลด โดย ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ส่งออกท่าเรือกรุงเทพฯ เอฟ.โอ.บี. ราคาลดลงจากตันละ 584 เหรียญสหรัฐฯ เป็นตันละ 570 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ส่งออก เอฟ.โอ.บี. ราคาทรงตัวที่ตันละ 444 เหรียญสหรัฐฯ
ด้านตลาดซื้อขายข้าวในประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ราคาลดลงจากกระสอบละ 1,750 บาท เป็นกระสอบละ 1,700 บาท ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ณ โรงงานอาหารสัตว์ ราคาทรงตัวที่กระสอบละ 1,300 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวน่าจะทรงตัว


        สุกร : ราคายืนแข็ง
เนื่องจากสภาวะอากาศร้อนทำให้สุกรน้ำหนักตัวน้อยลง ส่งผลให้ราคาประกาศสุกรหน้าฟาร์มจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในสัปดาห์นี้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 67-70 บาท
ด้านลูกสุกรขนาด 16 กิโลกรัมต่อตัว ราคาอยู่ที่ 1,700 บาท (บวก/ลบ 58)
แนวโน้ม : คาดว่าราคาสุกรทิศทางปรับขึ้น



ไก่เนื้อ : ราคาอ่อนตัว
การบริโภคเนื้อไก่โดยรวมที่ลดลง ทำให้สต๊อกไก่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม ตามประกาศสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ อ่อนตัวลงจากกิโลกรัมละ 32 บาท เป็นกิโลกรัมละ 31 บาท
ด้านลูกไก่เนื้อราคาตัวละ 6.50 บาท และลูกไก่ไข่ราคาตัวละ 26.00 บาท
แนวโน้ม : คาดว่าราคาไก่เนื้อน่าจะทรงตัว 



ไข่ไก่ : ราคาอ่อนตัว
ราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ราคาที่ฟองละ 2.60 บาท โดยสถานการณ์ไข่ไก่ในขณะนี้ มีการยืดอายุแม่ไก่ออกไป ประกอบกับมาตรการห้ามส่งออกไข่ไก่ ทำให้ปริมาณผลผลิตมีเพิ่มมากขึ้
แนวโน้ม : คาดว่าราคาไข่ไก่น่าจะทรงตัว

เกษตรกรเลี้ยงไก่ เผยผลผลิตไข่สะสมมาก สวนกำลังซื้อชะลอตัว ทำราคาไข่ลด


          นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 2.60 บาทต่อฟอง ลดลงจาก 2.80 บาทเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกินสะสมมากนานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว หลังจากสถานการณ์ไข่ขาดแคลนในช่วงก่อนนี้จากการเร่งกักตุนของประชาชนและพ่อค้าคนกลางคลี่คลายลง ขณะที่ผู้บริโภคต่างทยอยเคลียร์สต๊อกไข่ด้วยการบริโภคในครัวเรือนให้หมดก่อน ผนวกกับกำลังซื้อที่ลดลงของประชาชน ส่งผลให้ตลาดไข่ไก่ซบเซาเป็นอย่างมาก กระทบโดยตรงกับเกษตรกรที่ต้องขายไข่ไก่ในราคาต่ำลง ปัจจุบันเกษตรกรและผู้ประกอบการยังคงดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐ ทั้งการยืดอายุการเลี้ยงแม่ไก่ไข่จากเดิม 80 สัปดาห์ออกไป  และการงดส่งออกไข่ไปจนถึงวันที่30 เมษายนศกนี้ ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่เพิ่มมากขึ้นจนเกินความต้องการทุกวัน

   “ในห่วงโซ่การผลิตไข่ไก่นอกจากเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตแล้ว ยังมีพ่อค้าคนกลางเป็นตัวแปรสำคัญในการปล่อยไข่ไก่ออกสู่ตลาด หรือเก็บกักไข่ในห้องเย็นเพื่อเก็งกำไร หรือเทขายหากคาดการณ์ว่าราคาไข่จะตกลง จึงอยากขอให้กรมการค้าภายในตรวจสอบกลุ่มพ่อค้าคนกลางหรือล้งไข่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้เกษตรกรภาคใต้ยังกังวลกับปัญหาการส่งไข่ไก่มาดั๊มพ์ตลาดของพ่อค้าอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่เมื่อไข่ราคาถูกก็จะขนไข่ลงใต้จำนวนมากเกินความต้องการในพื้นที่ กระทบเกษตรกรใต้อย่างรุนแรง” นายสุเทพ กล่าว

          นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ กล่าวอีกว่า ไข่ไก่เป็นสินค้าอ่อนไหว เมื่อมีอะไรมากระทบมักเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าปัจจัยที่กระทบนั้นไม่ใช่วิถีปกติตามธรรมชาติ เช่นเกิดความตระหนกของประชาชน หรือการกักเก็บเพื่อทำกำไรของพ่อค้าคนกลาง หรือการแทรกแซงกลไกตลาดไข่ไก่ ล้วนก่อให้เกิดผลเสียต่อเกษตรกรผู้ผลิตไข่ไก่มากขึ้น ดังเช่นการห้ามระบายผลผลิตส่วนเกินออกนอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดภาวะไข่ล้นตลาดดังเช่นปัจจุบัน ทั้งๆที่การระบายไข่ไก่ไปขายต่างประเทศต้องขายในราคาขาดทุน เช่นในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ปีนี้ ไทยส่งออกไข่ลดลงไปกว่าครึ่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยราคาส่งออกเฉลี่ยฟองละ 2 บาท ยังไม่รวมต้นทุนค่าจัดการต่างๆ ถือเป็นการขายขาดทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศ ไม่ให้ตกต่ำจนเกษตรกรต้องเดือดร้อน

แม่ทัพภาคที่ 1 และ CPF ลงพื้นที่คลองเตย ร่วมส่งอาหารคุณภาพจากใจ...สู่ชุมชน


          เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
พลโทธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ 1 และ
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการ “กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPF ส่งอาหารคุณภาพจากใจ…สู่ชุมชน” บรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารแก่ประชาชนในชุมชนพัฒนาใหม่ (คั่วพริก) เขตคลองเตย ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด19 โดยมี นายชาติชาย กุละนำพล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคลองเตย ร่วมงานด้วย

          พลโทธรรมนูญ วิถี เปิดเผยว่า ยินดีที่กองทัพและซีพีเอฟ ได้ร่วมมือกันรังสรรค์สังคมแบ่งปันความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ยากไร้ ในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังต้องการความสามัคคีและร่วมแรงร่วมใจกันเช่นนี้ “โครงการกองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPF ส่งอาหารคุณภาพจากใจ…สู่ชุมชน” เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่กองทัพและซีพีเอฟได้ดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารการกินของพี่น้องประชาชนในชุมชนคลองเตย ช่วยให้ทุกคนได้อิ่มท้องและรับมือวิกฤตไวรัสนี้ได้อีกทางหนึ่ง

          ด้าน นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าวว่า ในวันนี้ได้ลงพื้นที่ชุมชนพัฒนาใหม่ (คั่วพริก) ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งของเขตคลองเตย และได้ส่งกำลังใจให้พี่น้องด้วยอาหารแกงถุงที่รับประทานง่าย เพียงอุ่นร้อนโดยต้มทั้งถุงแกงในหม้อน้ำเดือด 5-7 นาทีก็พร้อมรับประทานได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไมโครเวฟ


           การส่งมอบอาหารให้ประชาชนชาวชุมชนพัฒนาใหม่ (คั่วพริก)ชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต ชุมชนริมคลองสามัคคี ชุมชนตลาดปีนัง ชุมชนน้องใหม่ รวม 1,058 หลังคาเรือนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการ “กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPF ส่งอาหารคุณภาพจากใจ…สู่ชุมชน” ซึ่งมอบอาหารแก่ประชากรทุกครัวเรือนในชุมชนแออัดเขตคลองเตยทั้ง 22 ชุมชน จำนวน 8,499 ครัวเรือน เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ ประชาชน ให้ก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด19 ไปด้วยกัน ภายใต้หลักคิด Good Citizen Organization กล่าวคือเป็นบริษัทที่ร่วมสร้างและดูแลสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าให้กับประเทศ

CPF ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จ.ราชบุรี


          นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รับมอบผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในโครงการ CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19 เพื่อที่จะนำไปยังโรงทาน
ของวัดต่างๆ สำหรับประกอบอาหารแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 โดยมีนายสัมฤทธิ์ แสงลอย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ผู้แทนบริษัทฯ ส่งมอบ ณ ศาลากลางจังหวัดราชบุรี
         
            นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวว่า นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่ทุกมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว ภาคเอกชน ก็เป็นส่วนสำคัญที่มาเสริมสร้าง ขวัญ กำลังใจ ให้ประชาชน ก้าวผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน ซึ่งขอขอบคุณน้ำใจของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  ที่สนับสนุนอาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม ไข่ไก่ แทนความห่วงใยเพื่อใช้สู้ภัยโควิด-19 ในครั้งนี้

          ด้าน นายสัมฤทธิ์ แสงลอย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ได้กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประชาชน เราคนไทยจะไม่ทอดทิ้งกัน โดยได้ส่งมอบอาหาร ให้ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทุ่มเทการปฏิบัติงาน และส่งต่อให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้สามารถก้าวพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปได้




ซีพีเอฟ จัดอาหารปลอดภัยราคาโดนใจ 20 บาท 1 ล้านกล่อง ช่วยเหลือคนไทยช่วงโควิด19


          เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563  ที่ผ่านมาบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัวแคมเปญ “ลดจริง..ไม่ทิ้งกัน ช่วยค่าครองชีพ” ในร้านซีพีเฟรชมาร์ท โดยลดราคาข้าวกล่องเหลือกล่องละ 20 บาท เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพี่น้องคนไทยช่วงวิกฤตโควิด19 ให้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาประหยัดทั่วไทย

          นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในช่วงที่คนไทยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19  บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมลดราคาพิเศษอาหารข้าวกล่องหลายเมนู เช่น ข้าวอกไก่ซอสจิ้มแจ่ว ข้าวผัดไก่ย่างซอสเกาหลี ข้าวอกไก่ย่างซอสเกาหลี ข้าวไก่สไปซี่ ข้าวตับกระเทียม และข้าวไข่เจียว จำหน่าย​ในราคา ​20 ​บาท​  เป็นอาหารคุณภาพ​มาตรฐาน​ส่งออก​ที่บริษัทผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับคนไทยให้ได้อาหารคุณภาพ​ดี​ อร่อยและปลอดภัยในราคาพิเศษสุด​ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาขนในช่วงโควิด​19 จำหน่ายใน ร้านซีพีเฟรชมาร์ท 147 สาขาทั่วกรุงเทพมหานครและภาคกลาง

          “เราคัดเลือกสินค้าเป็นพิเศษ​ และข้าวกล่องหลายเมนูสามารถอุ่นร้อน​และทานได้ทันที​ จำนวน​1 ล้าน​กล่อง ​เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพ​คนไทย" นายประสิทธิ์​ กล่าว

          นอกจากนี้​ ผู้​บริโภคยังจะได้รับส่วนลดเพิ่มเติมอีก​5 บาท​ เมื่อซื้อครบ​ 5 กล่อง​และจ่ายเงินด้วย​ True​Wallet​  เพื่อเพิ่มความปลอดภัย​ลดสัมผัส​จากการจ่ายเงินสด

          ซีพีเอฟ​ ยังได้คัดเลือกสินค้าอาหารเป็นพิเศษ​โดยเน้นอาหารที่เป็น "ครัวของบ้าน" มาจำหน่ายในราคาพิเศษ ที่ร้าน​ซีพี​ เฟรชมาร์ท ​3​50​ สาขาทั่วประเทศ

          ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งมอบอาหารคุณภาพดีและปลอดภัยภายใต้ “โครงการซีพีเอฟ ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด19” ให้กับโรงพยาบาลของรัฐแล้ว 105 แห่ง ตลอดจนผู้เฝ้าระวังที่กลับจากประเทศเสี่ยงอีก 20,000 คน และยังคงเดินหน้า “โครงการซีพีเอฟ ส่งอาหารจากใจให้โรงพยาบาล ครอบครัวแพทย์-พยาบาล” ซึ่งกำลังทยอยส่งมอบอาหารในขณะนี้จำนวน 30,000 คน

          "ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจตามปรัชญา 3 ประโยชน์ คือประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนและบริษัทเป็นอันดับสุดท้าย วันนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เราต้องเสริมพลังให้ประเทศแข็งแกร่งมากขึ้น ให้ทุกคนร่วมฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน " นายประสิทธิ์ กล่าว